Announcement

วิชา น.276

เสริมทักษะการใช้ศัพท์ กฎหมายญี่ปุ่น

* * *

The lectures will be given ON-SITE from 08 January 2024.

(ภาค 2/2566)

กลุ่มที่ 1 (8200/01):

เวลา: วันจันทร์ 13.30 – 16.30 น.
ห้อง: น. 303

* *

กลุ่มที่ 2 (8300/01):

เวลา: วันเสาร์ 09.30 – 12.30 น.
ห้อง: น. 303

* * *

1. คำอธิบายรายวิชา

น. 276  เสริมทักษะการใช้ศัพท์กฎหมายญี่ปุ่น (Practice in Japanese Legal Terminology)

  • วิชาบังคับก่อน :  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๒  ขึ้นไป
  • ศึกษาเปรียบเทียบข้อความคิด (concept) และหลักเกณฑ์สำคัญๆ ในกฎหมายญี่ปุ่นและในกฎหมายไทย   ทั้งนี้โดยเน้นศึกษาโดยวิธีฝึกฝน การอ่าน การแปล  และการร่างสัญญาเป็นภาษาญี่ปุ่น

2. วัตถุประสงค์เฉพาะ

  1. ฝึกทักษะทางภาษาเพื่อใช้ในการอ่านเอกสารทางกฎหมายภาษาญี่ปุ่น โดยศึกษาศัพท์ สำนวน และรูปประโยคในกฎหมายญี่ปุ่น
  2. โดยเหตุที่เอกสารทางกฎหมายภาษาญี่ปุ่นบางประเภทมีโครงสร้างประโยคที่สลับซับซ้อนมาก ยากแก่การทำความเข้าใจ  ดังนั้น  การศึกษาในรายวิชานี้  จะมีบางส่วนที่จะศึกษาทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เพื่อให้นักศึกษานำเอาแนวคิดและวิธีการมาใช้เพื่อวิเคราะห์ทำความเข้าใจรูปประโยค
  3. นอกจากการศึกษาและฝึกฝนสำนวน และรูปประโยคภาษากฎหมายภาษาญี่ปุ่นแล้ว นักศึกษาจะได้เรียนรู้วิธีการแสดงความคิดเห็นหรือตอบคำถามทางกฎหมาย  และฝึกฝนการเขียนแสดงความเห็นเป็นภาษาญี่ปุ่นซึ่งทักษะการเขียนแสดงความเห็นนี้เป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการศึกษากฎหมายระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศญี่ปุ่น

3. เนื้อหาและเอกสารประกอบการสอน

  1. ศึกษาโครงสร้างกฎหมายหลักพื้นฐานที่สำคัญอันได้แก่  กฎหมายแพ่ง  กฎหมายอาญา หรือกฎหมายรัฐธรรมนูญ  รวมตลอดถึงศัพท์เฉพาะทางของแต่ละสาขาวิชา ทั้งนี้ จะเน้นเนื้อหาส่วนที่นักศึกษาให้ความสนใจ
  2. ศึกษา และวิเคราะห์บทบัญญัติแห่งกฎหมายและคำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
  3. ศึกษาหนังสือตำราส่วนที่นักศึกษามีความสนใจ

4.  วิธีการสอน

  1. ใช้ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  ประกอบกันในการเรียนการสอน
  2. หากจำเป็น จะมีการแจกเอกสารเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจ

5. ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษาผู้สนใจที่จะลงทะเบียนศึกษา

  1. เนื่องจากตัวบทกฎหมายญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดใช้ตัวหนังสือ “คันจิ” ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาจีน ดังนั้น ผู้จะลงทะเบียนศึกษาวิชานี้ควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวหนังสือ “คันจิ” อย่างน้อย 500 คำ (เขียนได้) และ 800 คำ (อ่านเข้าใจได้) 
  2. นักศึกษานอกคณะที่ประสงค์จะศึกษาวิชานี้  ควรจะต้องเคยศึกษาวิชากฎหมายมาแล้วอย่างน้อย 1 รายวิชา (เช่น ความรู้กฎหมายทั่วไป กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา หรือ กฎหมายแพ่ง) หรือมีพื้นความรู้ทางกฎหมายเพียงพอที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาสาระทางกฎหมายได้

6. วิธีการวัดผล

  • ประเมินผลและการวัตผลการศึกษาโดยจัดให้มีการสอบย่อย  การนำเสนองานหน้าชั้น  และเรียบเรียงรายงาน

7. ผู้รับผิดชอบ

  • Mr. Shiori  Tamura