ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
with DRAFT CIVIL AND COMMERCIAL CODE. (from Vol.79, Archives OF the History OF Thai Codification) |
* มาตรา 1 - 3 | ข้อความเบื้องต้น | |
PRELIINARY. | ||
บรรพ ๑ | หลักทั่วไป | |
BOOK I. 第一編 | GENERAL PRINCIPLES. 総 則 |
* มาตรา 4 - 14 | ลักษณะ ๑ | บทเบ็ดเสร็จทั่วไป |
TITLE I. | GENERAL PROVISIONS. |
* มาตรา 15 - 97 | ลักษณะ ๒ | บุคคล |
TITLE II. | PERSONS. |
+ มาตรา 15 - 67 | หมวด ๑ | บุคคลธรรมดา | |
CHAPTER I. | NATURAL PERSONS. |
- มาตรา 15 - 18 | ส่วนที่ ๑ | สภาพบุคคล | |
PART I. | PERSONALITY. |
- มาตรา 19 - 43 | ส่วนที่ ๒ | ความสามารถ | |
PART II. | CAPACITY. |
- มาตรา 44 - 52 | ส่วนที่ ๓ | ภูมิลำเนา | |
PART III. | DOMICILE. |
- มาตรา 53 - 67 | ส่วนที่ ๔ | สาบสูญ | |
PART IV. | DISAPPEARANCE. |
+ มาตรา 68 - 97 | หมวด ๒ | นิติบุคคล | |
CHAPTER II. | JURISTIC PERSONS. |
- มาตรา 68 - 80 | ส่วนที่ ๑ | บทเบ็ดเสร็จทั่วไป | |
PART I. | GENERAL PROVISIONS. |
- มาตรา 81 - 97 | ส่วนที่ ๒ | มูลนิธิ | |
PART II. | FOUNDATIONS. |
* มาตรา 98 - 111 | ลักษณะ ๓ | ทรัพย์ |
TITLE III. | THINGS. |
* มาตรา 112 - 155 | ลักษณะ ๔ | นิติกรรม |
TITLE IV. | JURISTIC ACTS. |
+ มาตรา 112 - 116 | หมวด ๑ | บทเบ็ดเสร็จทั่วไป | |
CHAPTER I. | GENERAL PROVISIONS. |
+ มาตรา 117 - 132 | หมวด ๒ | การแสดงเจตนา | |
CHAPTER II. | EXPRESSION OF INTENSION. |
+ มาตรา 133 - 143 | หมวด ๓ | โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม | |
CHAPTER III. | VOID AND VOIDABLE ACTS. |
+ มาตรา 144 - 155 | หมวด ๔ | เงื่อนไขและเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสิ้นสุด | |
CHAPTER IV. | CONDITION AND TIME OF COMMENCEMENT OR ENDING. |
* มาตรา 156 - 162 | ลักษณะ ๕ | ระยะเวลา |
TITLE V. | PERIODS OF TIME. |
* มาตรา 163 - 193 | ลักษณะ ๖ | อายุความ |
TITLE VI. | PRESCRIPTION. |
ข้อความเบื้องต้น |
PRELIMINARY. |
施行通則 |
กฎหมายนี้ให้เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
Section 1. (from Vol.79) |
This law shall be called the Civil and Commercial Code. |
|
第1条 | |
本法の名称を民事及び商事法典とする。 |
ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนมกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ เป็นต้นไป |
Section 2. (from Vol.79) |
It shall come into force on the 1st date of January B E. 2467. |
|
第2条 | |
本法は、仏歴2468年[西暦1926年]1月1日よりその効力を発する。 |
ตั้งแต่วันที่ใช้ประมวลกฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ |
Section 3. (from Vol.79) |
On and from the day of operation of this Code, all other laws, bye laws and regulations in so far as they deal with matters governed by this Code or are inconsistent with its provisions shall be repealed. |
|
第3条 | |
本法施行の日より、他のすべての法律、規則、命令は、その規定が本法に定められたそれと競合し、または本法の規定の趣旨と矛盾する限りにおいて、その効力を失う。 |
บรรพ ๑ | หลักทั่วไป | |
BOOK I. | GENERAL PRINCIPLES. | |
第一編 | 総則 |
ลักษณะ ๑ | บทเบ็ดเสร็จทั่วไป | |
TITLE I. | GENERAL PROVISIONS. | |
第一章 | 総則 |
กฎหมายนั้น ท่านว่าต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ เมื่อใดไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ท่านให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วยไซร้ ท่านให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป |
Section 4. (from Vol.79) | |
I. |
The law must be applied in all cases which comes within the letter or the spirit of any of its provisions. |
II. |
Where no provision is applicable the case shall be decided according to the local custom. |
III. |
If there is no such custom, the case shall be decided by analogy to the provision most nearly applicable, and, in default of such provision, by the general principles of law. |
|
第4条 | |
I. |
本法は、該当する規定がある限り、全ての事案に適用されなければならない。その場合、規定の適用は、その文言または立法趣旨に拠る。 |
II. |
本法に準拠するべき規定がないときには、当該地方に行われる慣習の教えに従う。 |
III. |
法規に代わり得る慣習もないときには、当該事案にきわめて近接した規定があれば、それを類推適用し、ない場合には、一般的な法原則[条理]に従う。 |
ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต |
Section 5. (from Vol.79) |
Every person must in the exercise of his rights and in the performance of his obligations act in good faith. |
|
第5条 | |
権利の行使においても義務の履行においても、各人は誠実にこれを行わなければならない。 |
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต |
Section 6. (from Vol.79) |
Every person is presumed to be acting in good faith. |
|
第6条 | |
各人は、誠実に行為するものと推定される。 |
ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และดอกเบี้ยนั้นมิได้กำหนดอัตราไว้ โดยนีติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันใดอันหนึ่งชัดแจ้งไซร้ ท่านให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี |
Section 7. (from Vol.79) |
Whenever interest is to be paid, and the rate is not fixed by juristic act or by an express provision of a law, it shall be 7 1/2 per cent per year. |
|
第7条 | |
利息を支払う場合において、その利率が当事者の法律行為または法令の規定によって、何ら明確に決定されていないときには、それを年に7.5%とする。 |
คำว่า"เหตุสุดวิสัย"หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น |
Section 8. (from Vol.79) |
"Force majeure" denotes any event the happening or pernicious result of which could not be prevented even though a person against whom it happened or threatened to happen were to take such appropriate care as might be expected from him in his situation. |
|
第8条 | |
「不可抗力」とは、それに遭遇した者、あるいは遭遇したであろう者全員が、同種の立場にある者に[通常]期待し得る適切な注意義務を順守していたにもかかわらず、あるいは順守したとしても、誰にも予防することのできなかった出来事や被害をいう。 |
เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น ถ้าบุคคลผู้ใดใช้ตราประทับแทนลงลายมือชื่ออยู่เป็นปกติ การประทับตราเช่นนั้น ท่านว่าเสมอกับลงลายมือชื่อ ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นก็ดี ทำลงในเอกสาร หากมีพะยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้ว ท่านว่าเสมอกับลงลายมือชื่อ |
Section 9. (from Vol.79) | |
I. |
Whenever a writing is required by law, it is not necessary that it be written by the person from whom it is required, but it must bear his signature. |
II. |
If a person is in the habit of affixing a seal in lieu of signature, the affixing of such seal is equivalent to a signature. |
III. |
A finger print, cross or other such mark affixed to a document is equivalent to a signature if it is certified by the signature of two witnesses. |
|
第9条 | |
I. |
法律の規定により、ある法律行為の成立に証書を作成することが義務づけられている場合であっても、その証書は、当該法律行為の当事者自身によって執筆される必要はない。但し、その者の署名を必要とする。 |
II. |
署名に代わって捺印することを通常とする場合においては、その捺印は、署名と同様の効力を有する。 |
III. |
拇印、十字紋、あるいはその他類似の形式の記号が証書に記載されている場合、二人の証人が連署して保証するときは、その記載は、署名と同様の効力を有する。 |
เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้เป็นสองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ท่านให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล |
Section 10. (from Vol.79) |
When a clause in a document can be interpreted in two senses, that sense is to be preferred which gives some effect rather than that which would give no effect. |
|
第10条 | |
証書中の一項が二通りの解釈を許し、且つ一方の解釈には規定としての意義が認められるが、他方にはそれが認められない場合には、意義の認められる解釈が優先される。 |
ในกรณีที่มีข้อสงสัย ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น |
Section 11. (from Vol.79) |
In case of doubt the interpretation shall be in favour of the party who incurs the obligation. |
|
第11条 | |
事案の解釈に疑念の余地が残る場合においては、訴訟当事者のうち、当該債権債務関係において不利益を負担するべき側にとって有利な解釈を採用する。 |
ลงจำนวนเงิน หรือปริมาณในเอกสารด้วยตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขทั้งสองอย่างนั้นไม่ตรงกัน และศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ไซร้ ให้ฟังเอาจำนวนเงินหรือปริมาณซึ่งเขียนเป็นตัวอักษรนั้นเป็นประมาณ |
Section 12. (from Vol.79) |
Whenever a sum or quantity is expressed in letters and in figures, and the two expressions do not agree, and the Court cannot ascertain the real intention, the expression in letters shall be held good. |
|
第12条 | |
証書中に金額または数量が文字と数字の両方をもって表記されいて、[その]文字表記と数字表記とが一致せず、且つ裁判所にとって[当事者の]真実の意思を推定する可能性もないときは、文字をもって表記された金額または数量に従う。 |
ถ้าจำนวนเงินหรือปริมาณได้แสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรือตัวเลขหลายแห่ง แต่ที่แสดงไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ไซร้ ให้ฟังเอาจำนวนหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ |
Section 13. (from Vol.79) |
Whenever a sum or quantity is expressed several times in letters or several times in figures, and the several expressions do not agree, and the Court cannot ascertain the real intention, the lowest expression shall be held good. |
|
第13条 | |
証書中に金額または数量が文字をもって数ヵ所に、あるいは数字をもって数ヵ所に表記されていて、それらの表記が一致せず、且つ裁判所にとって[当事者の]真実の意思を推定する可能性もないときは、表記中の最も少ない金額または数量に従う。 |
ถ้าเอกสารทำขึ้นไว้เป็นสองภาษา เป็นภาษาไทยภาษาหนึ่ง ภาษาอื่นภาษาหนึ่ง แต่ข้อความในสองภาษานั้นแตกต่างกัน และศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะให้ใช้ภาษาใดบังคับไซร้ ท่านถือเอาภาษาไทยบังคับ |
Section 14. (from Vol.79) |
Whenever a document is executed in two versions, one in the Siamese language, the other in another language, and there are discrepancies between the two versions, and the Court cannot ascertain which version was intended to govern, the document executed in the Siamese language shall govern. |
|
第14条 | |
証書がタイ語とその他の言語の二言語で作成されていて、それら二様の表記に意味の相違が認められ、且つ裁判所にとって、どちらに準拠するか、当事者の意思を推定する可能性もないときは、タイ語による表記に従う。 |
ลักษณะ ๒ | บุคคล | |
TITLE II. | PERSONS. | |
第二章 | 人 |
หมวด ๑ | บุคคลธรรมดา | |
CHAPTER I. | NATURAL PERSONS. | |
第一節 | 自然人 |
ส่วนที่ ๑ | สภาพบุคคล | |
PART I. | PERSONALITY. | |
第一款 | 権利能力 |
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสุดสิ้นลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังเกิดมารอดอยู่ |
Section 15. (from Vol.79) | |
I. |
Personality begins with the full completion of birth as a living child and ends with death. |
II. |
A child "en ventre sa mere" is capable of rights provided that it is thereafter born alive. |
|
第15条 | |
I. |
自然人の権利能力は、分娩が無事に完了して新生児として生きて[母体から]分離した時点に開始し、死によって終了する。 |
II. |
未だ母体内にある胎児であっても、後に出生し生存することを条件として、種々の権利を享受することができる。 |
ถ้าเป็นพ้นวิสัยที่จะรู้วันเกิดของบุคคลผู้ใด ท่านให้นับอายุของบุคคลผู้นั้นตั้งแต่วันต้นแห่งปีประดิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่บุคคลผู้นั้นเกิด |
Section 16. (from Vol.79) |
If it is not possible to ascertain the date of birth of a person, his age is calculated from the first day of the official year during which such birth took place. |
|
第16条 | |
ある個人の出生日を知ることが不可能なときは、その者の年齢は、出生した年の太陽暦上最初の日より起算する。 |
ถ้าบุคคลหลายคนถึงชีวิตันตรายในเหตุภยันตรายร่วมกัน และเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนถึงชีวิตันตรายก่อนหลังไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตายพร้อมกัน |
Section 17. (from Vol.79) |
When several persons have perished in a common peril, and it is not possible to determine which of them perished first, they will be presumed to have died simultaneously. |
|
第17条 | |
危難に遭遇して複数の者が死亡し、それらの者の死亡時刻の前後関係を認定することが不可能なときには、同一時刻に死亡したものと推定する。 |
สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้ก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้เจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้ |
Section 18. (from Vol.79) |
If the right to use of a name by a person entitled to it is disputed by another, or if the interest of the person entitled is injured by the fact that another uses the same name without authority, then the person entitled may demand from the other abatement of the injury. If a continuance of the injury is to be apprehended, he may apply for an injunction. |
|
第18条 | |
氏名を使用する正当な権利を他人が争うとき、または他人が正当な権限なく同一の氏名を使用したために、権利者の利益が侵害されたときは、権利者は、侵害者に対してその侵害行為の停止を請求することができる。また、その侵害が継続している場合、あるいは更に侵害が継続する虞がある場合には、権利者は、裁判所に対して侵害停止[権利保全]の訴えを起こすことができる。 |
ส่วนที่ ๒ | ความสามารถ | |
PART II. | CAPACITY. | |
第二款 | 行為能力 |
เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ และบรรลุนีติภาวะ |
Section 19. (from Vol.79) |
On completion of twenty years of age a person ceases to be a minor and becomes Sui Juris. |
|
第19条 | |
人は、満20歳に達した時点で、未成年の地位を脱して成年としての地位を取得する。 |
ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนีติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำเมื่อฝ่ายชายผู้เยาว์มีอายุสิบเจ็ดปี และฝ่ายหญิงผู้เยาว์มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว |
Section 20. (from Vol.79) |
A minor becomes Sui Juris upon marriage provided that the male minor marries after the completion of his seventeen years and the female minor after the completion of her fifteen years. |
|
第20条 | |
[未成年者が婚姻を結ぶ場合において、]婚姻の時点で男性側[が未成年の場合]は満17歳に達し、女性側では満15歳に達していたときは、その未成年者は、婚姻によって成年としての地位を取得する。 |
อันผู้เยาว์จะทำนีติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน บรรดาการใดๆ อันผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้น ท่านว่าเป็นโมฆียะ เว้นแต่ที่กล่าวไว้ในมาตราทั้งสี่ต่อไปนี้ |
Section 21. (from Vol.79) |
For the doing of a juristic act, a minor must obtain the consent of his legal representative. All acts done by him without such consent are voidable except in the four following sections. |
|
第21条 | |
未成年者が法律行為を行うためには、予めその法定代理人の同意を得なければならない。この同意なくして未成年者が行った行為は、これを取り消すことができる。但し、第22条より第24条までに規定される場合においては、その限りではない。 |
ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง |
Section 22. (from Vol.79) |
A minor can do all acts by which he merely acquires a right or is freed from a duty. |
|
第22条 | |
未成年者であっても、単に権利を得、または義務を免れる限りにおいて、いかなる法律行為もこれを行うことができる。 |
ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองฉะเพาะตัว |
Section 23. (from Vol.79) |
A minor can do all acts which are strictly personal. |
|
第23条 | |
未成年であっても、自ら単独で行うべきこと[=一身専属的な行為]は、すべてこれを行うことができる。 |
ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร |
Section 24. (from Vol.79) |
A minor can do all acts which are suitable to his condition in life, and actually required for his reasonable needs. |
|
第24条 | |
未成年者であっても、自分の身分にふさわしく、且つ相応の生活を維持する上で不可欠な行為は、すべてこれを行うことができる。 |
ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรม์ได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์ |
Section 25. (from Vol.79) |
A minor, after completing fifteen years of age, can make a will. |
|
第25条 | |
未成年者であっても、満15歳に達した時点より、遺言をすることができる。 |
ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุให้ ท่านว่าผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุให้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร |
Section 26. (from Vol.79) |
When the legal representative permits a minor to dispose of property for a purpose specified by him, the minor may within the limits of such purpose dispose of it at his pleasure. He may do the same as to property which he has been permitted to dispose of without any purpose being specified. |
|
第26条 | |
法定代理人が目的を定めて処分を許した財産は、その目的の範囲内で、未成年者が随意にこれを処分することができる。なお、法定代理人が目的を定めないで処分を許した財産を、未成年者が処分する場合も、また同様である。 |
ผู้เยาว์จะขออนุญาตผู้แทนโดยชอบธรรมเพื่อทำกิจการค้าขายรายหนึ่งหรือหลายรายก็ได้ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่อนุญาต และผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลๆ จะมีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้เยาว์ทำกิจการค้าขายก็ได้ เมื่อเห็นว่าการนั้นจะเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ |
Section 27. (from Vol.79) |
A minor may ask permission from his legal representative to carry on one or more businesses. In case of refusal by the latter, the Court may, on application by the minor, make an order authorising him to carry on business if it is of opinion that the order will be advantageous to him. |
|
第27条 | |
未成年者は、一種あるいは数種の営利行為に携わるために、法定代理人に対してその許諾を請うことができる。法定代理人がその許諾を拒否したため、その未成年者が裁判所に対して許諾を請求した場合において、当該行為が未成年者の利益になると認められるときは、[裁判所は、]その許諾を与えることができる。 |
ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้ทำกิจการค้าขายหนึ่งหรือหลายรายแล้ว ในความเกี่ยวพันกับกิจการค้าขายนั้น ท่านว่าผู้เยาว์ย่อมมีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนีติภาวะแล้วนั้น ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้เยาว์ไม่สามารถจัดการค้าขายนั้นได้ ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือศาล จะกลับถอนอนุญาตเสียได้สุดแล้วแต่กรณี |
Section 28. (from Vol.79) | |
I. |
A person who has been permitted to carry on one or more businesses, has the same capacity in relation to such businesses as a person Sui Juris. |
II. |
If in such case the minor is not capable of conducting the business, the permission may be withdrawn either by the legal representative or by the Court as the case may be. |
|
第28条 | |
I. |
未成年者が一種あるいは数種の営利行為に携わるための許諾を得たときは、その未成年者は、当該行為に関しては、成年者と同一の能力を有するものとする。 |
II. |
本条第1項の場合において、未成年者が当該行為を営むに要する十分な能力を[未だ]有しない[ことが明らかとなった]ときは、その事案に応じ、法定代理人あるいは裁判所は、営利行為の許諾を取り消すことができる。 |
บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าภริยาสามีก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื้อก็ดี ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ก็ดี หรือพนักงานอัยยการก็ดี ร้องขอต่อศาลแล้ว ศาลจะสั่งให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ คำสั่งศาลอันนี้ ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา |
Section 29. (from Vol.79) | |
I. |
A person of unsound mind may be adjudged incompetent by the Court on the application of the wife, husband, ascentands, descendants, guardian or curator, or of the Public Prosecutor. |
II. |
The Order of the Court shall be published in the Government Gazette. |
|
第29条 | |
I. |
ある個人が心神喪失の状態にある場合において、その者の夫または妻、3親等以内の直系尊属すなわち父母、父方あるいは母方の祖父母または曾祖父母、4親等以内の直系卑属すなわち子、孫、曾孫あるいは玄孫、[未成年]後見人または保佐人、若しくは検察官が、裁判所に対して請求したときは、裁判所は、その者に対して禁治産の宣告を下すことができる。 |
II. |
本条第1項に基づく裁判所の宣告は、これを官報で公示する。 |
บุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ท่านว่าต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล |
Section 30. (from Vol.79) |
A person adjudged incompetent must be placed under guardianship. |
|
第30条 | |
[前項の規定に従って]禁治産の宣告を受けた者は、これを後見人の監督の下に置かなければならない。 |
การใดๆ อันบุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำลง การนั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ |
Section 31. (from Vol.79) |
An act done by a person adjudged incompetent is voidable. |
|
第31条 | |
裁判所が禁治産の宣告を下した者のなした行為は、これを取り消すことができる。 |
การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตได้ทำลง แต่หากบุคคลนั้นศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าได้ทำลงในเวลาซึ่งบุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต |
Section 32. (from Vol.79) |
An act done by a person of unsound mind but not adjudged incompetent is voidable only when it is proved that the act was done at a time when he was actually of unsound mind, and the other party had knowledge of such unsoundness. |
|
第32条 | |
心神喪失者が行った[法律]行為は、裁判所がその者に対して未だ禁治産の宣告を下していないときは、その行為がその者の実際に心神喪失状態にある時点で行われたことを証明することができ、且つ行為の相手方もその者が心神喪失者であることを知っていた場合に限って、これを取り消すことができる。 |
ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สุดสิ้นไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใดๆ ดังกล่าวมาในมาตรา ๒๙ นั้น ร้องขอต่อศาล ก็ให้ศาลถอนคำที่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้นให้ คำสั่งของศาลถอนคำสั่งเดิมนี้ ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา |
Section 33. (from Vol.79) | |
I. |
If the cause of the incompetency ceases to exist, the Court shall on the application of the person himself or of any of the persons mentioned in Section 29 revoke the adjudication. |
II. |
The order of the Court revoking the adjudication shall be published in the Government Gazette. |
|
第33条 | |
I. |
禁治産の原因が解消したときは、裁判所は、禁治産者自身または第29条に掲げた何れかの者の請求に基づいて、その宣告を取り消さなければならない。 |
II. |
本条第1項に基づいて従前の禁治産宣告を取り消す裁判所の決定は、これを官報に公示する。 |
บุคคลผู้ใดไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก็ดี เพราะความประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณก็ดี เพราะเป็นคนติดสุรายาเมาก็ดี เมื่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดดั่งระบุไว้ในมาตรา ๒๙ ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และสั่งให้ผู้นั้นอยู่ในความพิทักษ์ก็ได้ คำสั่งศาลนี้ ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา |
Section 34. (from Vol.79) | |
I. |
A person who is incapable of managing his own affairs because of physical or mental infirmity, habitual prodigality, or habitual intoxication, may be adjudged as quasi-incompetent and placed under curatorship by the Court upon an application by any of the person specified in Section 29. |
II. |
The order of the Court shall be published in the Government Gazette. |
|
第34条 | |
I. |
身体障害あるいは心神耗弱のため、または浪費癖あるいはアルコールや薬物の中毒のために、ある個人が自分で自分の事務管理のできない状態にある場合には、裁判所は、第29条に掲げた何れかの者の請求に基づいて、その者に対して準禁治産の宣告をし、この者を保佐人の監督の下に置くことができる。 |
II. |
本条第1項に基づく裁判所の宣告は、これを官報に公示する。 |
บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวต่อไปนี้ได้ คือ
อนึ่งในพฤตติการณ์อันสมควร ศาลจะสั่งว่าบุคคลผู้เสมือนคนไร้ความสามารถ ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน เพื่อทำการอื่นใดนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นอีกก็ได้ การใดอันกระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติทั้งหลายซึ่งกล่าวข้างบนนี้ ท่านว่าเป็นโมฆียะ |
Section 35. (from Vol.79) | |||||||||||||||||||
I. |
A quasi-incompetent person must obtain the consent of his curator for doing the following acts: | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
II. |
In proper circumstances the Court may order that the quasi-incompetent person must obtain the consent of the curator for acts other than those mentioned in the foregoing paragraph. | ||||||||||||||||||
III. |
Any act contrary to the foregoing provisions is voidable. |
|
第35条 | |||||||||||||||||||
I. |
準禁治産者が次に掲げる行為をするためには、予め保佐人の同意を得たのでなければならない。 | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
II. |
なお、[本条第1項に]規定されたもの以外の行為であっても、相当と認められる場合には、裁判所は、それを行うためには、予め保佐人の同意を得なければならない旨を加えて命じることができる。 | ||||||||||||||||||
III. |
上記の何れの規定に反して行われた行為も、これを取り消すことができる。 |
ถ้าเหตุอันทำให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สุดสิ้นไปแล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๓ มาใช้บังคับตามแต่กรณี |
Section 36. (from Vol.79) |
If the cause of the quasi-incompetency ceases to exist, the provisions of Section 33 shall apply correspondingly. |
|
第36条 | |
準禁治産宣告の原因が解消した場合には、第33条の規定を準用する。 |
หญิงมีสามีนั้น ในส่วนที่เกี่ยวด้วยสินส่วนตัวย่อมมีอย่างบุคคลผู้บรรลุนีติภาวะ |
Section 37. (from Vol.79) |
A married woman has, as regards her separate property, the same capacity as a person Sui Juris. |
|
第37条 | |
夫を有する女性は、専ら自己に帰属する財産に関しては、成人と同様の能力を有する。 |
ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายต่อไปนี้ หญิงมีสามี ถ้ามิได้รับอนุญาตของสามี หาอาจทำการอันหนึ่งอันใดที่จะผูกพันสินบริคณห์ได้ไม่ การใดอันกระทำลงฝ่าฝืนบทบัญญัติอันนี้ ท่านว่าเป็นโมฆียะ |
Section 38. (from Vol.79) | |
I. |
Subject to the following provisions a married woman cannot, without the permission of her husband, do any act binding the joint property (Sin borikon). |
II. |
Any act contrary to this provision is voidable. |
|
第38条 | |
I. |
本条以下に掲げる規定に従い[=本条以下に掲げる場合を除き]、夫を有する女性は、夫の許諾を得ない限り、財産および家屋を拘束するような如何なる行為も、これをすることができない。 |
II. |
本条の規定に反する如何なる行為も、これを取り消すことができる。 |
ในกรณีดั่งกล่าวต่อไปนี้ หญิงมีสามีย่อมทำการอันผูกพันส่วนของตนในสินบริคณห์ได้ โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามี คือ
|
Section 39. (from Vol.79) | ||||||||||
In the following cases a married woman does not require the permission of her husband for doing any act binding her portion of the Common property. | ||||||||||
|
|
第39条 | |||||||||||
次に掲げる場合においては、夫を有する女性も、財産および家屋のうち、専ら自己に帰属する部分に関しては、夫の許諾を得ずして、それを拘束するような行為を行うことができる。即ち | |||||||||||
|
หญิงมีสามีอาจทำพินัยกรรม์ว่าด้วยส่วนของตนในสินบริคณห์ได้ มิพักต้องได้อนุญาตของสามี |
Section 40. (from Vol.79) |
A married woman can, without the permission of her husband, make a will dealing with per portion of the Common property. |
|
第40条 | |
夫を有する女性は、財産および家屋のうち、専ら自己に帰属する部分に関しては、夫の許諾を俟たずとも遺言をすることができる。 |
ถ้าหญิงมีสามีได้รับอนุญาตของสามีให้ทำกิจการค้าขายอันใดอันหนึ่งแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว จะทำนีติกรรมและอรรถคดีอย่างใดๆ ภายในขอบแห่งกิจการค้าขายอันนั้น ก็หาจำเป็นต้องมีอนุญาตของสามีอีกชั้นหนึ่งไม่ ถ้าหญิงนั้นทำกิจการค้าขายเช่นนั้นด้วยความรู้เห็นของสามีและสามีก็มิได้ทักท้วงประการใดไซร้ ท่านให้ถือว่าสามีอนุญาตแล้วโดยปริยาย อนึ่งกรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม หญิงมีสามีจะทำผูกพันถึงสินบริคณห์ได้แต่ฉะเพาะเพียงที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น |
Section 41. (from Vol.79) | |
I. |
If a married woman is permitted by her husband to carry on a separate business, his permission is not necessary for such juristic acts and legal proceedings as come within the scope of the business. |
II. |
A permission is implied if she carries on the business with the knowledge of and without any objection by her husband. |
III. |
In any case the married woman can only bind her portion of the Common property. |
|
第41条 | |
I. |
夫を有する女性が独立して何らかの営利行為を行う許諾を夫から得ているときは、その行為の範囲内においては、改めて夫の許諾を得ずとも、何れの法律行為あるいは訴訟行為も行うことができる。 |
II. |
夫を有する女性が営利行為を営み、夫もそれを知りつつ何ら異議を唱えないときは、夫は、暗黙のうちに許諾を与えたものと見なす。 |
III. |
なお、その他の如何なる場合であれ、専ら自己に帰属する部分のみに関する限り、夫を有する女性も、財産あるいは家屋を拘束するような行為をすることができる。 |
สามีจะถอนคืน หรือจำกัดข้ออนุญาตอันตนได้ให้ไว้นั้นก็ได้ แต่การถอนคืนหรือจำกัดเช่นว่านี้หาอาจจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลผู้ทำการโดยสุจริตไม่ |
Section 42. (from Vol.79) |
A husband may revoke or restrict the permission granted by him; but such revocation or restriction cannot be set up against a person acting in good faith. |
|
第42条 | |
夫は、[妻に]与えた許諾を取り消し、または制限することができる。但し、この取り消しまたは制限は、善意の行為者[=第三者]に対抗することができない。 |
ถ้าสามีหน่วง หรือถอนการอนุญาตโดยปราศจากเหตุอันสมควร หญิงมีสามีจะร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งอนุญาตให้ตนจัดการแก่ส่วนของตนในสินบริคณห์ก็ได้ เวลาพิจารณาคำร้อง ต้องเรียกสามีมาสู่ศาลด้วย เมื่อศาลเห็นว่าการนั้นจะเป็นคุณประโยชน์แก่หญิงนั้น จะออกคำสั่งอนุญาตก็ได้ และศาลจะถอนคืนหรือจำกัดข้อคำสั่งอนุญาตนั้นเมื่อใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร |
Section 43. (from Vol.79) | |
I. |
If the permission of the husband is unreasonably withheld [or revoke] a married woman may apply to the Court for an order granting her permission to deal with her portion of the Common property. |
II. |
The husband must be summoned to appear at the hearing of the application. |
III. |
The Court may grant the order if it is of opinion that it will be advantageous to her; and it may revoke or restrict such order as it may think fit. |
|
第43条 | |
I. |
夫が正当な事由なく徒に許諾を躊躇い、または取り消したときは、その者を夫とする妻は、財産あるいは家屋のうち専ら自己に帰属する部分に関して、その事務管理が行えるよう、裁判所に対してその許諾を請求することができる。 |
II. |
[本条第1項の]請求の審理に当たっては、[裁判所は]夫にも出頭を命じなければならない。 |
III. |
当該行為の許諾がその女性にとって利益をもたらすと認められるときは、裁判所は、その許諾を命じることができる。また裁判所は、相当と認められるときは何時でも、その許諾を取り消し、または制限することができる。 |
ส่วนที่ ๓ | ภูมิลำเนา | |
PART III. | DOMICILE. | |
第三款 | 住所 |
ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ |
Section 44. (from Vol.79) |
The domicile of a natural person is the place where he has his principal residence. |
|
第44条 | |
自然人の住所とは、その者が[継続的に]主な居所としている場所をいう。 |
ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปก็ดี หรือมีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติต่างแห่งหลายแห่งก็ดี ท่านให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งดั่งกล่าวมาก่อนและหลังนั้นว่าเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น |
Section 45. (from Vol.79) |
If a natural person has several residences where he lives alternately, or various centers of habitual occupations, either one of the former or latter shall be considered his domicile. |
|
第45条 | |
自然人がその居所を数カ所に有して往来を繰り返しているとき、またはその生活の本拠地を数カ所に有しているときは、各々の場合の何れか一カ所をその者の住所と見なす。 |
ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ท่านให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา |
Section 46. (from Vol.79) |
If the domicile is not known, the place of residence is deemed to be his domicile. |
|
第46条 | |
[自然人の]住所が不明の場合には、その者の居所を住所と見なす。 |
บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่งก็ดี หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทางไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำการงานก็ดี พบตัวในถิ่นไหน ท่านให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น |
Section 47. (from Vol.79) |
The domicile of a natural person, who has no habitual residence, or employs his life in voyages without a central place of business, shall be held to be the place where is found. |
|
第47条 | |
自然人が常住するべき居所をどこにも有しない場合、または営業の本拠地を置かずに、常に移動しながらその生業を営んでいる場合には、何れの場所でその者と遭遇したにせよ、その場所をその住所と見なす。 |
ภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่ พร้อมด้วยเจตนาปรากฏว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนา |
Section 48. (from Vol.79) |
The domicile is changed by transferring the residences with manifest intention of changing it. |
|
第48条 | |
[自然人の]住所は、それを変更しようとする意思を持って居所を移転することにより、当然に変更される。 |
ถ้าได้เลือกเอาถิ่นใดเป็นภูมิลำเนา แต่เฉพาะการเพื่อจะทำการอันใดอันหนึ่ง ท่านให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาในการอันนั้น |
Section 49. (from Vol.79) |
If for the purpose of any act a special domicile has been selected, that is deemed to be the domicile in respect to such act. |
|
第49条 | |
何らか一定の法律行為のためだけに、ある場所を住所として選定したときは、この行為に関してはその場所を[行為者の]住所と見なす。 |
หญิงมีสามีย่อมถือเอาภูมิลำเนาของสามี ถ้าสามีไปตั้งภูมิลำเนาในถิ่นต่างประเทศ และหญิงไม่จำต้องตามไปอยู่ด้วยไซร้ ท่านว่าหญิงนั้นย่อมมิได้ถือเอาภูมิลำเนาของสามี ตราบใดสามียังไม่มีภูมิลำเนา หรือไม่มีใครรู้ว่ามีภูมิลำเนาแห่งใด หรือหญิงมีสามีมิได้ถือเอาภูมิลำเนาของสามีไซร้ ตราบนั้น ฝ่ายหญิงจะถือเอาภูมิลำเนาต่างหากจากสามีก็ได้ |
Section 50. (from Vol.79) | |
I. |
A married woman takes the domicile of her husband. If the husband establishes a domicile in a place in a foreign country to which she does not follow and is not bound to follow him, she does not take his domicile. |
II. |
So long as the husband has no domicile or his domicile is not known or the married woman does not take his domicile, she may have a separate domicile. |
|
第50条 | |
I. |
夫を有する女性は、当然に夫の住所にその住所を置くものと見なす。[但し、]夫が国外の土地にその住所を置き、且つ妻が夫に同行する必要のない場合は、その限りではない。 |
II. |
夫が未だに定まった住所を有しないとき、夫の住所を知る者が誰一人いないとき、または夫を有する女性が夫の住所に自らの住所を置く意思をもっていないときに限り、その女性は、夫とは異なる住所を置くことができる。 |
ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ หรือของบุคคลผู้ไร้ความสามารถนั้น ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม |
Section 51. (from Vol.79) |
The domicile of a minor or an incompetent person is that of his legal representative. |
|
第51条 | |
未成年者および禁治産者の住所は、その法定代理人の住所にあるものとする。 |
ข้าราชการทั้งปวงนั้น ท่านถือว่าย่อมมีภูมิลำเนา ณ ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ หากมิใช่เป็นตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลา หรือเป็นเพียงแต่งตั้งไปฉะเพาะการครั้งเดียวคราวเดียว |
Section 52. (from Vol.79) |
Public officials are considered as domiciled in the place where they exercise their functions, provided that such functions are not temporary, periodical or mere commission. |
|
第52条 | |
公務員の住所は、当然にその職責に基づく任地にあるものとする。但し、その職責が暫定的なものであるとき、または一回限りの委任に基づくに過ぎないときは、その限りではない。 |
ส่วนที่ ๔ | สาบศูนย์ | |
PART IV. | DISAPPEARANCE. | |
第四款 | 失踪 |
ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ทั้งมิได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรไซร้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง หรือพนักงานอัยยการร้องขอต่อศาลๆ จะสั่งการให้ทำพลางตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลนั้นก็ได้ อนึ่งเมื่อเวลาได้ล่วงเลยไปปีหนึ่งแล้ว นับแต่วันที่บุคคลนั้นไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ไม่มีใครได้รับข่าวคราวประการใดเลยก็ดี หรือปีหนึ่งนับแต่วันมีผู้ได้พบเห็น หรือได้ทราบข่าวมาเป็นครั้งหลังที่สุดก็ดี ศาลจะตั้งแต่งผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้นั้นขึ้นก็ได้ |
Section 53. (from Vol.79) | |
I. |
If a person has left his domicile or residence without having appointed an agent with general authority and it is uncertain whether he is living or dead, the Court may, on the application of any interested person or of the Public Prosecutor, order such provisional measures to be taken as may be necessary for the management of property of such person. |
II. |
The Court may appoint a manager of the property after one year has elapsed from the day when he has left his domicile or residence if no news of him has ever been received, or from the day when he has last been seen or heard of. |
|
第53条 | |
I. |
ある者が、代理人を選任して包括的な管理権を委託することなく、その住所または居所から失踪し、且つその死亡を確知する者が誰一人いないときは、裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づき、その不在者の財産管理に必要不可欠の処分を暫定的に命じることができる。 |
II. |
なお、不在者がその住所または居所から失踪した日から起算して1年を経過し、[その間、その者から]何等かの消息を受け取った者が誰一人いないとき、または、何れかの者がその不在者に最後に遭遇し、あるいはその最後の消息を知り得た日から起算して1年が経過したときには、裁判所は、その不在者の財産のために管理人を選任することができる。 |
ถ้าผู้ไม่อยู่นั้นได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปไว้ แต่หากการมอบอำนาจนั้นถึงที่สุดลงก็ดี หรือปรากฏว่าการที่ตัวแทนจัดทรัพย์สินนั้นเกลือกจะเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่ก็ดี ท่านให้นำบทบัญญัติตามความในมาตราก่อนมาใช้ |
Section 54. (from Vol.79) |
The foregoing section applies if an agent with general authority has been appointed by the absent person but his authority comes to an end, or it appears that his management is likely to cause injury to the absent person. |
|
第54条 | |
不在者自身が代理人を選任して包括的な管理権を委託していた場合においても、その委託行為の効力が消滅したとき、またはその代理人による管理行為が不在者の財産に損害を生じさせる虞があると判明したときには、第53条の規定を準用する。 |
เมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง หรือพนักงานอัยยการร้องขอ ศาลจะสั่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปให้จัดการทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้นขึ้นก็ได้ |
Section 55. (from Vol.79) |
The court may, on the application of any interested person or of the public prosecutor, order an inventory of the property to be made by the agent with general authority. |
|
第55条 | |
裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づき、不在者の財産の目録を作成するよう、[不在者が選任した]包括代理人に命じることができる。 |
ถ้าเป็นการจำเป็นที่ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจะต้องทำการอันใดอันหนึ่ง เกินขอบอำนาจที่ได้รับไว้ เมื่อขออนุญาตต่อศาลได้แล้ว จะทำการเช่นนั้นก็ได้ |
Section 56. (from Vol.79) |
If it is necessary for the agent with general authority to do any act beyond the scope of his authority, he may do so on obtaining permission of the Court. |
|
第56条 | |
[不在者が選任した]包括代理人は、[不在者の財産の保存のために]委託された代理権を越える事務が必要不可欠なときは、裁判所に対してその許可を申請し、その許可を得てのみ、これを行うことができる。 |
ผู้จัดการที่ศาลได้ตั้งแต่งขึ้นนั้น ต้องทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ในขณะเมื่อเข้าจัดการ บัญชีทรัพย์สินนี้ต้องทำต่อหน้าพะยานสองคน และให้ลงลายมือชื่อพะยานในบัญชีนั้นด้วย |
Section 57. (from Vol.79) |
The manager appointed by the Court must make an inventory of the property of the absent person at the time when he assumes the management; such inventory shall be made in the presence of, and signed by two witnesses. |
|
第57条 | |
裁判所により選任された[不在者の]財産管理人は、管理の開始時に不在者の財産の目録を作成しなければならない。この目録は、二人の証人の立会の下に作成しなければならず、また、その証人が目録内に署名することを要する。 |
ผู้จัดการนั้นมีอำนาจหน้าอย่างตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป เมื่อจะทำการใดๆ เกินขอบอำนาจ ต้องได้รับอนุญาตของศาลก่อนแล้วจึงทำได้ |
Section 58. (from Vol.79) |
The manager has the powers of an agent with general authority. For acts beyond the scope of his authority he must obtain the previous permission of the Court. |
|
第58条 | |
[裁判所により選任された]財産管理人は、[不在者が選任した]包括代理人と同様の権限を有する。委託された代理権を越える事務を行おうとするときは、事前に裁判所に対してその許可を申請しなければならない。 |
ถ้าผู้ไม่อยู่ได้ตั้งแต่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจฉะเพาะการอันใดไว้ ผู้จัดการหาอาจจะสอบเข้าไปเกี่ยวข้องกับการที่เป็นอำนาจเฉพาะการเช่นนั้นได้ไม่ แต่ถ้ามาพิจารณาเห็นปรากฏว่าการที่ตัวแทนจัดทำอยู่นั้นเกลือกจะเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่ไซร้ ก็อาจจะร้องขอให้ศาลถอดถอนตัวแทนนั้นเสียได้ |
Section 59. (from Vol.79) |
If the absent person has appointed an agent with special authority, the manager cannot interfere with such special agency, but he can apply to the Court for an order removing the agent if it appears that his management is likely to cause injury to the absent person. |
|
第59条 | |
不在者が特定の事務につき、自ら代理人を選任していたときは、[裁判所により選任された]財産管理人は、この事務の管理権限にかかる事項には、一切干渉することができない。但し、その代理人による事務管理の結果、不在者[の財産]に損害が生じる虞があると判明した場合には、[財産管理人は、]その代理人の解任を裁判所に請求することができる。 |
ศาลจะสั่งเองในขณะใดๆ หรือจะมีคำสั่งเมื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอขึ้นในการเหล่านี้ ก็สั่งได้ คือ
|
Section 60. (from Vol.79) | ||||||
The court may, at any time, of its own motion or on the application of any interested person or of the public prosecutor: | ||||||
|
|
第60条 | |||||||
裁判所は、職権によって、または利害関係人あるいは検察官の請求に基づき、次のことを命じる[ことができる]。即ち | |||||||
|
ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้จัดการได้รับสินจ้างคิดจ่ายจากทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ก็ได้ |
Section 61. (from Vol.79) |
The court may order that the manager shall receive a remuneration to be paid out of the property of the absent person. |
|
第61条 | |
裁判所は、[不在者のために自らが選任する]財産管理人に、不在者の財産から報酬を支払うよう命じることができる。 |
อำนาจของผู้จัดการนั้น ย่อมสุดสิ้นลงในกรณีดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
|
Section 62. (from Vol.79) | ||||||||||
The authority of the manager comes to an end: | ||||||||||
|
|
第62条 | |||||||||||
[裁判所により選任された]財産管理人の権限は、次の事由により当然に終了する。即ち | |||||||||||
|
กฎหมายลักษณะตัวแทนดั่งกล่าวไว้ในลักษณะ ๑๕ แห่งบรรพ ๓ นั้น ท่านให้ใช้บังคับในการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่เพียงที่ไม่ขัดขวาง หรือไม่แย้งกับความในส่วนนี้ |
Section 63. (from Vol.79) |
In so far as it is not contrary to or inconsistent with his Part, the Title XV of Book III concerning Agency applies to the management of the property of the absent person. |
|
第63条 | |
本法典第三編第十五章の代理人に関する規定は、本款の趣旨に抵触あるいは齟齬のない限りにおいて、不在者の財産の管理行為にこれを適用する。 |
ถ้าบุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และตราบเท่าเจ็ดปีไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยยการร้องขอต่อศาลๆ จะสั่งให้บุคคลเช่นนั้นเป็นคนสาบศูนย์ก็ได้ วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้ตลอดถึงบุคคลซึ่งได้ไปถึงสมรภูมิ์แห่งสงคราม หรือไปตกอยู่ในเรือเมื่ออับปาง หรือไปตกต้องในฐานทีจะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตประการอื่นใด หากนับแต่เวลาเมื่อสงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว หรือนับแต่เมื่อเรืออับปาง หรือนับแต่เมื่อภยันตรายประการอื่นๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้วนั้น ได้เวลาถึงสามปียังไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นเป็นตายร้ายดีอย่างไร |
Section 64. (from Vol.79) | |
I. |
If a person has left his domicile or residence and it has been uncertain for seven years whether he is living or dead, the court may, on the application of any interested person or of the Public Prosecutor, adjudge that such person has disappeared. |
II. |
The same applies to a person who has gone to the seat of a war, or has been on a ship which was lost, or has come into any other peril of his life, if it is uncertain whether he is living or dead for three years after the war has come to an end, the ship has been lost or the other peril has passed. |
|
第64条 | |
I. |
ある者がその住所または居所から立ち去ってから7年が経過し、且つ、その生死を確知する者が誰一人いないときは、裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づいて失踪の宣告をすることができる。 |
II. |
ある個人が戦地に臨んでいた場合、沈没した船舶に乗船していた場合、またはその他生命の危険に遭遇した場合において、それぞれ、戦争が終結した時点、船舶が沈没した時点、あるいはその他の危難が去った時点から起算して3年を経過するも、その個人の生死を知る者が誰一人いないときもまた、[本条第1項と]同様とする。 |
บุคคลอันศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบศูนย์แล้วนั้น ท่านให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดั่งได้ระบุไว้ในมาตราก่อนนั้น |
Section 65. (from Vol.79) |
A person against whom an adjudication of disappearance has been made is deemed to have died at the completion of the period specified in the foregoing section. |
|
第65条 | |
裁判所より失踪の宣告を受けた者は、第64条に規定された期間が満了した時点に死亡したものと見なす。 |
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลที่สาบศูนย์นั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดั่งระบุไว้ในมาตราก่อนนั้นก็ดี เมื่อบุคคลผู้นั้นเอง หรือผู้ใดผู้หนึ่งผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยยการร้องขอต่อศาลๆ จะต้องถอนคำสั่งแสดงความสาบศูนย์นั้นให้ แต่การถอนคำสั่งนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลาย อันได้ทำไปโดยสุจริตในระวางเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งแสดงความสาบศูนย์จนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้นแต่อย่างหนึ่งอย่างใด อนึ่งบุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งแสดงสาบศูนย์ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไปเพราะศาลสั่ง[ถอนคำสั่ง]แสดงสาบศูนย์นั้น จำต้องส่งคืนทรัพย์สินแต่เพียงเท่าที่ยังได้เป็นลาภแก่ตนอยู่เท่านั้น |
Section 66. (from Vol.79) | |
I. |
If it is proved that the person who disappeared is living, or that he died at a time different from that specified in foregoing section, the Court must upon the application of such person or any interested person or the Public Prosecutor revoke the adjudication; but this does not affect the validity of acts done in good faith between the adjudication and the revocation. |
II. |
A person who has acquired property under the adjudication but loses his right by its revocation is bound to return such property only so far as he is still enriched by it. |
|
第66条 | |
I. |
裁判所より失踪の宣告を受けた者がなおも生存すること、または第65条に掲げられたものと異なる時に死亡したことが証明されたときは、裁判所は、本人、何れかの利害関係人または検察官の申請に基づいて、失踪の宣告を取り消さなければならない。但し、失踪の宣告の時からその取り消しに至るまでの間に、善意になされた如何なる行為も、失踪宣告の取り消しによってその効力を妨げられない。 |
II. |
なお、裁判所による失踪宣告の結果として[何等かの]財産を取得したが、その失踪宣告の取り消しによって自己の権利を喪失した者は、現に利益を得ている限度において、[その]財産を返還しなければならない。 |
คำสั่งศาลแสดงสาบศูนย์ก็ดี หรือสั่งถอนคำสั่งนั้นก็ดี ท่านให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา |
Section 67. (from Vol.79) |
The adjudication of disappearance and its revocation shall be published in the Government Gazette. |
|
第67条 | |
失踪の宣告およびその取り消しは、官報でこれを公示する。 |
หมวด ๒ | นีติบุคคล | |
CHAPTER II. | JURISTIC PERSONS. | |
第二節 | 法人 |
ส่วนที่ ๑ | บทเบ็ดเสร็จทั่วไป | |
PART I. | GENERAL PROVISIONS. | |
第一款 | 総則 |
อันว่านีติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น |
Section 68. (from Vol.79) |
A juristic person can come into existence only by virtue of the provisions of this Code or of other law. |
|
第68条 | |
法人というものは、本法典ならびにその他の法律全ての規定に従ってのみ、これを設立することができる。 |
นีติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของตน ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง |
Section 69. (from Vol.79) |
A juristic person has rights and duties in conformity with the provisions of law within the scope of its object as defined in the regulation or constitutive act. |
|
第69条 | |
法人は、[関連する]法律全ての規定に従い、定款または寄附行為で規定された自らの目的に相応する範囲内において、当然に権利を享受し義務を負う。 |
ภายใต้บังคับมาตราก่อนนั้น นีติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้ฉะเพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น |
Section 70. (from Vol.79) |
Subject to foregoing section a juristic person enjoys the same rights and is subject to the same duties as a natural person, except those which by reason of their nature, may only be enjoyed or incurred only by a natural person. |
|
第70条 | |
第69条で規定された範囲内において、法人は当然に、自然人と同様の権利を有し義務を負う。但し、その本性からして自然人に固有の権利義務に関しては、その限りではない。 |
ภูมิลำเนาของนีติบุคคลนั้น ได้แก่ถิ่นที่สำนักงานใหญ่ หรือถิ่นที่ตั้งทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาฉะเพาะการตามข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง อนึ่งถิ่นที่มีสาขาสำนักงาน จะจัดว่าเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้นด้วยก็ได้ |
Section 71. (from Vol.79) | |
I. |
The domicile of a juristic person is the place where it has its principal office or establishment or which has been selected as a special domicile in its regulation or constitutive act. |
II. |
The place where it has a branch office may also be considered its domicile as to the acts there performed. |
|
第71条 | |
I. |
法人は、その主な事務所の所在地あるいは事業所の所在地、または定款あるいは寄附行為によって特に指定された場所に、その住所を有する。 |
II. |
なお、支所の所在地を、そこで執務される業務に関する[法人の]住所と指定することもまた、許される。 |
จำพวกที่กล่าวต่อไปนี้ ย่อมเป็นนีติบุคคล คือ
|
Section 72. (from Vol.79) | ||||||||||||
The following are juristic persons: | ||||||||||||
|
|
第72条 | |||||||||||||||
以下に掲げる種類のものは、当然にこれを法人とする。即ち | |||||||||||||||
|
ทะบวงการเมืองนั้น คือ กระทรวงและกรมในรัฐบาล เทศาภิบาลปกครองท้องที่ และประชาบาลทั้งหลาย |
Section 73. (from Vol.79) |
Public bodies are Ministries and Departments of the Government, Local Administrations and Municipalities. |
|
第73条 | |
政府機関とは即ち、中央政府の各省庁、地方行政機関、および地域自治体のあらゆるものをいう。 |
การจัดควบคุมทะบวงการเมืองและวัดวาอารามย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งปวงที่ว่าการนั้น |
Section 74. (from Vol.79) |
Public bodies and Monasteries are governed by the law and regulations relating thereto. |
|
第74条 | |
政府機関および寺院の管理は、それに関する法律および[その他の]法令の規定に従う。 |
อันความประสงค์ของนีติบุคคลนั้น ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนทั้งหลายของนีติบุคคลนั้น |
Section 75. (from Vol.79) |
The will of a juristic person is declared through its representatives. |
|
第75条 | |
法人の意思は、その法人を代理する者全員でこれを表示する。 |
ผู้จัดการทั้งหลายก็ดี ผู้แทนอื่นก็ดี ของนีติบุคคล หากทำการตามหน้าที่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลอื่นไซร้ ท่านว่านีติบุคคลจำต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ตัวผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลัง ถ้าและความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเกิดแต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งมิได้อยู่ภายในชอบวัตประสงค์แห่งนีติบุคคลนั้นไซร้ ท่านว่าสมาชิก หรือผู้จัดการทั้งหลายเหล่านั้น บรรดาที่ได้ออกเสียงลงมติให้ทำการเช่นนั้น กับทั้งผู้จัดการและผู้แทนอื่นๆ ทั้งหลายบรรดาที่ได้เป็นผู้ลงมือทำการจะต้องรับผิดร่วมกันออกใช้ค่าสินไหมทดแทน |
Section 76. (from Vol.79) | |
I. |
A juristic person is bound to make compensation for any damage done to other persons by its managers or other representatives in the exercise of their functions, saving its right of recourse against the causers of the damage. |
II. |
If damage is done to other persons by an act which is not within the scope of the object of the juristic person, those members or managers who voted in favour of such act, are jointly liable to make compensation. |
|
第76条 | |
I. |
法人の理事各人、または法人を代理するその他の個人が、その職務の遂行が原因で他人に何等かの損害を加えたときは、法人が損害を賠償しなければならない。但し法人は事後、損害の第一原因である者に対して求償する権利を有することができる。 |
II. |
法人の目的の範囲を超える何等かの行為によって他人に損害を加えたときは、その行為を行うことに賛意を投じた全ての社員あるいは理事は、その行為につき署名を以て承認を与えた理事およびその他の代理人全員とともに、連帯してその損害を賠償しなければならない。 |
ถ้ามีผู้จัดการหลายคน และมิได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในข้อบังกับหรือตราสารจัดตั้งก็ดี มิได้มีบัญญัติไว้เป็นประการอื่นโดยกฎหมายก็ดี การจะทำความตกลงต่างๆ ในทางอำนวยกิจการของนีติบุคคลนั้น ท่านให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน |
Section 77. (from Vol.79) |
When there are several managers, if it is not otherwise provided in the regulations or the constitutive act or otherwise provided by law, decisions as to the affairs of the juristic persons are made by a majority of the managers. |
|
第77条 | |
理事が数人いる場合において、定款または寄附行為に別段の定めがないとき、または法律に別段の定めのないときは、法人の運営に関する各種の決議は、理事全員の過半数を以てこれを行う。 |
ข้อจำกัดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้จัดการทั้งหลายในการเป็นผู้แทนนีติบุคคลนั้นอย่างใดๆ ก็ดี ท่านว่าหาอาจจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำโดยสุจริตได้ไม่ |
Section 78. (from Vol.79) |
Any restriction of modification of the powers of representation of the managers cannot be set up against third person acting in good faith. |
|
第78条 | |
法人の代理人として理事の権限の制限または変更は、これを以て善意の第三者に対抗することができない。 |
ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้จัดการ และมีเหตุควรวิตกว่าทิ้งตำแหน่งว่างไว้ช้าไปเกลือกจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ไซร้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง หรือพนักงานอัยยการร้องขอต่อศาลๆ จะแต่งตั้งผู้จัดการชั่วคราวขึ้นก็ได้ |
Section 79. (from Vol.79) |
If a vacancy occurs among the managers, and there is reason to apprehend that damage might ensure from delay, the Court may on the application of any interested person or of the Public Prosecutor appoint a temporary manager. |
|
第79条 | |
法人の理事に欠員がある場合において、その地位を空席のままに放置しておくと、損害が発生する虞があると憂慮すべき事由があるときは、裁判所は、何れかの利害関係人または検察官の請求に基づき、仮理事を選任することができる。 |
ในการอันใด ถ้าประโยชน์ทางได้ทางเสียของนีติบุคคลฝ่ายหนึ่ง กับของตัวผู้จัดการอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปฏิปักข์แก่กัน ท่านว่าในการอันนั้นผู้จัดการเป็นอันไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนได้ ในกรณีเช่นนี้ ต้องตั้งแต่งผู้แทนขึ้นฉะเพาะการนั้นตามบทบัญญัติมาตราก่อนนี้ |
Section 80. (from Vol.79) |
In a matter in which the interests of a juristic person conflict with those of a manager, the latter has no representative power. In such case a special representative must be appointed according to the provisions of the foregoing section. |
|
第80条 | |
事項の如何を問わず、法人の利害と法人の理事個人の利害が相反するときは、その理事は、当該事項に関して法人の代理人たる権限を有しない。この場合においては、第79条の規定に従って[=準じて]、当該事項に関する特命理事を選任しなければならない。 |
ส่วนที่ ๒ | มูลนิธิ | |
PART II. | FOUNDATIONS. | |
第二款 | 財団法人 |
มูลนิธินั้นได้แก่ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้เป็นแพนกเพื่อบำเพ็ญทาน การศาสนา วิทยาศาสตร์ วรรณคดี หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่นๆ และไม่ได้หมายค้ากำไร |
Section 81. (from Vol.79) |
A foundation consists of property appropriated to charitable, religious, scientific, literary or other purpose for the public benefit and not for sharing profit. |
|
第81条 | |
財団法人とは、慈善事業、宗教、科学技術、文学、その他公益に奉仕する機関として提供された財産であって、営利を目的としないものをいう。 |
มูลนิธินั้นจะต้องก่อตั้งด้วยทำตราสารลงไว้ มีข้อความสำคัญตามรายการดังต่อไปนี้
|
Section 82. (from Vol.79) | ||||||||||
A foundation must be created by an instrument in writing containing the following particulars: | ||||||||||
|
|
第82条 | |||||||||||
財団法人は、寄附行為によって以下に掲げる事項を内容とする根本規則[=定款]を規定し、これを設立しなければならない。 | |||||||||||
|
ถ้ามูลนิธิก่อตั้งขึ้นด้วยนีติกรรมทำยกให้แต่ยังมีชีวิต ท่านให้ใช้บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะให้ อนุโลมตามควรแก่บท ถ้ามูลนิธิก่อตั้งขึ้นด้วยพินัยกรรม์ ท่านให้ใช้บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะมฤดก อนุโลมตามควรแก่บท |
Section 83. (from Vol.79) | |
I. |
If a foundation is created by an act inter vivos, the provisions relating to Gifts apply mutatis mutandis. |
II. |
If it is created by will, the provisions relating to Inheritance apply mutatis mutandis. |
|
第83条 | |
I. |
生前の法律行為によって財団法人の設立を行うときは、贈与に関する章の規定を準用する。 |
II. |
遺言によって財団法人の設立を行うときは、相続[=遺贈]に関する章の規定を準用する。 |
ถ้าผู้ตั้งมูลนิธิตายเสียแต่ยังมิทันได้ทำข้อกำหนดว่าด้วยชื่อ หรือสำนักงานของมูลนิธิ หรือว่าด้วยวิธีตั้งแต่งและถอดถอนผู้จัดการของมูลนิธิไซร้ การเหล่านี้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งหรืออัยยการร้องขอต่อศาล ก็ให้ศาลกำหนดให้ |
Section 84. (from Vol.79) |
If the founder dies without having made provision as to its name, the office or the manner of the appointment or dismissal of its managers, this shall be done by the Court on the application of any interested person or of the Public Prosecutor. |
|
第84条 | |
財団法人を設立する者が、その名称、事務所[の所在地]または理事の任免の方法を定めないで死亡したときは、利害関係人または検察官の請求により、裁判所がこれを定めなければならない。 |
มูลนิธินั้น จะจัดตั้งขึ้นเป็นนีติบุคคลด้วยรัฐบาลให้อำนาจเช่นนั้นก็ได้ อนึ่งภายในสิบสีวันนับแต่รัฐบาลได้ให้อำนาจแล้ว ให้เสนาบดีผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดการให้เก็บใจความแห่งข้อสำคัญของนิธินั้น โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา |
Section 85. (from Vol.79) | |
I. |
A foundation may be constituted as a juristic person upon authorization by the Government. |
II. |
Within fourteen days after the authorization being granted, a summary of the particulars of the foundation shall be caused to be published in the Government Gazette by the competent minister. |
|
第85条 | |
I. |
財団法人は、政府が法人としての権能を付与することによって、これを設立することができる。 |
II. |
なお、[財団法人の監督を]担当する主務官庁の長官は、政府が権能を付与した時点から14日以内に、その財団法人の根本規則[=定款]の要旨を提出させ、官報でこれを公示しなければならない。 |
การให้อำนาจแก่มูลนิธินั้น ย่อมสุดแล้วแต่อำเภอใจของรัฐบาล และจะบังคับให้มีข้อไขอย่างไรๆ แล้วจึ่งอนุญาตตามที่เห็นควรก็ได้ |
Section 86. (from Vol.79) |
The authorization of a foundation lies entirely in the discretion of the Government and may be granted subject to such conditions as the think fit. |
|
第86条 | |
[第85条に基づく]財団法人に対する権能の付与は、当然に政府の裁量に属し、適切と認められる場合には、何等かの条件を付して[法人としての権能を]認可することができる。 |
ในกรณีที่เป็นมูลนิธิอันได้รับอำนาจแต่รัฐบาล ท่านว่าทรัพย์สินอันได้จัดสรรไว้โดยนีติกรรมทำยกให้แต่ยังมีชีวิตนั้น ย่อมตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่เวลาที่รัฐบาลให้อำนาจเป็นต้นไป |
Section 87. (from Vol.79) |
In case of authorized foundation the property appropriated by an act inter vivos vests in such foundation from the time when the authorization is granted. |
|
第87条 | |
政府の権能付与によって設立された財団法人の場合においては、生前の法律行為によって提供された財産は、政府が権能を付与した時点から当然に財団法人に帰属する。 |
ในความเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้วมีผู้จัดการทั้งหลายเป็นผู้แทนของมูลนิธินั้น |
Section 88. (from Vol.79) |
In its relation with third persons an authorized foundation is represented by its managers. |
|
第88条 | |
[法人としての]権能を付与された財団法人と第三者との関係においては、財団法人の理事全員が法人を代理する。 |
ในส่วนความเกี่ยวพันระวางมูลนิธิที่ได้รับอำนาจกับผู้จัดการทั้งหลายของมูลนิธินั้นเองก็ดี ระวางผู้จัดการเหล่านั้นกับบุคคลภายนอกก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ลักษณะตัวแทน |
Section 89. (from Vol.79) |
The relation between an authorized foundation and its managers and between these and third persons are governed by the provisions of this Code concerning Agency. |
|
第89条 | |
[法人としての]権能を付与された財団法人とその法人の理事全体との関係、または法人の理事全体と第三者との関係については、本法典中の代理人に関する規定を適用する。 |
มูลนิธิทุกรายย่อมตกอยู่ในบังคับความดูแลตรวจตราของรัฐบาล เจ้าพนักงานผู้ใดอันรัฐบาลได้ตั้งแต่งไปเพื่อการนั้นแล้ว ให้เข้าดูสมุดหนังสือกับบัญชีของมูลนิธิได้ในเวลาใดๆ อันสมควร เจ้าพนักงานผู้นั้นอาจจะสอบสวนผู้จัดการและตัวแทน หรือลูกจ้างในมูลนิธิด้วยข้อความใดๆ ที่เกี่ยวกับมูลนิธินั้นได้ |
Section 90. (from Vol.79) |
Every foundation is subject to supervision of the Government. Any official commissioned to that effect by the Government shall have access to the books and accounts of the foundation at any reasonable time. He can examine the managers and any agents or employees of the foundation on any matters relating to it. |
|
第90条 | |
全ての財団法人は、当然に政府の監督の下に置かれる。この目的のために政府が任命した係官は、必要なときには何時でも、財団法人に立ち入ってその会計帳簿を閲覧することができる。[また、]この係官は、当該財団法人に関する事項であれば如何なることであれ、それについて、法人の理事、[その他の]代理人、あるいは使用人を尋問することができる。 |
ถ้าผู้จัดการทั้งหลายจัดการผิดพลาดเสื่อมเสียก็ดี ทำการฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิก็ดี เมื่อพนักงานอัยยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอต่อศาลๆ จะถอดถอนผู้จัดการและตั้งแต่งผู้จัดการขึ้นใหม่คนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ |
Section 91. (from Vol.79) |
If the managers mismanage or act contrary to the instrument creating the foundation, the Court may on application of the Public Prosecutor or any interested person, dismiss the managers and appoint one or more new managers. |
|
第91条 | |
財団法人の理事が、[法人の]管理に当たり、過失によって[法人に]損害を及ぼしたとき、または財団法人の寄附行為の規定に違反したときは、[裁判所は、]検察官または何れかの利害関係人の請求に基づいて理事を解任し、一人あるいは数人の新理事を任命することができる。 |
มูลนิธินั้นย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุประการหนึ่งประการใด ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
|
Section 92. (from Vol.79) | ||||||||
A foundation comes to an end: | ||||||||
|
|
第92条 | |||||||||
財団法人は、以下に掲げるいずれかの事由により、当然に終了する。即ち | |||||||||
|
เมื่อพนักงานอัยยการ หรือผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนได้เสียด้วยยืนคำร้องต่อศาลๆ จะมีคำสั่งให้เลิกมูลนิธินั้นเสีย และตั้งแต่งผู้ชำระบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคน ในกรณีที่กล่าวต่อไปนี้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ คือ
อนึ่งศาลจะถอดถอนผู้จัดการทั้งหลายและแต่งตั้งผู้จัดการขึ้นใหม่คนหนึ่ง หรือหลายคนแทนสั่งเลิกมูลนิธิก็ได้ |
Section 93. (from Vol.79) | |||||||
I. |
The Court may, on application of the Public Prosecutor or of any interested person, order a foundation to be dissolved and appoint one or more liquidators in the following cases: | ||||||
| |||||||
II. |
The Court may, instead of ordering a dissolution dismiss the managers and appoint one or more new managers. |
|
第93条 | |||||||
I. |
次に掲げる場合においては、検察官または利害関係を有する何れかの者が裁判所に対して請求したときは、[裁判所は、]財団法人の解散を命じ、一人あるいは数人の清算人を任命することができる。即ち | ||||||
| |||||||
II. |
なお裁判所は、[当該財団法人の]理事全員を解任し、一人または数人の新理事を任命した上で、[その新理事に対して]財団法人の解散を命じることもできる。 |
ภายในเวลาสิบสี่วันนับแต่มูลนิธิอันได้รับอำนาจจากรัฐบาลได้ถึงที่สิ้นสุดลงนั้น ผู้จัดการทั้งหลายต้องทำหนังสือแจ้งความนั้นแก่ทะบวงการเจ้าหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่นำความออกประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาภายในสิบสี่วันนับแต่เมื่อได้รับแจ้งความ |
Section 94. (from Vol.79) |
Within fourteen days after an authorized foundation comes to an end the managers must in writing inform the competent authority who shall cause a notification to that effect to be published in the Government Gazette within fourteen days after information. |
|
第94条 | |
政府から[法人としての]権能の付与を受けた財団法人が解散するに至ったときは、解散の時から14日以内に、その理事全員が書面でその旨を主務官庁に届け出なければならない。主務官庁の係官は、解散の届け出を受けた時から14日以内に、官報でそれを公示しなければならない。 |
ในการชำระบัญชีมูลนิธินั้น ให้ใช้บทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนและบริษัทบังคับอนุโลมตามควรแก่บทนั้นๆ |
Section 95. (from Vol.79) |
The provisions of law concerning Liquidation of Partnerships and Companies apply to the liquidation of foundation mutatis mutandis. |
|
第95条 | |
財団法人の清算には、本法典中のパートナーシップおよび有限会社の清算に関する規定を準用する。 |
เมื่อมูลนิธิสิ้นสุดลง ทรัพย์สินของมูลนิธินั้นให้โอนไปยังนีติบุคคล ตามที่จะพึงระบุไว้ในตราสารตั้งมูลนิธินั้น เมื่อไม่มีความกล่าวไว้ถึงนีติบุคคลเช่นว่านี้ ถ้าพนักงานอัยยการ หรือผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนได้เสียด้วยมีคำร้องขอต่อศาลไซร้ ศาลจงสั่งจัดสรรทรัพย์สินนั้นให้แก่นีติบุคคลซึ่งปรากฏว่ามีวัตถุที่ประสงค์ใกล้ชิดกับวัตถุเดิมของมูลนิธินั้น ถ้าหากว่าจัดสรรทรัพย์สินอย่างนี้มิอาจจะทำได้ก็ดี หรือว่ามูลนิธินั้นต้องบังคับให้เลิกเสียเพราะเหตุเป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีแห่งประชาชนก็ดี ศาลจะสั่งให้ทรัพย์สินของมูลนิธิตกไปเป็นของแผ่นดินก็ได้ |
Section 96. (from Vol.79) | |
I. |
When a foundation comes to an end, its properties shall be transferred to such juristic person as may have been designated by the instrument creating the foundation. |
II. |
In the absence of such juristic person, the Court shall, on application of the Public Prosecutor or of any interested person, appropriate the properties to such other juristic persons the purpose of which appears to be as near to the former foundation as possible. |
III. |
Provided that if such appropriation cannot be made or if the foundation has been dissolved on account of its being contrary to the law or against public order or good morals, the Court may make an order vesting its properties in the State. |
|
第96条 | |
I. |
財団法人が解散したときは、寄附行為でなされた指名に従って、その資産を[他の]法人に譲り渡なければならない。 |
II. |
[寄附行為に]そのような指名がない場合には、検察官または利害関係を有する何れかの者の請求に基づき、裁判所は、当該財団法人のそれと類似した目的を有する[他の]法人にその資産を譲り渡すよう命じることができる。 |
III. |
[本条第2項に従った]資産の譲渡が不可能な場合、または当該財団法人が法律に違反したため、あるいは社会の安寧[を脅かし]もしくは善良の風俗に反した行為をしたために解散を命ぜられた場合には、裁判所は、当該財団法人の資産を国庫に納めるよう命じることができる。 |
ข้อบังคับสำหรับการให้อำนาจ การจดทะเบียนและการดูแลตรวจตรามูลนิธิตามความที่กล่าวไว้ในส่านนี้ ให้เสนาบดีผู้รับผิดชอบในการปกครองท้องที่เป็นผู้ออกกฎข้อบังคับ ให้เสนาบดีจัดการให้มีบัญชีรายนามมูลนิธิทั้งหลายอันได้ให้อำนาจแล้วนั้นรักษาไว้ พร้อมทั้งรายการข้อสำคัญอันได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา |
Section 97. (from Vol.79) | |
I. |
Regulations for the authorization and supervision of foundations within the meaning of the present Part may be issued by the Minister responsible for the local administration. |
II. |
The Minister shall cause a list of authorized foundations to be kept together with the particulars published in the Government Gazette. |
|
第97条 | |
I. |
本款中に規定された[法人としての]権能の付与、財団法人の登記および[主務官庁による]その監督については、当該地区の行政において[当該業務の]責任を負う主務官庁の長官が規則を制定する権限を有するものとする。 |
II. |
主務官庁の長官は、[法人としての]権能を付与した財団法人すべての名簿、ならびに官報で公示された財団法人の根本規則[=定款]の一覧を作成させ、常に最新の状態に保たなければならない。 |
ลักษณะ ๓ | ทรัพย์ | |
TITLE III. | THINGS. | |
第三章 | 物 |
อันว่าทรัพย์นั้น โดยนีตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง |
Section 98. (from Vol.79) |
Things, in the legal sense, are corporeal objects. |
|
第98条 | |
物というものは即ち、法律上、有体物をいう。 |
ทรัพย์สินนั้น ท่านหมายความรวมทั้งทรัพย์ทั้งวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้ |
Section 99. (from Vol.79) |
Property includes things as well as incorporeal objects, susceptible of having a value and of being appropriated. |
|
第99条 | |
財物[あるいは財産]とは、[有体物たる]物のほか、価値を有することができ、且つ専有することの可能な無体物の全てをいう。 |
อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ที่ดินกับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น อนึ่งคำว่าอสังหาริมทรัพย์ ท่านหมายรวมถึงสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย |
Section 100. (from Vol.79) |
Immovable property denotes land and things fixed to land or forming a body therewith. It includes real rights connected with ownership of land. |
|
第100条 | |
不動産とは即ち、土地およびその土地に付着した物、あるいは結合して一体をなす物をいう。なお、不動産という語句はまた、その土地の所有権に関する[その他]全ての権利をも意味する。 |
สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจขนเคลื่อนจากแห่งหนึ่งไปแห่งอื่นได้ ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือเคลื่อนด้วยกำลังภายนอก อนึ่งคำว่าสังหาริมทรัพย์ ท่านหมายความถึงกำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ และทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์ด้วย |
Section 101. (from Vol.79) |
Movable property denotes things which can be carried from one place to another, whether moving by their own motion, or being moved by an external force. It includes forces of nature susceptible of appropriation as well as rights connected with movables. |
|
第101条 | |
動産とは即ち、一か所から他の場所に移送することのできる全ての物をいう。その際、物の移送がその物自体のもつ移動力によるものか、あるいは外部の動力によるものかには関わらない。なお、動産という語句はまた、自然から得られ、且つ専有することの可能な原動力、および動産に関する全ての権利をも意味する。 |
สังกมะทรัพย์ ได้แก่สังหาริมทรัพย์ซึ่ง โดยปกติ อาจใช้ของอื่นอันเป็นประเภทและชะนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้ อสังกมะทรัพย์ ได้แก่สังหาริมทรัพย์อันมิอาจจะใช้ของอื่นแทนเช่นนั้นได้ |
Section 102. (from Vol.79) |
Fungible things are those movables which can, and non-fungible those which cannot, in ordinary dealings be substituted by others of the same kind, quality and quantity. |
|
第102条 | |
代替物とは即ち、通常は同類同種、同量の他の物によって置き換えることの可能な動産をいい、不代替物とは即ち、他の物によって置き換えることの不可能な動産をいう。 |
โภคยทรัพย์ ได้แก่สังหาริมทรัพย์ ซึ่ง เมื่อใช้ย่อมเสียภาวะเสื่อมสลายไปในทันใดเพราะการใช้นั้น หรือซึ่งใช้ไปในที่สุดย่อมสิ้นเปลืองหมดไป |
Section 103. (from Vol.79) |
Consumable things are movables, the use of which implies the immediate destruction of their substance or whose ultimate use consists in being disposed of. |
|
第103条 | |
消費物とは即ち、それを使用すると、使用の故に直ちにその実体を失い消滅してしまう動産、または使用し続けると、最後には消耗し尽きてしまう動産をいう。 |
ทรัพย์แบ่งได้นั้น คือทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว |
Section 104. (from Vol.79) |
Divisible things are those which can be separated into real and distinct portions, each forming a perfect whole. |
|
第104条 | |
可分物とは、それを構成部分に完全に分解しても、各部分がその個体を維持する[有体]物をいう。 |
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ คือทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะแห่งทรัพย์กับทั้งทรัพย์ซึ่งตามกฎหมายท่านถือว่าแบ่งไม่ได้ |
Section 105. (from Vol.79) |
Indivisible things are those which cannot be separated without alteration in its substance as well as those which are considered indivisible by law. |
|
第105条 | |
不可分物とは、その性状を変えることなく、その構成部分に分解することのできない物、ならびに、法令によって不可分と見なされる物をいう。 |
ทรัพย์นอกพาณิชย์ ได้แก่ทรัพย์เช่นที่ไม่สามารถจะถือเอาได้ และทรัพย์ซึ่งไม่โอนให้กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย |
Section 106. (from Vol.79) |
Things outside of commerce are such as are incapable of appropriation, and those legally inalienable. |
|
第106条 | |
非融通物とは即ち、専有することのできない物、および合法的に譲渡し合うことのできない物をいう。 |
ส่วนควบของทรัพย์นั้น คือส่วนซึ่งว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์ หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจจะแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย หรือทำบุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ใด ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบรรดาส่วนควบทั้งหลายของทรัพย์อันนั้น |
Section 107. (from Vol.79) | |
I. |
A component part of a thing is that which, according to its nature or local custom is essential to its existence and cannot be separated without destroying, damaging or altering it. |
II. |
Whoever is the owner of a thing has ownership in all its component parts. |
|
第107条 | |
I. |
物の構成要素とは、その物自体の性質により、またはその地方の慣習によって、その物の本体を成すとされる部分であって、それらを相互に分離すれば、その物を破壊し、毀損し、またはその形状を変えてしまうものをいう。 |
II. |
物の所有者は誰であれ、当然にその構成要素全ての所有権を有する。 |
ไม้ยืนต้น นับว่าเป็นส่วนควบกับที่ปลูกไม้นั้น ไม้ล้มลุกและธัญญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี ย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน และนับว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย |
Section 108. (from Vol.79) | |
I. |
Trees when planted for an unlimited period of time are deemed to be component parts of the land on which they stand. |
II. |
Trees which grow only for a limited period of time and crops which may be harvested one or more times a year are not component parts of the land and are to be regarded as movables. |
|
第108条 | |
I. |
[多年生の]立ち木は、それが生える土地の構成要素と見なす。 |
II. |
一年生の植物、および年に一回あるいは数回収穫期を有する穀物は、その土地の構成要素を成さなず、[それ自体で独立した]動産と見なす。 |
ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ย่อมไม่กลายเป็นส่วนควบกับ วิธีอย่างเดียวกันนี้ย่อมใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่น อันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น |
Section 109. (from Vol.79) |
Things temporarily fixed to land or to a building do not become component parts. The same rule applies to a building or other structure which in the exercise of a right over another person's land has been fixed to the land by the person who has such right. |
|
第109条 | |
土地あるいは建物に単に一時的に付着されたに過ぎない物は、[その土地あるいは建物の]構成要素とはならない。他人の土地を利用する権利を有する者が自己の権利を行使して、その土地の上に建てた建物その他の構造物もまた同様とする。 |
เครื่องอุปกรณ์ ได้แก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น หรือโดยเจตนาชัดแจ้งแห่งผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน ย่อมเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์เป็นประธานนั้นเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การที่จะจัดดูแลหรือใช้สรอย หรือรักษาทรัพย์เป็นประธานนั้นเอง และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์เป็นประธานด้วยนำมาติดต่อ หรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่น ในฐานะเป็นเครื่องใช้ประกอบกับทรัพย์เป็นประธานนั้น เครื่องอุปกรณ์เช่นว่านี้ ถึงจะแยกออกจากทรัพย์เป็นประธานชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานนั้น อนึ่งเครื่องอุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์เป็นประธาน เว้นไว้แต่จะได้ตกลงกันจำหน่ายเป็นพิเศษประการอื่น |
Section 110. (from Vol.79) | |
I. |
Accessories are movable things, which are, according to the usual local conception or clear intention of the owner of the principal thing, attached to such things permanently for its management, use or preservation, and, by connection, adjustment or otherwise, brought by the owner into the relation with the principal thing, in which it must serve the principal thing. |
II. |
Even though an accessory is temporarily severed from the principal thing, it does not cease to be an accessory. |
III. |
Saving special disposition to the contrary, the accessory follows the principal thing. |
|
第110条 | |
I. |
従物とは即ち、主物とされる物の管理、使用あるいは保存のために、その地方に行われる通例に従い、または主物の所有者の明確な意思に基づいて、主物に常備されるべき道具と定められた動産であって、所有者が備品として主物に付着、調度あるいはその他の方法によって附属させたものをいう。 |
II. |
従物は、その主物から一時的に分離しても、その従物たる性格を失わない。 |
III. |
なお従物は、別段の合意のない限り、当然に主物の処分に従う。 |
ดอกผลทั้งหลายของทรัพย์นั้น มีความหมายดั่งนี้
|
Section 111. (from Vol.79) | ||||
By fruit or fruits of a thing is meant: | ||||
|
|
第111条 | |||||
ある物の果実とは、次のことを意味する。 | |||||
|
ลักษณะ ๔ | นีติกรรม | |
TITLE IV. | JURISTIC ACTS. | |
第四章 | 法律行為 |
หมวด ๑ | บทเบ็ดเสร็จทั่วไป | |
CHAPTER I. | GENERAL PROVISIONS. | |
第一節 | 総則 |
อันว่านีติกรรมนั้น ได้แก่การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนีติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ |
Section 112. (from Vol.79) |
Juristic act are voluntary lawful acts, the immediate purpose of which is to establish between persons juristic relations, to create, modify, transfer, preserve or extinguish rights. |
|
第112条 | |
法律行為というものは即ち、権利を設定し、変更し、移転し、保存し、または終了させるために、個人間に法律関係を結ぶことを直接に目指して、合法的且つ自発的になされる行為をいう。 |
การใดมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยก็ดี เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี การนั้นท่านว่าเป็นโมฆะกรรม |
Section 113. (from Vol.79) |
An act is void if its object is expressly prohibited by law or is impossible, or is contrary to public order or good morals. |
|
第113条 | |
法令によって明示的に禁止された目的、不能の目的、公共の秩序あるいは善良の風俗に反する目的を内容とする如何なる行為も、これを無効とする。 |
การใดเป็นการผิดแผกแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายใดๆ ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว เพียงแต่เหตุเท่านั้น ท่านว่าการนั้นหาเป็นโมฆะไม่ |
Section 114. (from Vol.79) |
An act is not void on account of its differing from a provision of any law if such law does not relate to public order or good moral. |
|
第114条 | |
法令中の規定と異なる内容の行為であっても、その法令の規定が公共の秩序あるいは善良の風俗に関しないものであるときは、その理由のみによっては、その行為が無効とされることはない。 |
การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นท่านว่าเป็นโมฆะ |
Section 115. (from Vol.79) |
An act which is not in the form prescribed by law is void. |
|
第115条 | |
法令により要求される方式に従わずになされた行為は、これを無効とする。 |
การใดมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นท่านว่าเป็นโมฆียะกรรม |
Section 116. (from Vol.79) |
An act which does not comply with the requirements concerning capacity of person is voidable. |
|
第116条 | |
法令中の人の行為能力に関する規定に従わずになされた行為は、これを取り消すことができる。 |
หมวด ๒ | แสดงเจตนา | |
CHAPTER II. | DECLARATION OF INTENSION. | |
第二節 | 意思表示 |
การแสดงเจตนาใด แม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ตนได้แสดงออกมาก็ดี ท่านว่าหาเป็นมูลทำให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น |
Section 117. (from Vol.79) |
A declaration of intention is not void on the ground that the declarant in the recesses of his mind does not intend to be bound by his expressed intention, unless this hidden intention was known to the other party. |
|
第117条 | |
意思表示は、表示者が本心では自らをその表示通りに義務付ける意図なく行ったものであっても、そのことのみによってその効力を妨げられることはない。但し、相手方が表示者の真意を知っている場合はその限りではない。 |
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านว่าเป็นโมฆะ แต่ข้อไม่สมบูรณ์อันนี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้น ถ้านีติกรรมอันหนึ่ง ทำด้วยเจตนาจะอำพรางนีติกรรมอีกอันหนึ่งไสร้ ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายอันว่าด้วยนีติกรรมอำพราง |
Section 118. (from Vol.79) | |
I. |
A declaration of intention made with the connivance of the other party which is fictitious is void; but its invalidity cannot be set up against third persons injured by the fictitious declaration of intention and acting in good faith. |
II. |
If a juristic act is intended to conceal another juristic act, the provisions of law relating to the concealed act shall apply. |
|
第118条 | |
I. |
相手方と通じてなした虚偽の意思表示は、これを無効とする。但し、この瑕疵を以て善意の第三者に対抗し、当該意思表示[の無効]によってこの者に損害を及ぼすことは許されない。 |
II. |
ある法律行為が他の法律行為を隠匿するためになされたときは、[前者の法律行為の効力は、]隠匿された[後者の]法律行為に関する法律の規定に従ってこれを決する。 |
การแสดงเจตนา ถ้าทำด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนีติกรรม ท่านว่าเป็นโมฆะ แต่ถ้าความสำคัญผิดนั้น เป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนาไสร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะถือเอาความไม่สมบูรณ์นั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนได้ไม่ |
Section 119. (from Vol.79) |
A declaration of intention is void if made under a mistake as to an essential element of the juristic act, but if the mistake was due to the gross negligence of person making such declaration he cannot avail himself of such invalidity. |
|
第119条 | |
意思表示は、法律行為の要素に錯誤があったときは、これを無効とする。但し、その錯誤が表意者の重大な過失に起因するときは、その表意者は、自らの利益のためにその意思表示の瑕疵を援用することは許されない。 |
การแสดงเจตนา ถ้าทำโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสาระสำคัญนั้นไสร้ แสดงเจตนาอย่างนี้ท่านว่าเป็นโมฆียะ |
Section 120. (from Vol.79) |
A declaration of intention is voidable if made under a mistake as to a quality of the person or the thing which is considered as essential in the ordinary dealings. |
|
第120条 | |
意思表示は、人あるいは財物の性質に関して錯誤があったときは、その性質が通常、[人あるいは財物にとって]本質的と見なされるものである場合に限り、これを取り消すことができる。 |
การแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลก็ดี เพราะข่มขู่ก็ดี ท่านว่าเป็นโมฆียะ ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้แสดงเจตนาเพราะกลฉ้อฉลของบุคคลภายนอก การจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้กลฉ้อฉลนั้น ถ้าทำกลฉ้อฉลลวงให้เขาบอกล้างการแสดงเจตนา การบอกล้างเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู่บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต |
Section 121. (from Vol.79) | |
I. |
A declaration of intention procured by fraud or duress is voidable. |
II. |
When a party has made a declaration of intention owing to a fraud committed by a third person, the act is voidable only if the other party knew or ought to have known of the fraud. |
III. |
The avoidance of a declaration of intention procured by fraud cannot be set up against a third person acting in good faith. |
|
第121条 | |
I. |
詐欺または強迫による意思表示は、これを取り消すことができる。 |
II. |
当事者の一方が第三者のはたらいた詐欺のために意思表示をなすに至ったときは、他方当事者がその詐欺を知っていたか、あるいは知り得たはずの場合に限り、これを取り消すことができる。 |
III. |
詐欺による意思表示であったために、表意者がそれを取り消そうとする場合[であっても]、善意の第三者に対しては、これを以て対抗することは許されない。 |
การอันจะเป็นโมฆียะกรรมเพราะกลฉ้อฉลนั้น ต่อเมื่อถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้น อันนั้นก็คงจะมิได้ทำขึ้นเลย |
Section 122. (from Vol.79) |
An act is voidable on account of fraud only when it is such that without it the act would not have been made. |
|
第122条 | |
詐欺による意思表示は、そのような詐欺がなかったならば[表意者は]当該意思表示を決してしなかったであろう[と推定される]ほどに[当該意思の本質に関わる]場合にのみ、これを取り消すことができる。 |
ถ้ากลฉ้อฉลนั้นเป็นแต่เพียงเหตุ กล่าวคือว่าเพียงได้จูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับเอาซึ่งข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่เขาจะยอมรับโดยปกติไซร้ ท่านว่าคู่กรณีฝ่ายนั้นได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน จะบอกล้างการอันนั้นเสียทีเดียวหาได้ไม่ |
Section 123. (from Vol.79) |
If the fraud is only incidental, that is to say, it has merely induced a party to accept more onerous terms than would otherwise have done, such party can only claim compensation for damage and cannot avoid the act. |
|
第123条 | |
[瑕疵ある意思表示の原因である]その詐欺が[意思表示の要素に関するよりは]単に誘因に過ぎないとき、即ち、通常ならば受け入れなかっであろう不利な内容に同意するよう誘導された程度の場合には、表意者は、[その詐欺から生じた]損害の賠償を請求できるにとどまり、当該意思表示の取り消しは許されない。 |
ในนีติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริง หรือคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้นั้น ท่านถือว่าเป็นกลฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นีติกรรมอันนั้นก็คงจะมิได้ทำขึ้นเลย |
Section 124. (from Vol.79) |
In bilateral juristic acts, the intentional silence of one of the parties in respect to a fact or quality of which the other party is ignorant, is deemed to be a fraud if it is proved that, without it, the act would not have been made. |
|
第124条 | |
双務的な法律行為において、当事者の一方が他方当事者の知らない事実あるいは性質を故意に黙秘したときは、その黙秘された事実あるいは性質を相手方が知っていたならば当該法律行為は決して成立に至らなかったであろうことが証明される場合に限り、これを詐欺と見なす。 |
ถ้าคู่กรณีต่างได้ทำการโดยกลฉ้อฉลทั้งสองฝ่ายด้วยกัน ท่านว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะหยิบยกข้อฉ้อฉลนั้นอ้างเพื่อบอกล้างการนั้น หรือเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนหาได้ไม่ |
Section 125. (from Vol.79) |
If both parties acted with fraud, neither of them can allege it, to avoid the act or to claim compensation. |
|
第125条 | |
[法律行為の]当事者の双方が互いに相手方に対して詐欺をはたらいたときは、その詐欺を理由に[自らの意思表示の]取り消しを主張し、または損害賠償を請求することは、双方ともに許されない。 |
การข่มขู่ที่จะได้ทำการใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นอันถึงขนาดที่จะจูงใจถูกข่มขู่ให้มีมูลต้องกลัวจะเกิดความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันเขากรรโชกเอานั้น |
Section 126. (from Vol.79) |
Duress in order to make an act voidable must be such that it induces in the person affected by it a founded fear of injury to his person, his family, or his property, imminent and equal, at least, to that which he fears from the act extorted. |
|
第126条 | |
何等かの行為を取り消し可能とさせる強迫は、言葉によるも、自分自身、自分の家族、あるいは自分の財産に対して[本当に]危害が加えられるかもしれないと[被害者に]恐怖心を抱かせるに十分な程度[に現実的]であり、[且つ]その危険が切迫しており、且つまた、強迫者が[現実に]加害行為を実行したに等しい程に深刻なものでなければならない。 |
การขู่ว่าจะใช้สิทธิอันหนึ่งตามปกตินิยมก็ดี เพียงแต่ความหลัวเพราะนับถือยำเกรงก็ดี ท่านหาจัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ |
Section 127. (from Vol.79) |
The threat of the normal exercise of a right, or simple reverential fear, is not considered as duress. |
|
第127条 | |
権利の通常の行使として警告しても、また、[相手に対する]畏敬の念から恐れを抱いても、それを強迫[の行為、あるいは強迫による恐れ]とは見なすことは許されない。 |
การข่มขู่ย่อมทำให้นีติกรรมเสื่อมเสีย แม้ถึงบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่ |
Section 128. (from Vol.79) |
Duress vitiates the juristic act, even when it is exercised by a third person. |
|
第128条 | |
強迫が第三者によってなされた場合であっても、[その結果としてなされた]法律行為は、当然に瑕疵あるものとなる。 |
ในการวินิจฉัยคดีข้อสำคัญผิดก็ดี กลฉ้อฉลก็ดี ข่มขู่ก็ดี ท่านให้พิเคราะห์ถึงเพศ อายุ ฐานะ อนามัย และนิสสัยใจคอของผู้เจ้าทุกข์ ตลอดถึงพฤติการณ์อื่นทั้งปวงอันอาจเป็นน้ำหนักแต่การนั้นด้วย |
Section 129. (from Vol.79) |
In determining a case of mistake, fraud or duress, the sex, age, position, health, temperament of the person aggrieved and all other circumstances which may boar upon its gravity, shall be taken into consideration. |
|
第129条 | |
錯誤、詐欺および強迫[による意思表示]の事案の審理に当たっては、被害者の性別、年齢、地位、健康状態、および性癖や性情、ならびに、当該行為に影響した可能性のあるその他全ての事情を考慮しなければならない。 |
การแสดงเจตนาทำให้แก่บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง ย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นตันไป แต่ถ้าบอกถอนไปถึงผู้นั้นก่อนแล้ว หรือพร้อมกันไสร้ แสดงเจตนานั้นก็ย่อมตกเป็นอันไร้ผล อนึ่งเมื่อเจตนาได้ส่งไปแล้ว ถึงแม้ว่าในภายหลังผู้แสดงเจตนาจะตาย หรือตกเป็นคนไร้ความสามารถก็ตาม ท่านว่าหาเป็นเหตุทำให้ความสมบูรณ์แห่งการแสดงเจตนานั้นเสื่อมเสียไปไม่ |
Section 130. (from Vol.79) | |
I. |
A declaration of intention made to a person at a distance takes effect from the time when it reaches the other party. It does not become effective if a revocation reaches him previously or simultaneously. |
II. |
Even though the person who made a declaration of intention dies or becomes incapacitated after it has been sent, the validity of the declaration is not impaired thereby. |
|
第130条 | |
I. |
隔地者に対する意思表示は、その意思表示が相手方に到達した時点からその効力を生じる。但し、それに先立ち、あるいはそれと同時に撤回[の通知]が到達した場合は、その限りではない。 |
II. |
なお、既に発信された[隔地者に対する]意思表示は、表意者がその後に死亡し、または禁治産の宣告を受けても、そのためにその効力を妨げられない。 |
ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รับซึ่งการแสดงเจตนานั้นเป็นผู้เยาว์ก็ดี เป็นผู้ที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ดี การแสดงเจตนานั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นข้อต่อสู้คู้กรณีนั้น แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ หากปรากฏว่าผู้แทนโดยชอบธรรมได้รู้ด้วยแล้ว |
Section 131. (from Vol.79) |
If the declaration of intention is made to a minor or a person adjudged incompetent at the time when he receives the declaration of intention, such declaration cannot be set up against him but this does not apply after his legal representative has knowledge of it. |
|
第131条 | |
意思表示の相手方が未成年者である場合、または裁判所の決定により禁治産の宣告を受けている場合は、この相手方に対して意思表示の効力を主張することは許されない。但し、相手方の法定代理人もまたその意思表示を知っていたことが判明した場合には、本条は、これを適用はしない。 |
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ท่านให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร |
Section 132. (from Vol.79) |
In the interpretation of a declaration of intention, the true intention is to be sought rather than the literal meaning of the words or expressions. |
|
第132条 | |
意思表示の解釈に当たっては、文字上の表現や語句に捕われることなく、表意者の真意に着目しなければならない。 |
หมวด ๓ | โมฆะและโมฆียะกรรม | |
CHAPTER III. | VOID AND VOIDABLE ACTS. | |
第三節 | 無効および取り消し |
อันความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนั้น ท่านว่าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ |
Section 133. (from Vol.79) |
The nullity may be alleged at any time by any interested person. |
|
第133条 | |
ある行為が無効であることは、利害関係人であれば誰でも、これを主張することができる。 |
โมฆะกรรมนั้น ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ |
Section 134. (from Vol.79) |
A void act cannot be ratified. |
|
第134条 | |
無効の行為は、当事者間でこれを追認することはできない。 |
ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนีติกรรมเป็นโมฆะ ท่านว่านีติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณี ว่าคู่กรณีได้เจตนาจะให้ส่วนที่สมบูรณ์นั้นแยกออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้ |
Section 135. (from Vol.79) |
If any part of an act is void the whole act is void unless it may be assumed under the circumstances of the case that the parties intended the valid part of the act to be severable from the invalid part. |
|
第135条 | |
法律行為に無効の部分があるときは、当然にその全体を無効とする。但し、事案の事情から、当事者が瑕疵ある部分から切り離して、有効な部分だけでも成立させたであろうことが推定される場合は、この限りではない。 |
การใดเป็นโมฆะกรรมแต่เข้าแบบเป็นนีติกรรมอย่างอื่น โมฆะกรรมนั้นท่านว่าย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยฐานเป็นนีติกรรมอย่างอื่นนั้น หากเป็นที่สันนิษฐานได้ว่า ถ้าเดิมที่คู่กรณีได้รู้ว่าการตามจำนงนั้นไม่สมบูรณ์ ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นอย่างหลังนี้ |
Section 136. (from Vol.79) |
If a void act complies with the requirements of another act it is valid as the other act, if it may be assumed that such validity would have been intended by the parties, had they known of the invalidity of the intended act. |
|
第136条 | |
[それ自体としては]無効であっても、他の類型の法律行為としては有効な行為は、当事者が意図したその行為が瑕疵あるものであることを初めから知っていたら、後者の行為として有効に成立させていたであろうと推定されるときは、当然にこの有効な法律行為としての効力を有する。 |
โมฆียะกรรมนั้น ท่านว่าบุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ผู้ไร้ความสามารถก็ดี หรือผู้ได้แสดงเจตนาโดยวิปริตก็ดี หรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือทายาทของบุคคลเช่นนั้นก็ดี จะบอกล้างเสียก็ได้ โมฆียะกรรมอันหญิงมีสามีได้ทำลงนั้น ท่านว่าสามีจะบอกล้างเสียก็ดี |
Section 137. (from Vol.79) | |
I. |
A voidable act may be avoided by the incapacitated person or the person who has made the defective declaration of intention or by a legal representative, or curator or heir of such person. |
II. |
A voidable act done by a married woman may be avoidable by her husband. |
|
第137条 | |
I. |
取り消し可能な行為は、次に掲げる者、即ち、禁治産者あるいは[詐欺や強迫など]異常な状況下で意思表示を行った者、およびそれらの者の法定代理人、保佐人、あるいは相続人に限り、これを取り消すことができる。 |
II. |
夫を有する女性が行った取り消し可能な行為は、その夫もまたこれを取り消すことができる。 |
โมฆียะกรรม เมื่อบอกล้างแล้ว ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้ว ท่านให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นไม่สมบูรณ์ ในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิม และถ้าเป็นพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน |
Section 138. (from Vol.79) | |
I. |
When a voidable act is avoided, it is deemed to have been void from the beginning. |
II. |
If a person knew or ought to have known of the voidability, he is deemed, if the act is avoided, to have known that the act was invalid. |
III. |
The parties shall be restored to the condition in which they were previously, and if it is not possible to so restore them, they shall be indemnified with an equivalent. |
|
第138条 | |
I. |
取り消し可能な行為は、現に取り消されたときは、これを初めから無効であったものと見なす。 |
II. |
当該行為が取り消し可能であることを知っていたか、または知り得たはずの者は、現にその行為が取り消されたときは、この者を、その行為に瑕疵あることを知っていたものと見なす。 |
III. |
この場合においては、当事者を原状に復させ、原状回復が不能のときには、損害賠償を以てこれに代える。 |
ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดดั่งระบุไว้ในมาตรา ๑๓๗ ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ท่านให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ข้อนี้หาอาจจะกระทบกระทั่งถึงสิทธิทั้งหลายของบุคคลภายนอกได้ไม่ |
Section 139. (from Vol.79) |
If any person specified in Section 137 ratifies a voidable act, it is deemed to have been valid from the beginning; but the right of third persons cannot be affected thereby. |
|
第139条 | |
取り消し可能な行為は、第137条に規定される取り消し権者が追認したときは、これを初めから有効な法律行為と見なす。但し、追認によって第三者の権利を害することは許されない。 |
ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแห่งโมฆียะกรรมนั้น เป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดแน่นอน การนั้นท่านว่าย่อมบอกล้าง หรือให้สัตยาบันได้ด้วยแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้นั้น |
Section 140. (from Vol.79) |
If the other party to a voidable act is a determinate person such act is avoided or ratified by a declaration of intention made to him. |
|
第140条 | |
取り消し可能な行為における相手方の人物が明確にそれと確定しているときは、その行為の取り消しあるいは追認は、この者に対する意思表示により、これを行うことができる。 |
ในการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น ท่านว่าสมบูรณ์ จะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อทำให้ภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะนั้นได้ศูนย์สิ้นไปแล้ว บุคคลผู้ที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ถ้าได้มารู้เห็นซึ่งโมฆียะกรรมเช่นว่านี้เมื่อตนได้กลับเป็นผู้มีความสามารถแล้ว จะให้สัตยาบันได้ต่อภายหลังเวลาทีได้รู้เช่นนั้น บทบัญญัติที่ว่ามาในสองวรรคก่อนนั้น ท่านมิให้ใช้ถึงกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์เป็นผู้ให้สัตยาบัน |
Section 141. (from Vol.79) | |
I. |
A ratification is valid only if it is made after the state of facts forming the ground of voidability has ceased to exist. |
II. |
When a person adjudged incompetent acquires knowledge of such act after he has recovered his capacity, he can ratify it only after acquiring knowledge. |
III. |
The provisions of the foregoing two paragraphs do not apply to a ratification by the legal representative or curator. |
|
第141条 | |
I. |
取り消し可能な行為を追認する場合は、その行為の取り消し可能性の原因が完全に消滅した後にこれを行ったときのみ、その追認を有効なものとする。 |
II. |
裁判所から禁治産の宣告を受けた者が、行為能力を回復した後にその取り消し可能な行為を了知した場合には、その了知した時点の後においてのみ、追認を有効なものとする。 |
III. |
本条第1項および第2項の規定は、[行為者の]法定代理人または保佐人が追認する場合には、これを適用しない。 |
ถ้าในภายหลังเวลาอันจะพึงให้สัตยาบันได้ตามความในมาตราก่อนนั้น มีข้อความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียะกรรมไซร้ ถ้ามิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ท่านให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน ทั้งนี้คือเช่นว่า
|
Section 142. (from Vol.79) | ||||||||||
If after the time when according to foregoing section ratification could be made, any of the following facts takes place in regard to a voidable act, it is deemed to be ratified, unless a reservation is expresses, such as: | ||||||||||
|
|
第142条 | |||||||||||
第141条の規定により追認をすることができる時以後に、取り消し可能な行為につき、何らの異義をとどめることなく、次に掲げる何れかの事実が生じたときは、それによって取り消し可能な行為を追認したものと見なす。その事実とは即ち、 | |||||||||||
|
อันโมฆียะกรรมนั้น ท่านห้ามมิให้บอกล้างเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่จะอาจให้สัตยาบันได้ อนึ่งถ้าเวลาได้ล่วงไปถึงสิบปี นับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้นแล้ว ก็เป็นอันจะบอกล้างไม่ได้ดุจกัน |
Section 143. (from Vol.79) |
A voidable act cannot be avoided later than one year from the time when ratification could have been made. The same applies if ten years have elapsed since the act was done. |
|
第143条 | |
取り消し可能な行為は、その追認をすることができる時から1年を経過した後には、もはやこれを取り消しすることができない。取り消し可能な当該行為の時から10年を経過したときもまた、同様とする。 |
หมวด ๔ | เงื่อนไขและเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสิ้นสุด | |
CHAPTER IV. | CONDITION AND TIME OF COMMENCEMENT OR ENDING. | |
第四節 | 条件、および始期あるいは終期 |
ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นีติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอ้นหนึ่งขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ข้อความเช่นนั้นท่านเรียกว่าเงื่อนไข |
Section 144. (from Vol.79) |
A clause which subordinates the effect of a juristic act to a future and uncertain event, is considered a condition. |
|
第144条 | |
法律行為の効力を、将来におけるその発生が不確実な何らかの事態が実際に生じた時にのみ、発効させることを規定したときは、そのような規定を条件と呼ぶ。 |
นีติกรรมใดมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับก่อน นีติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว นีติกรรมใดมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับหลัง นีติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว ถ้าคู่กรณีแห่งนีติกรรมได้แสดงเจตนาไว้ด้วยกันว่าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้น ให้มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสำเร็จ ก็ให้เป็นไปตามเจตนาเช่นนั้น |
Section 145. (from Vol.79) | |
I. |
A juristic act subject to a condition precedent takes effect when the condition is fulfilled. |
II. |
A juristic act subject to a condition subsequent ceases to have effect when the condition in fulfilled. |
III. |
If the parties to the act have declared an intention that the effect of the fulfilment of a condition shall relate back to a time before its fulfilment, such intention is to govern. |
|
第145条 | |
I. |
停止条件付き法律行為は、その条件が成就した時からその効力を生じる。 |
II. |
解除条件付き法律行為は、その条件が成就した時にその効力を失う。 |
III. |
法律行為の当事者が条件の成就した場合の効果をその成就した時以前に遡らせる意思を表示したときは、その意思に従う。 |
ในระวางที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแห่งนีติกรรมอันอยู่ในบังคับเงื่อนไข จะต้องงดเว้นไม่ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์ อันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะพึงได้แต่ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้น |
Section 146. (from Vol.79) |
Any party to a juristic act subject to a condition must not, while the condition is pending, do anything by which the benefits which the other party might derive from the fulfilment of the condition will be impaired. |
|
第146条 | |
条件付き法律行為の各当事者は、条件の成否が未定である間は、条件が成就した場合に相手方に生じるべき利益を害するような行為をしてはならない。 |
ในระวางที่เงื่อนไขยังมิได้สำเร็จนั้น สิทธิและหน้าที่ต่างๆของคู่กรณีมีอย่างไร จะจำหน่าย จะรับมฤดก จะจัดการป้องกันรักษา หรือจะทำประกันไว้ประการใดตามกฎหมาย ก็ย่อมทำได้ |
Section 147. (from Vol.79) |
The rights and duties which the parties have, while the condition is pending, may be disposed of, inherited, protected or secured according to law. |
|
第147条 | |
[条件付きの法律行為の]当事者は、条件の成否が未定である間にも、法律の規定に従い、その[条件付きの]権利あるいは義務を処分し、相続し、保存し、または[債務の場合に、そのために]担保を供することができる。 |
ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไข จะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายไหนเสียเปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้นเข้าป้องปัดขัดขวางเสียมิให้สำเร็จได้ด้วยเจตนาทุจจริตไซร้ ท่านให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไข จะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายไหนได้เปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้นขวนขวายจัดทำให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จขึ้นด้วยเจตนาทุจจริตไซร้ ท่านให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันมิได้สำเร็จเลย |
Section 148. (from Vol.79) | |
I. |
If the fulfilment of a condition is prevented in bad faith by the party to whose disadvantage it would operate, the condition is deemed to have been fulfilled. |
II. |
If the fulfilment of a condition is brought about in bad faith by the party to whose advantage it would operate, the condition is deemed not to have been fulfilled. |
|
第148条 | |
I. |
条件が成就することによって不利益を受ける当事者が、悪意を以て意図的に条件の成就を妨げたときは、その条件は成就したものと見なす。 |
II. |
条件が成就することによって利益を受ける当事者が、悪意を以て意図的に条件の成就に導いたときは、その条件は成就しなかったものと見なす。 |
ถ้าเงื่อนไขสำเร็จแล้ว แต่ในเวลาทำนีติกรรม หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ท่านว่านีติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์ปราศจากเงื่อนไข หากว่าเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ท่านว่านีติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ถ้าในเวลาทำนีติกรรม เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ท่านว่านีติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ท่านว่านีติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์ปราศจากเงื่อนไข ในกรณีดั่งกล่าวมาในสองวรรคก่อนนี้ ตราบใดคู่กรณียังไม่รู้ว่าเงื่อนไขได้สำเร็จแล้ว หรือมิอาจสำเร็จได้ ตราบนั้นท่านให้ใช้บทบัญญัติมาตรา ๑๔๖ และ ๑๔๗ บังคับแล้วแต่กรณี |
Section 149. (from Vol.79) | |
I. |
When the condition is already fulfilled at the time of the juristic act, the latter is unconditionally valid, if the condition is precedent, and is void, if the condition is subsequent. |
II. |
When it is already certain at the time of the juristic act that the condition cannot be fulfilled, the act is void, if the condition is precedent, and unconditionally valid, if the condition is subsequent. |
III. |
In the cases mentioned in the foregoing two paragraphs the provisions of sections 146 and 147 apply correspondingly so long as the parties do not know whether the condition is fulfilled or cannot be fulfilled. |
|
第149条 | |
I. |
条件が既に法律行為の時から成就していた場合において、その条件が停止条件であるときはその法律行為は無条件の有効な行為とし、その条件が解除条件であるときはその法律行為は無効とする。 |
II. |
条件の成就が不可能であることが法律行為の時に既に確定していた場合において、その条件が停止条件であるときはその法律行為は無効とし、その条件が解除条件であるときはその法律行為は無条件の有効な行為とする。 |
III. |
本条第1項および第2項の場合において、条件の既に成就していること、あるいは条件の成就が不可能であることを未だ知らないでいる限り、その事例に応じて第146条あるいは第147条を適用する。 |
นีติกรรมใดมีเงื่อนไขอันไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ดี ขัดวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี นีติกรรมนั้นท่านว่าเป็นโมฆะ |
Section 150. (from Vol.79) |
A juristic act is void if it is subject to an unlawful condition, or a condition contrary to public order or good morals. |
|
第150条 | |
法令に違反し、または公共の秩序あるいは善良の風俗に反する条件を付した法律行為は、これを無効とする。 |
นีติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขนั้นเป็นการอันพ้นวิสัย ท่านว่านีติกรรมนั้นเป็นโมฆะ นีติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง และเงื่อนไขนั้นเป็นการอันพ้นวิสัย ท่านว่านีติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์ปราศจากเงื่อนไข |
Section 151. (from Vol.79) | |
I. |
A juristic act upon a condition precedent which is impossible is void. |
II. |
A juristic act upon a condition subsequent which is impossible is unconditionally valid. |
|
第151条 | |
I. |
不能の停止条件を付した法律行為は、これを無効とする。 |
II. |
不能の解除条件を付した法律行為は、これを無条件の有効な行為とする。 |
นีติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเป็นเงื่อนไขอันสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้เท่านั้นไซร้ นีติกรรมนั้นท่านว่าเป็นโมฆะ |
Section 152. (from Vol.79) |
A juristic act upon a condition precedent which depends merely upon the will of the debtor is void. |
|
第152条 | |
停止条件付き法律行為は、その条件成就の成否が単に債務者の意思にのみ係るときは、これを無効とする。 |
ถ้านีติกรรมมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ ท่านห้ามมิให้ทวงถามให้ปฏิบัติการตามนีติกรรมก่อนถึงเวลากำหนด ถ้านีติกรรมมีเงื่อนเวลาสุดสิ้นกำหนดไว้ ท่านว่านีติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลากำหนด |
Section 153. (from Vol.79) | |
I. |
If a time of commencement is annexed to a juristic act, its performance cannot be demanded before such time has arriveds. |
II. |
If a time of ending is annexed to a juristic act, its effect ceases when such time arrived. |
|
第153条 | |
I. |
法律行為に始期を付したときは、その法律行為の履行は、期限が到来するまで、これを請求することができない。 |
II. |
法律行為に終期を付したときは、その法律行為の効力は、期限が到来した時に消滅する。 |
อันเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสุดสิ้นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าย่อมกำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะปรากฏโดยเนื้อความแห่งตราสาร หรือโดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าได้ตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหนี้ หรือแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยกัน อนึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้น ฝ่ายใดจะสละประโยชน์นั้นเสียก็ได้ แต่การสละนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงประโยชน์อันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะพึงได้แต่เงื่อนเวลานั้น |
Section 154. (from Vol.79) | |
I. |
It is presumed that a time of commencement or ending is fixed for the benefit of the debtor, unless it appears from the tenor of the instrument or from the circumstances of the case that it was intended for the benefit of the creditor, or of both parties. |
II. |
The benefit of such a time may be waived, but this will not affect any benefit which would accrue therefrom to the other party. |
|
第154条 | |
I. |
始期あるいは終期は、債務者の利益のために定めたものと推定する。但し、[当該法律行為に関する]証書の内容から、または事案の事情から、その期限が債権者の利益のため、あるいは当事者双方の利益のために定められたと解される場合は、その限りではない。 |
II. |
なお、期限の規定から利益を受ける当事者は、その利益を放棄することができる。但しこの放棄によって、他方当事者が期限の規定から受けるべき利益を損なってはならない。 |
ในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านห้ามมิให้ฝ่ายลูกหนี้ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสุดสิ้น คือ
|
Section 155. (from Vol.79) | ||||||
In the following cases the debtor cannot take advantage of a time of commencement or ending: | ||||||
|
|
第155条 | |||||||
次に掲げる場合には、債務者は、始期あるいは終期の規定から受ける利益を主張することができない。 | |||||||
|
ลักษณะ ๕ | ระยะเวลา | |
TITLE V. | PERIODS OF TIME. | |
第五章 | 期間 |
วิธีการกำหนดนับระยะเวลาทั้งปวง ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะนี้ เว้นแต่จะมีกำหนดไว้เป็นประการอื่นโดยกฎหมายหรือกฎข้อบังคับ โดยคำสั่งศาล หรือโดยนีติกรรม |
Section 156. (from Vol.79) |
The manner of computing all periods of time is governed by the provisions of this Title, unless it is otherwise provided by law or regulations, by a judicial order or by a juristic act. |
|
第156条 | |
期間の計算方法は、法令、裁判所の決定、または法律行為に別段の定めのない限り、[原則として]この章の規定に従う。 |
ระยะเวลานั้น ท่านให้คำนวณเป็นวัน ถ้าระยะเวลานับเป็นชั่วโมง ท่านว่าระยะเวลาย่อมเริ่มต้นในทันใดนั้น |
Section 157. (from Vol.79) | |
I. |
A period of time is calculated by day. |
II. |
If it is measured in hours, it begins to run at once. |
|
第157条 | |
I. |
期間の計算は、[原則として]日数によってこれを行う。 |
II. |
時間を以て期間を定めた場合には、即時にこれを起算する。 |
ถ้าระยะเวลาเป็นวันก็ดี สัปดาหะก็ดี เดือนหรือปีก็ดี ท่านมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานกันตามประเพณี |
Section 158. (from Vol.79) |
When a period of time is measured in days, weeks, months or years, the first day of the period is not included in the calculation unless the period begins to run on that day from the time which is customary to commence business. |
|
第158条 | |
日、週、月あるいは年によって期間を定めたときは、期間の初日は算入しない。但し、その期間が、慣習上一日の営業が開始される時刻から始まるときは、その限りではない。 |
ถ้าระยะเวลาเป็นสัปดาหะก็ดี เดือนหรือปีก็ดี ท่านให้คำนวณตามประดิทินในราชการ ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาหะก็ดี วันต้นแห่งเดือนหรือปีก็ดี ท่านว่าระยะเวลาย่อมสุดสิ้นลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาหะ เดือน หรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะเวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ท่านว่าวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสุดสิ้นระยะเวลา |
Section 159. (from Vol.79) | |
I. |
The period measured in weeks, months or years are calculated according to the official calendar. |
II. |
If the period is not computed from the beginning of a week, month or year, it ends on the day preceding that day of the last week, month or year which corresponds to that on which it began. If in a period measured in months or years there is no corresponding day in the last month, the last day of such month is the day of ending. |
|
第159条 | |
I. |
週、月あるいは年によって期間を定めた場合は、その期間は、行政官庁の使用する暦に従って計算する。 |
II. |
[週、月あるいは年によって定められた]期間が、週、月あるいは年の初日から起算されないときは、その期間は、最後の週、月あるいは年においてその起算日に相当する日の前日に満了する。月あるいは年によって期間を定めた場合において、その最後の月に[起算日に]相当する日がないときは、最後の月の末日に満了する。 |
ระยะเวลานั้นถ้าผ่อนออกไป ท่านให้นับเอาวันซึ่งต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมนั้น เป็นวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาซึ่งผ่อนออกไป |
Section 160. (from Vol.79) |
If a period of time is extended, the first day of the extension is the day following the last day of the original period. |
|
第160条 | |
期間が更新されたときは、新たな期間は、本来の期間の末日の翌日を初日として、これを起算する。 |
ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุดซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่เข้าด้วย |
Section 161. (from Vol.79) |
If the last day of a period is a holiday on which it is customary not to do business, the period includes the next working day. |
|
第161条 | |
期間の末日が慣習上の休業日に当たるときは、その日に続く最初の営業日を[期間の末日として]算入する。 |
ในทางความ ในทางราชการ และทางค้าขายนั้น วัน หมายความว่าเวลาทำการงานตามปกติ |
Section 162. (from Vol.79) |
In matters of justice, administration and commerce day means the usual hours of office or business. |
|
第162条 | |
裁判所の審理、行政事務、および商営業において、日とは、通常、事務日[あるいは営業日]とされる日を意味する。 |
ลักษณะ ๖ | อายุความ | |
TITLE VI. | PRESCRIPTION. | |
第六章 | 消滅時効 |
อันสิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับเสียภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ท่านว่าตกเป็นอันขาดอายุความ ห้ามมิให้ฟ้องร้อง |
Section 163. (from Vol.79) |
A claim is barred by prescription if it has not been enforced within the period of time fixed by law. |
|
第163条 | |
どのような請求権も、法律によって定められた期間内に行使されなかったときは、その消滅時効が完成したものとし、もはや提訴することは許されない。 |
อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี |
Section 164. (from Vol.79) |
The period of prescription for which no other period is provided by law is ten years. |
|
第164条 | |
[請求権の]消滅時効は、法律に別段の定めのない限り、その期間を10年とする。 |
สิทธิเรียกร้องดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ มีกำหนดอายุความสองปี คือ
สิทธิเรียกร้องเช่นระบุไว้ในวรรค ๑ อนุมาตรา (๑), (๒) และ (๕) นั้นอย่างใดไม่เข้าอยู่ในบังคับอายุความสองปี ท่านให้มีกำหนดอายุความห้าปี |
Section 165. (from Vol.79) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
I. |
The period of prescription is two years for the following claims: | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
II. |
So far as the claims specified in paragraph 1 (1), (2) and (5) are not subject to prescription in two years, the period is five years. |
|
第165条 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
I. |
次に掲げる請求権は、その消滅時効の期間を2年とする。 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
II. |
本条第1項第1号、第2号および第5号に該当する請求権のうち、消滅時効期間を2年と定められるもの以外の請求権については、その消滅時効の期間を5年とする。 |
ในการเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งก็ดี เรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งนอกจากดอกเบี้ยเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ นั้นก็ดี ในการเรียกเอาค่าเช่าทรัพย์สินค้างส่ง นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๕ วรรค ๑ อนุมาตรา (๖) นั้นก็ดี ในการเรียกเงินค้างจ่าย คือ เงินปี เงินเดือน เงินเบี้ยบำนาญ เงินค่าบำรุงรักษา และเงินอื่นๆ บรรดาที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลานั้นก็ดี สิทธิเรียกร้องเหล่านี้ท่านให้มีกำหนดอายุความห้าปี |
Section 166. (from Vol.79) |
The period of prescription is five years for claims to arrears of interest, including the sums payable in addition to interest for the purpose of paying off the principal by instalments; for clams for arrears of rent or hire of property, so far as they are not provided for by Section 165 paragraph 1 (6); and for claims for arrears of annuities, salaries, pensions, allowances for maintenance and all other periodical payments. |
|
第166条 | |
滞納中の利息に対する請求権、利息以外に、元本の返済として定期的に支払われるべき金額[の滞納分]に対する請求権、第165条第1項第6号に該当するものを除き、賃貸借における滞納中の損料に対する請求権、ならびに年俸、月俸、年金、扶養給付金、その他定期的に支払われるべき性質の給付金の滞納分に対する請求権は、その消滅時効の期間を5年とする。 |
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรท่านให้มีกำหนดอายุความสิบปี เรียกเพื่อหนี้อย่างอื่นท่านให้บังคับตามบทบัญญัติสามมาตราก่อนนี้ |
Section 167. (from Vol.79) |
The period of prescription for claims of the Government for taxes and rates or revenues is ten years. As to other claims relating to obligations the three foregoing sections shall apply. |
|
第167条 | |
政府が有する国税の請求権は、その消滅時効の期間を10年とする。その他の債権の請求権に関しては、第164条乃至第166条の規定に従う。 |
สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลก็ดี โดยคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการก็ดี โดยประนีประนอมยอมความก็ดี ท่านให้มีกำหนดอายุความสิบปี แม้ทั้งที่เป็นประเภทอันอยู่ในบังคับอายุความกำหนดน้อยกว่านั้น |
Section 168. (from Vol.79) |
The period of prescription for a claim established by a final judgment, by an award in arbitration or by a compromise is ten years, even if the claim itself is subject to a shorter period of prescription. |
|
第168条 | |
裁判所の確定判決、仲裁人の裁定、あるいは和解に基づく請求権は、その種の請求権につき[法律が]より短期の消滅時効を規定している場合であっても、これを常に10年とする。 |
อายุความนั้น ท่านให้นับเริ่มแต่ขณะที่จะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องเพื่อให้งดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านให้นับอายุความเริ่มแต่เวลาแรกที่ละเมิดสิทธินั้นเป็นต้นไป |
Section 169. (from Vol.79) |
Prescription begins to run from the moment when the claim can be enforced. If the claim is to a forbearance, prescription begins to run from the moment when the right is first infringed. |
|
第169条 | |
消滅時効は、当該請求権を行使できるときから進行する。不作為を目的とする請求権の場合には、その消滅時効は、その権利の侵害があった最初の時点から進行する。 |
ถ้าเจ้าหนี้อยู่ในฐานที่จะทวงถามให้ชำระหนี้มิได้จนกว่าจะได้บอกกล่าวแก่ลูกหนี้ก่อนไซร้ ท่านให้นับอายุความแต่เวลาแรกที่จะอาจส่งคำบอกกล่าวได้ [ถ้า]ลูกหนี้ยังไม่จำต้องชำระหนี้จนกว่าระยะเวลาอันหนึ่งอันใดจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่ได้บอกกล่าวนั้นไซร้ ท่านยังมิให้เริ่มนับอายุความจนกว่าระยะเวลานั้นจะได้สิ้นไปแล้ว |
Section 170. (from Vol.79) | |
I. |
If the creditor may not demand performance until he has given notice to the debtor, prescription begins to run from the moment when notice can be first given. |
II. |
If the debtor is not bound to perform until a given period has elapsed since the notice, prescription does not begin to run until the expiration of this period. |
|
第170条 | |
I. |
債権者が債務者に[履行期の到来を]告知した後でなければ、履行の催告ができない場合は、その消滅時効は、その告知ができる最初の時から進行する。 |
II. |
債務者に[履行期到来の]告知後もなお一定の履行猶予期間が与えられている場合には、消滅時効は、その猶予期間が満了するまでは進行しない。 |
ถ้าสิทธิเรียกร้องจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่ออาศัยการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิบอกล้างอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ท่านให้นับอายุความเริ่มแต่ขณะแรกที่จะบอกล้างได้ |
Section 171. (from Vol.79) |
If the arising of a claim depends upon the creditor's making use of a right of avoidance, prescription begins to run from the moment at which the avoidance is first permissible. |
|
第171条 | |
債権者がその何らかの取り消し権を行使した時にのみ成立する請求権の場合には、その消滅時効は、取り消しができるようになった最初の時点より進行する。 |
ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ก็ตาม ด้วยใช้เงินให้บางส่วน ด้วยส่งดอกเบี้ย หรือด้วยให้ประกันก็ตาม หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นก็ตาม ท่านว่าอายุความย่อมสดุดหยุดลง |
Section 172. (from Vol.79) |
Prescription is interrupted if the debtor has acknowledged the claim towards the creditor by written acknowledgement, by part payment, payment of interest, giving security, or by any unequivocal act which implies the acknowledgment of the claim. |
|
第172条 | |
債務者が債権者に対して書面による債務の承認を行ったとき、[債務の]一部を弁済したとき、利息を支払ったとき、担保を供したとき、または、疑いもなく債務の暗黙の承認と解される何らかの行為をしたときは、[当該請求権の]消滅時効は、当然に中断する。 |
ถ้าเจ้าหนี้ได้ฟ้องคดี เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามสิทธิเรียกร้องก็ดี หรือทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกัน เช่นยื่นคำร้องขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย หรือมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก็ดี ท่านว่าอายุความย่อมสดุดหยุดลง |
Section 173. (from Vol.79) |
Prescription is interrupted if the debtor has acknowledged the claim towards the creditor by written acknowledgement, by part payment, payment of interest, giving security, or by any unequivocal act which implies the acknowledgment of the claim. |
|
第173条 | |
債権者が、請求権の確認を求めるため、あるいは請求権に従って債権を行使するために訴えを提起したとき、ならびに[債務者の]破産手続きに参加して破産債権としての査定を申し立てたり、仲裁人に係争の仲裁を申し立てるなど、[訴えの提起と]同様の効果をもつと考えられるその他の行為をしたときは、[当該請求権の]消滅時効は、当然に中断する。 |
การฟ้องคดี ท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง หากว่าคดีนั้นได้ถอนฟ้อง ละทิ้งเสีย หรือต้องยกฟ้อง |
Section 174. (from Vol.79) |
Bringing an action is deemed to be no interruption if the action is withdrawn, abandoned or dismissed. |
|
第174条 | |
訴えの提起は、[請求権者が]その訴えを取り下げ、あるいは放棄したとき、または[裁判所に]却下[あるいは棄却]されたときは、消滅時効の中断の効力を生じない。 |
เมื่อฟ้องยังศาลแล้ว อายุความย่อมสดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีนั้นได้วินิจฉัยถึงที่สุด หรือเสร็จไปเป็นประการอื่น |
Section 175. (from Vol.79) |
When an action is entered in Court, prescription remains interrupted until the case is finally decided or otherwise disposed of. |
|
第175条 | |
[請求権者が一度]裁判所に訴えを提起したときは、確定判決が下されるまで、あるいはその他の態様で訴訟が終了するまでの間、[当該請求権の]消滅時効は中断する。 |
ถ้าศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล และกำหนดอายุความสิ้นไปแล้วในระหว่างพิจารณาก็ดี หรือจะสิ้นลงในระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดก็ดี ท่านให้ขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษานั้น |
Section 176. (from Vol.79) |
If the action is dismissed on the ground of want of jurisdiction and the period of prescription expired pending proceedings, or would have expired within six months after final judgement, it shall be extended to six months after such judgement. |
|
第176条 | |
裁判所が裁判管轄権のないことを理由に[請求権者の]訴えを却下した場合において、訴訟手続き中に[当該請求権の]消滅時効が既に完成しているとき、あるいは[訴えを退ける]裁判所の確定判決の時から6か月以内に完成するときは、その消滅時効の期間を確定判決の時から6か月を経る時点まで延長する。 |
การยื่นคำร้องขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย ท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง หากว่าใบพิสูจน์หนี้นั้นได้ถอนเสีย ละทิ้งเสีย หรือต้องยกเสียแล้ว |
Section 177. (from Vol.79) |
Application to prove in bankruptcy is deemed to be no interruption if the proof is withdrawn, [abandoned] or rejected. |
|
第177条 | |
[請求権者が]債務者の破産手続きに参加して破産債権としての査定を申し立てた場合においても、[請求権者が]その申し立てを取り下げ、あるいは放棄したとき、または[裁判所に]却下[あるいは棄却]されたときは、消滅時効の中断の効力を生じない。 |
ในการพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลายนั้น อายุความสดุดหยุดอยู่จนกว่าจะยกเลิกการล้มละลาย หรือจนกว่าจะเฉลียทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด ถ้ามีจำนวนเงินใดยึดไว้ เพราะข้อพิสูจน์หนี้หรือสิทธิเรียกร้องยังเป็นที่โต้แย้งอยู่ อายุความก็คงสดุดหยุดอยู่จนกว่าจะได้วินิจฉัยข้อพิสูจน์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นเสร็จถึงที่สุด |
Section 178. (from Vol.79) | |
I. |
In case of proof of bankruptcy, prescription remains interrupted until annulment of bankruptcy, or until final distribution of assets. |
II. |
If a sum is held back for a disputed proof or claim the interruption continues until such proof or claim is finally disposed of. |
|
第178条 | |
I. |
[請求権者が]債務者の破産手続きに参加して破産債権としての査定を申し立てたときは、その破産手続きが取り消され[=何らかの形で終了し]、あるいは破産財団の最後の配当が行われる時まで、[当該請求権の]消滅時効は中断する。 |
II. |
破産債権としての査定あるいは請求権自体が係争中であるため、[破産財団から]一定の金額が留保された場合には、その査定手続きあるいは訴訟手続きが確定するまで、[当該請求権の]消滅時効の中断は継続する。 |
ในกรณีที่มอบให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา ท่านให้ใช้บทบัญญัติมาตรา ๑๗๔ มาตรา ๑๗๕ และ ๑๗๖ บังคับอนุโลมตามควร |
Section 179. (from Vol.79) |
In case of submission to arbitration, the provisions of section 174, 175 and 176 shall apply mutatis mutandis. |
|
第179条 | |
仲裁人に係争の仲裁を申し立てたときは、第174条乃至第176条の規定を準用する。 |
เจ้าหนี้ผู้จะได้รับใช้เงินเป็นคราวๆ ตามมูลแห่งหนี้ มีสิทธิที่จะให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ในเวลาหนึ่งเวลาใดก่อนอายุความครบบริบูรณ์ เพื่อเป็นหลักฐานว่าอายุความสดุดหยุดลง |
Section 180. (from Vol.79) |
The creditor of an obligation for the payment of money periodically is entitled to require from the debtor at any time before the completion of the period of prescription a written acknowledgment of the obligation in order to obtain evidence of the interruption of prescription. |
|
第180条 | |
定期的な給付を受け取る請求権を有する債権者は、[当該請求権の]消滅時効が未完成の間はいつでも、その中断の証拠として、債務者に債務を承認する証書の交付を求めることができる。 |
เมื่ออายุความสดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความ เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสดุดหยุดลงนั้นสุดสิ้นเวลาใด ท่านให้เริ่มนับอายุความใหม่แต่เวลานั้นสืบไป |
Section 181. (from Vol.79) | |
I. |
When prescription is interrupted, the period of time which has elapsed before interruption does not count for prescription. |
II. |
A fresh period of prescription begins to run from the time when the interruption ceases. |
|
第181条 | |
I. |
消滅時効が中断されたときは、それまでに経過した時間はもはや時効に算入されない。 |
II. |
消滅時効は、その中断事由が終了した時から、新たにその進行を始める。 |
อันอายุความ เมื่อครบกำหนดบริบูรณ์แล้ว ย่อมให้ผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่เริ่มนับอายุความ |
Section 182. (from Vol.79) |
When prescription is completed its effect relates back to the day when it began to run. |
|
第182条 | |
消滅時効が完成したときは、その効力は当然に起算日に遡る。 |
ถ้าเวลาหนึ่งเวลาใดในหกเดือนก่อนอายุความครบกำหนดนั้น ผู้เยาว์ก็ดี หรือบุคคลวิกลจริตอันศาลจะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือหาไม่ก็ดี มิได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมไซร้ ท่านว่าอายุความอันให้โทษแก่บุคคลเช่นนั้น ยังไม่ครบบริบูรณ์ จนกว่าจะสิ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือนับแต่เวลาเมื่อความที่ขาดตัวผู้แทนโดยชอบธรรมอยู่นั้นได้สิ้นไปแล้ว |
Section 183. (from Vol.79) |
If at any time within six months previous to the maturity of the period for prescription, a minor or a person of unsound mind whether adjudged incompetent or not, is without a legal representative, the prescription running against him is not completed until the expiration of one year calculated from the time he acquires full capacity, or from the time when the want of a legal representative ceases. |
|
第183条 | |
時効の期間の満了前6か月以内の間に、未成年者、あるいは裁判所から禁治産の宣告を受けたか否かを問わず、心神喪失の常況にある者に、法定代理人が欠けるときは、その未成年者あるいは心神喪失者が行為能力者となった日から、あるいは法定代理人不在の状況が解消した時から1年を経過するまでの間は、その者に対して不利益をもたらす消滅時効は、完成しない。 |
ในส่วนสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์ หรือของบุคคลวิกลจริต ไม่ว่าศาลจะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือหาไม่ อันจะว่ากล่าวแก่ผู้แทนโดยชอบธรรมของตนนั้น อายุความไม่ครบบริบูรณ์ จนกว่าจะพ้นปีหนึ่งภายหลังบุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือจนกว่าได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมขึ้นใหม่ วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงสิทธิของบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถ อันจะว่ากล่าวแก่ผู้พิทักษ์ของตนด้วยโดยอนุโลม |
Section 184. (from Vol.79) | |
I. |
With regard to the rights of a minor, or a person of unsound mind whether adjudged incompetent or not against his legal representative, prescription is not completed until one year after he has acquired full capacity or has a new legal representative. |
II. |
The same rule shall apply mutatis mutandis as to rights of a quasi-incompetent person against his curator. |
|
第184条 | |
I. |
未成年者、あるいは裁判所から禁治産の宣告を受けたか否かを問わず、心神喪失の常況にある者が自己の法定代理人に対して有する請求権については、その未成年者あるいは心神喪失者が行為能力者となってから1年を経過するまでの間、あるいは後任の法定代理人が就職するまでの間は、消滅時効は完成しない。 |
II. |
[本条第1項の規定は、]準禁治産者が自己の保佐人に対して有する請求権について、これを準用する。 |
สิทธิเรียกร้องระหว่างสามีภริยา อายุความไม่ครบริบูรณ์จนกว่าจะขาดจากสามีภริยาแล้วปีหนึ่ง |
Section 185. (from Vol.79) |
As to claims between spouses prescription is not completed until one year after dissolution or marriage. |
|
第185条 | |
夫婦の一方が他の一方に対して有する請求権については、婚姻の解消の時から1年を経過するまでの間は、その消滅時効は完成しない。 |
อายุความสิทธิเรียกร้อง อันมีอยู่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลเมื่อเวลาตายนั้น ถ้าจะขาดลงภายในเวลาต่ำกว่าปีหนึ่งนับแต่วันตายไซร้ ท่านให้ขยายอายุความนั้นออกไปเป็นปีหนึ่งนับแต่วันตาย |
Section 186. (from Vol.79) |
When prescription of a claim existing in favour of a person or against him at the time of his death would have expired within one year after the date of the death, the period of prescription shall be extended to one year after death. |
|
第186条 | |
ある個人にとって、その死亡の時に利益をもたらし、あるいは不利益となる請求権については、死亡の日から[その請求権の消滅時効の完成までの期間が]1年に満たないときは、その消滅時効の期間を死亡の日から1年を経る時点まで延長する。 |
ถ้าในเวลาที่อายุความจะสุดสิ้นลงนั้น มีเหตุสุดวิสัยมากีดกันมิให้เจ้าหนี้สามารถทำให้อายุความสดุดหยุดลงได้ไซร้ ท่านว่าอายุความนั้นยังไม่ครบบริบูรณ์จนกว่าจะพ้นเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่อุปสรรคเช่นนั้นได้ศูนย์สิ้นไป |
Section 187. (from Vol.79) |
If at the time when the prescription would end, the creditor is prevented by force majeure from effecting an interruption, the prescription is not completed until thirty days after the time when such obstacle has ceased to exist. |
|
第187条 | |
[ある請求権の]消滅時効が完成しようとする時に当たり、不可抗力による障害のために、請求権者にとってその時効を中断させることが不可能なときは、その障害が終了した時から30日が経過するまでの間は、消滅時効は完成しない。 |
เมื่อกำหนดอายุความได้ล่วงพ้นไปแล้ว ฝ่ายลูกหนี้ชอบที่จะบอกปัดการชำระหนี้ได้ ถ้ามีการชำระหนี้อย่างใดๆ ไปตามสิทธิเรียกร้องอันขาดอายุความแล้ว เป็นราคามากน้อยเท่าใด ท่านว่าจะเรียกคืนหาได้ไม่ ถึงแม้ว่าการชำระหนี้นั้นจะได้ทำไปเพราะไม่รู้กำหนดอายุความก็เรียกคืนไม่ได้ วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการรับสภาพความผิดโดยสัญญาและการที่ลูกหนี้ประกันด้วย |
Section 188. (from Vol.79) | |
I. |
After the laps of the period of prescription the debtor is entitled to refuse performance. |
II. |
If any act of performance is done in satisfaction of a claim barred by prescription, the value of such performance may not be demanded back, even if the performance has been effected in ignorance of the prescription. |
III. |
The same rule applies to a contractual acknowledgement of liability and to the giving of security by the debtor. |
|
第188条 | |
I. |
[ある請求権の]消滅時効が完成した後は、その債務者は、その債務の履行を拒否することができる。 |
II. |
消滅時効が完成した[にも関わらず、その]請求権に従って何らかの債務の履行がなされたときは、[債務者は、]額の多少を問わず、その返還を求めることは許されない。たとえその履行が消滅時効の不知に因る場合であっても、返還請求は許されない。 |
III. |
[消滅時効完成後に、債務者が]書面によって債務を承認した場合、および担保を供した場合もまた、同様である。 |
เหตุที่สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ ย่อมไม่ห้ามผู้รับจับจำนอง ผู้รับจำนำ หรือผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สิน หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมะสิทธิเหนือทรัพย์สินอันตนได้ยึดถือไว้ ในการที่จะใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือยึดถือไว้นั้น แต่เมื่อใช้สิทธิอันนี้ ท่านห้ามมิให้เจ้าหนี้คิดเอาดอกเบี้ยที่ค้างกว่าห้าปีขึ้นไป |
Section 189. (from Vol.79) |
The barring of the claim by prescription does not prevent a mortgagee, a pledgee or a creditor who has preferential right on property detained by him, to enforce his right out of the mortgaged, pledged or detained property. But in exercising this right the creditor cannot obtain more than five years for arrears of interest. |
|
第189条 | |
たとえ債権の消滅時効が完成したとしても、そのことによって、抵当権者、質権者、留置権者、あるいは、既に差し押さえた[債務者の]財物に先取り特権を有する債権者が、その担保権を実行して抵当物、質物、あるいは既に差し押さえた財物から[債務の弁済を受けること]を妨げられることはない。但し、既に5年以上滞納している利息については、もはやその担保権を実行することが許されない。 |
เมื่อสิทธิเรียกร้องในส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยส่วนที่เป็นประธานนั้นก็ตกเป็นอันขาดอายุความตามก้นไปด้วย แม้ถึงว่าอายุความอันพึงใช้ฉะเพาะแก่สิทธิเรียกร้องส่วนอุปกรณ์อันนั้นจะยังไม่ครบบริบูรณ์ก็ตาม |
Section 190. (from Vol.79) |
With the principal claim the claims for accessory acts of performance dependent upon it are also barred by prescription, even if the particular prescription applying to the accessory claim is not yet complete. |
|
第190条 | |
ある請求権の主たる部分の消滅時効が完成したときは、当該請求権の消滅時効は、その主たる部分に依存する従たる部分の履行請求に関してもまた、たとえその部分に特に妥当する消滅時効が未完成であっても、同時に完成する。 |
อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น ผู้ใดหาอาจจะขยายออกหรือย่นเข้าได้ไม่ |
Section 191. (from Vol.79) |
The periods of prescription fixed by law cannot be extended or reduced. |
|
第191条 | |
法律によって定められた消滅時効は、何人もその期間を延長あるいは短縮することは許されない。 |
ประโยชน์แห่งอายุความนั้น จะอาจละเสียได้ต่อเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว แต่การที่ละเสียเช่นนี้ไม่ย่อมลบล้างสิทธิของบุคคลภายนอก อนึ่งการที่ลูกหนี้ชั้นต้นละเสียซึ่งอายุความนั้น ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของผู้ค้ำประกัน |
Section 192. (from Vol.79) | |
I. |
The benefit of prescription can be waived only after it has been completed, but such waiver does not prejudice the right of third persons. |
II. |
The waiver of prescription by the principal debtor does not prejudice the surety. |
|
第192条 | |
I. |
消滅時効の完成から得られる利益は、それが完成した後でなければ放棄できない。但し、その放棄によって第三者の権利が害されることはない。 |
II. |
なお、主たる債務者が消滅時効[の利益]を放棄しても、保証人の権利が害されることはない。 |
เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ท่านว่าจะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้ |
Section 193. (from Vol.79) |
When prescription has not been set up as a defence, the Court cannot dismiss the claim on the ground of prescription. |
|
第193条 | |
[請求権に基づく]訴えは、[当事者自身による]援用がない限り、[その]消滅時効を理由に棄却することができない。 |
* * * |