ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

– ฉบับปัจจุบัน –

บรรพ ๒หนี้
第二編債権債務関係

* มาตรา 194 - 353 ลักษณะ ๑บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
第一章総則
+ มาตรา 194 - 202 หมวด ๑วัตถุแห่งหนี้
第一節債権の目的
+ มาตรา 203 - 289 หมวด ๒ผลแห่งหนี้
第二節債権の効力
- มาตรา 203 - 225 ส่วนที่ ๑การไม่ชำระหนี้
第一款債務不履行
- มาตรา 226 - 232 ส่วนที่ ๒รับช่วงสิทธิ
第二款代位
- มาตรา 233 - 236 ส่วนที่ ๓การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
第三款債権者代位権
- มาตรา 237 - 240 ส่วนที่ ๔เพิกถอนการฉ้อฉล
第四款詐害行為取消権
- มาตรา 241 - 250 ส่วนที่ ๔สิทธิยึดหน่วง
第五款留置権
- มาตรา 251 - 289 ส่วนที่ ๕บุริมสิทธิ
第六款先取り特権
· มาตรา 253 - 258 ๑.บุริมสิทธิสามัญ
第一目一般の先取り特権
· มาตรา 259 - 276 ๒.บุริมสิทธิพิเศษ
第二目特別の先取り特権
มาตรา 259 - 272 (ก)บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์
(イ)動産の先取り特権
มาตรา 273 - 276 (ข)บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์
(ロ)不動産の先取り特権
· มาตรา 277 - 280 ๓.ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
第三目先取り特権の順位
· มาตรา 281 - 289 ๔.ผลแห่งบุริมสิทธิ
第四目先取り特権の効力
+ มาตรา 290 - 302 หมวด ๓ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
第三節多数当事者の債権および債務
+ มาตรา 303 - 313 หมวด ๔โอนสิทธิเรียกร้อง
第四節債権の譲渡
+ มาตรา 314 - 353 หมวด ๕ความระงับหนี้
第五節債権の消滅
- มาตรา 314 - 339 ส่วนที่ ๑การชำระหนี้
第一款弁済
- มาตรา 340 ส่วนที่ ๒ปลดหนี้
第二款免除
- มาตรา 341 - 348 ส่วนที่ ๓หักกลบลบหนี้
第三款相殺
- มาตรา 349 - 352 ส่วนที่ ๔แปลงหนี้ใหม่
第四款更改
- มาตรา 353 ส่วนที่ ๕หนี้เกลื่อนกลืนกัน
第五款混同

* มาตรา 354 - 394 ลักษณะ ๒สัญญา
第二章契約
+ มาตรา 354 - 368 หมวด ๑ก่อให้เกิดสัญญา
第一節契約の成立
+ มาตรา 369 - 376 หมวด ๒ผลแห่งสัญญา
第二節契約の効力
+ มาตรา 377 - 385 หมวด ๓มัดจำและกำหนดเบี้ยผรับ
第三節手付けおよび違約罰
+ มาตรา 386 - 394 หมวด ๔เลิกสัญญา
第四節契約の解除

* มาตรา 395 - 405 ลักษณะ ๓จัดการงานนอกสั่ง
第三章事務管理

* มาตรา 406 - 419 ลักษณะ ๔ลาภมิควรได้
第四章不当利得

* มาตรา 420 - 452 ลักษณะ ๕ละเมิด
第五章不法行為
+ มาตรา 420 - 437 หมวด ๑ความรับผิดเพื่อละเมิด
第一節不法行為責任
+ มาตรา 438 - 448 หมวด ๒ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
第二節不法行為による損害賠償
+ มาตรา 449 - 452 หมวด ๓นิรโทษกรรม
第三節免責


บรรพ ๒

หนี้

第二編

債権債務関係

ลักษณะ ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

第一章

総則

หมวด ๑

วัตถุแห่งหนี้

第一節

債権の目的

มาตรา ๑๙๔

ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้

第194条

債権者は、その債権に基づいて、債務者に債務の履行を請求することができる。その際、ある行為の不作為を以て債務の履行とし得ることもまた当然である。

มาตรา ๑๙๕

เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่พียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง

ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป

第195条

I.

債権債務関係における目的物を種類のみで指定した場合において、法律行為の性質によっても、また当事者の意思によってもその品質を定めることができないときは、債務者は、中等の品質を有する物を給付しなければならない。

II.

債務者が[第1項の規定に従って定めた]財物の給付に必要なあらゆる行為を完了し、または債権者の同意を得てその給付すべき物を指定したときは、その時点より以後、その物を当該債権債務関係の本来の目的物とする。

มาตรา ๑๙๖

ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้

การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน

第196条

I.

金銭債務の額が外国の通貨で表示されたときは、タイの通貨で弁済することができる。

II.

この[第1項の場合における]債務額の換算は、履行の時にその履行地に行われる為替相場に従う。

มาตรา ๑๙๗

ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะอันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น

第197条

金銭債務をある特定の種類の通貨で弁済するべき場合において、その種類の通貨が弁済期において既に通用力を失っているときは、その債務の弁済は、通貨の種類が特定されていなかった場合と同様とする。

มาตรา ๑๙๘

ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

第198条

債務の履行として規定された複数の給付のなかから、一つのみを選択して履行するべきときは、その選択権は、債務者に属する。但し、別段の合意がある場合にはその限りではない。

มาตรา ๑๙๙

การเลือกนั้นท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

การชำระหนี้ได้เลือกทำเป็นอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่าอย่างนั้นอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา

第199条

I.

この[第198条の]選択権は、相手方に対する意思表示によってこれを行使する。

II.

いずれか一つの給付が選択されてからは、初めからこれのみが[当該債権債務関係の]目的物であったと見なす。

มาตรา ๒๐๐

ถ้าจะต้องเลือกภายในระยะเวลาอันมีกำหนด และฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือก มิได้เลือกภายในระยะเวลานั้นไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกนั้นย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง

ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาให้เลือกไซร้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกอาจกำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น

第200条

I.

この[第199条における]選択権を一定の期間内に行使するべき場合において、選択権者がその期間内に選択をしないときは、その選択権は、相手方に移転する。

II.

選択権の行使に期間が定められていない場合において、[選択権者が選択する前に]債務の弁済期が到来したときは、選択権を有しない当事者は、事情に鑑みて相当と思われる期間を定めた上で、選択権者に催告することができる。

มาตรา ๒๐๑

ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเป็นผู้เลือก ท่านให้กระทำด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้

ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้

第201条

I.

第三者が選択をするべき場合には、その選択は、債務者に対する意思表示によってこれを行い、また債務者は、これを債権者に通知しなければならない。

II.

この[第1項の]第三者がその選択権を行使できないとき、または行使しようとしないときは、選択権は、債務者に移転する。

มาตรา ๒๐๒

ถ้าการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างและอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้นก็ดี หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่ง การจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ

第202条

債務の履行として規定された複数の給付のなかに初めから不能のもの、または後に至って不能となったものがあるときは、その債権債務関係は、履行可能な残余の給付のみに限定して存在する。但し、当該給付が選択権を有しない当事者の責めを負うべき事由によって不能となったときは、この限りではない。

หมวด ๒

ผลแห่งหนี้

第二節

債権の効力

ส่วนที่ ๑

การไม่ชำระหนี้

第一款

債務不履行

มาตรา ๒๐๓

ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน

ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้

第203条

I.

債務の履行のために期限が定められておらず、状況より推知することもできないときは、債権者は直ちに履行の請求をすることができ、債務者側からもまた[履行の請求を待たずに]直ちに債務を履行することができる。

II.

債務の履行のために確定期限が定められてあるが、[なお]疑問の余地ある場合には、期限到来前に債権者が履行の請求をすることは許されないが、債務者側から履行することは許されるものと推定される。

มาตรา ๒๐๔

ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้ อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

第204条

I.

弁済期の到来後に債権者が催告したにもかかわらず履行しないときは、債務者は、その催告により遅滞の責を負う。

II.

履行の期日が暦に従って確定されている場合において、その期日到来後も履行しないときは、債務者は、催告が無くとも遅滞の責めを負う。履行に先立って[その]予告を要する場合において、履行の期日がその予告の日より暦に従って算定できる場合もまた、同様である。

มาตรา ๒๐๕

ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่

第205条

債務者に責任のない事由によって債務の履行が滞っている限りは、債務者に遅滞の責めを負わせることは許されない。

มาตรา ๒๐๖

ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด

第206条

債権債務関係が不法行為を根拠として生じたときは、債務者は、その不法行為の時より遅滞の責めを負う。

มาตรา ๒๐๗

ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด

第207条

債務者より履行の提供があった場合において、債権者が法的根拠なくしてその受領を拒んだときは、債権者は、遅滞の責めを負う。

มาตรา ๒๐๘

การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง

แต่ถ้าเจ้าหนี้ได้แสดงแก่ลูกหนี้ จะไม่รับชำระหนี้ก็ดี หรือเพื่อที่จะชำระหนี้จำเป็นที่เจ้าหนี้จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ดี ลูกหนี้จะบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ว่า ได้เตรียมการที่จะชำระหนี้ไว้พร้อมเสร็จแล้วให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้นั้น เท่านี้ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ในกรณีเช่นนี้ท่านว่าคำบอกกล่าวของลูกหนี้นั้นก็เสมอกับคำขอปฏิบัติการชำระหนี้

第208条

I.

債務者は債権者に対して、如何にして履行すべきであるにせよ、その通りに現実に履行を提供しなければならない。

II.

債権者が、履行の提供があっても受領を拒むであろうことを予め債務者に告げていた場合、または履行のためには、債権者からの行為が必要な場合には、債務者は、履行の準備が全て整い、債権者の受領を待つばかりである旨を債権者に告知すれば足りる。このような場合には、債務者の告知は履行の提供と同様の効力を有する。

มาตรา ๒๐๙

ถ้าได้กำหนดเวลาไว้เป็นแน่นอนเพื่อให้เจ้าหนี้กระทำการอันใด ท่านว่าจะขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นจะต้องทำก็แต่เมื่อเจ้าหนี้ทำการอันนั้นภายในเวลากำหนด

第209条

債権者よりなされるべき行為のために確定期限が定められている場合には、債権者が遅滞なくその行為を行ったときに限り、[債務者より]履行の提供がなされなければならない。

มาตรา ๒๑๐

ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ส่วนของตนต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัตินั้นแล้วก็ดี หากไม่เสนอที่จะกระทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงต้องทำ เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด

第210条

債務者が債権者からの反対給付に対してのみ履行する義務を負う場合において、債権者がたとえ債務者から提供された履行を受領する準備を整えたとしても、反対給付をその義務に従って提供しないときは、債権者は、遅滞の責めを負う。

มาตรา ๒๑๑

ในเวลาที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้นก็ดี หรือในเวลาที่กำหนดไว้ให้เจ้าหนี้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๙ นั้นก็ดี ถ้าลูกหนี้มิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ยังหาผิดนัดไม่

第211条

履行提供の時点で、または第209条の場合において債権者のなすべき行為の期限に、債務者が[実際には]履行をなし得ない状態にある場合には、債権者は遅滞の責めを負わない。

มาตรา ๒๑๒

ถ้ามิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ก็ดี หรือถ้าลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ได้ก่อนเวลากำหนดก็ดี การที่เจ้าหนี้มีเหตุขัดข้องชั่วคราวไม่อาจรับชำระหนี้ที่เขาขอปฏิบัติแก่ตนได้นั้น หาทำให้เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ เว้นแต่ลูกหนี้จะได้บอกกล่าวการชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าโดยเวลาอันสมควร

第212条

債務の履行のために期限が定められていない場合、または債務者に確定期限以前に履行する権利がある場合には、たとえ債権者が提供された履行を一時的に受領できない状況にあっても、債権者がそのことにより遅滞の責めを負うことはない。但し、債務者が相当の期間をおいて履行を予告していた場合は、この限りではない。

มาตรา ๒๑๓

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

第213条

I.

債務者が任意に債務を履行しようとしないときは、債権者は、その強制履行を裁判所に請求することができる。但し、その債務の性質が強制履行を許さないときは、この限りではない。

II.

債務の性質が強制履行を許さない場合において、その債務が作為を目的とするときは、債権者は、債務者の費用で第三者に履行させることを、裁判所に請求するができる。但し、法律行為を目的とする債務については、裁判を以て債務者の意思表示に代えることができる。

III.

不作為を目的とする債務については、債権者は、債務者の費用で債務者がした行為[の結果]を除去し、且つ、将来のために適当な処分を行うことを裁判所に請求することができる。

IV.

前3項の規定は、損害賠償の請求を妨げない。

มาตรา ๒๑๔

ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๗๓๓ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย

*

มาตรานี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๗๘

第214条

債権者は、ただ第733条[抵当権の強制執行]の[制限]に反しない限りにおいてのみ、第三者より債務者に給付されるべきものを含めて、債務者に帰属する金銭その他の総ての財産から債務の弁済を受ける権利を有する。

*

仏暦2478年、民事商事法典改正法第4条により、本条を改正。

มาตรา ๒๑๕

เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้

第215条

債務者が債権債務関係の本来の目的に従った履行を行わなかったときは、債権者は、その損害の賠償を請求することができる。

มาตรา ๒๑๖

ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้

第216条

[債務者の]履行遅滞の結果、その履行が債権者にとってその意味を喪失してしまったときは、債権者は、履行の受領を拒否した上で、債務不履行による損害賠償を求めることができる。

มาตรา ๒๑๗

ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั้นเอง

第217条

履行遅滞中は、債務者は、その過失により生じるあらゆる損害について、その責任を負わなければならない。遅滞中に生じた偶発的な事故のために履行が不能となった場合も、また同様である。但し、たとえ債務者が遅滞なく履行していた場合にも生じたであろう損害は、この限りではない。

มาตรา ๒๑๘

ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น

ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นจะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้น แล้วและเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้

第218条

I.

債務の履行が、債務者の責めに帰すべき事由のために不能となったときは、債務者は、債権者が不履行のために被った如何なる損害も、これを賠償しなければならない。

II.

債務の履行がその一部に限って不能となった場合において、なおも可能な部分の履行が債権者にとってもはや意味を有しないときは、債権者は、その可能部分の履行の受領を拒否した上で、債務全体の不履行による損害の賠償を請求することができる。

มาตรา ๒๑๙

ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น

ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น

第219条

I.

債務の履行が、その債権債務関係の成立後に生じた、債務者に責めのない事由のために不能となったときは、債務者は、履行の義務を免除される。

II.

債権債務関係の成立後に、債務者が履行をなし得ない[主観的]状態に陥った場合もまた、[事後的に]履行を不能にする[客観的]事由と同様と見なす。

มาตรา ๒๒๐

ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตน กับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ในการชำระหนี้นั้นโดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๗๓ หาใช้บังคับแก่กรณีเช่นนี้ด้วยไม่

第220条

債務者は、その代理人、および債務の履行のために使用する者の[故意または過失の]責任についてもまた、自らのそれと同様の範囲でその責めを負わなければならない。この場合においては、第373条[免責条項の無効]の規定は、これを適用しない。

มาตรา ๒๒๑

หนี้เงินอันต้องเสียดอกเบี้ยนั้น ท่านว่าจะคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่เจ้าหนี้ผิดนัดหาได้ไม่

第221条

利息付きの金銭債務の場合において、債権者が遅滞に陥っている期間については、債務者は、その利息を支払うことを要しない。

มาตรา ๒๒๒

การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น

เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว

第222条

I.

損害賠償の請求とは即ち、通常の状態において、債務不履行の結果、当然に生ずる損害の賠償を請求することである。

II.

たとえ特別の事情から生じた損害であっても、当事者がその事情を予見していたとき、または、予見することができたはずのときは、債権者は、その賠償を請求することができる。

มาตรา ๒๒๓

ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้น เพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร

วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตราย แห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่ง บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๐ นั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

第223条

I.

債務の不履行によって損害を被った当事者側にも、その損害の発生に関して[故意または過失の]責任が認められるときは、その当事者に支払うべき損害賠償の範囲は、事情全体の総合判断、なかんずく、その損害が主にどちら側の責めにより、どの程度生じたかの判断によって、決せられる。

II.

被害を被った側の責任が、単に、通常では起こり得ない甚大な損害が生じる虞のあることを債務者が知らず、あるいは知り得なかったにもかかわらず、その危険を債務者に警告しなかったこと、または、被害の発生を抑止し、あるいは軽減しようとしなかったことに限定される場合であってもまた、前項と同様とする。この場合においては、第220条[代理人または履行補助者の故意または過失]の規定を準用する。

มาตรา ๒๒๔

หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น

ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

第224条

I.

金銭債務の場合において、履行遅滞の期間については、年率7分半の利息を支払うこととする。他の法的な根拠に基づいて、債権者がより高率の利息を請求する権利を有するときは、これに従う。

II.

[未払いの]利息について、重ねて遅延利息を請求することは、これを禁ずる。

III.

その他に[遅滞に起因する]損害がある場合に、それを立証することは妨げられない。

มาตรา ๒๒๕

ถ้าลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาวัตถุอันได้เสื่อมเสียไประหว่างผิดนัดก็ดี หรือวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดก็ดี ท่านเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็ได้ วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่ลูกหนี้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการที่ราคาวัตถุตกต่ำเพราะวัตถุนั้นเสื่อมเสียลงในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย

第225条

履行遅滞中に債務の目的物が滅失したため、または、遅滞中に生じた事由により目的物の引き渡しが不能となったために、債務者がその目的物の価額を賠償しなければならないときは、債権者は、目的物の価額評価の基準となった時点より、その賠償額について利息を請求することができる。遅滞中に目的物が劣化してその価額が低減したために、その損害を賠償しなければならない場合もまた、同様である。

ส่วนที่ ๒

รับช่วงสิทธิ

第二款

代位

มาตรา ๒๒๖

บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง

ช่วงทรัพย์ ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน

第226条

I.

債権者の地位に代位する者は当然に、担保を含めて、その債権者が当該債権債務関係に基づいて有する全ての請求権を、自己の名において行使することができる。

II.

物上代位とは即ち、ある財物が他の財物を代替し、後者と同一の法的価値を担うに至ることをいう。

มาตรา ๒๒๗

เมื่อเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเต็มราคาทรัพย์หรือสิทธิซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นแล้ว ท่านว่าลูกหนี้ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ อันเกี่ยวกับทรัพย์หรือสิทธินั้นๆ ด้วยอำนาจกฎหมาย

第227条

債権者が、損害賠償として、その債権の目的である物あるいは権利の価額の全部の支払いを受けたときは、債務者は、その物あるいは権利について当然に債権者に代位する。

มาตรา ๒๒๘

ถ้าพฤติการณ์ซึ่งทำให้การชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้ลูกหนี้ได้มาซึ่งของแทนก็ดี หรือได้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อทรัพย์อันจะพึงได้แก่ตนนั้นก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ส่งมอบของแทนที่ได้รับไว้ หรือจะเข้าเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเสียเองก็ได้

ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ชำระหนี้และถ้าใช้สิทธินั้นดังได้ระบุไว้ในวรรคต้นไซร้ ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่เจ้าหนี้นั้นย่อมลดจำนวนลงเพียงเสมอราคาแห่งของแทนซึ่งลูกหนี้ได้รับไว้หรือเสมอจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ลูกหนี้จะเรียกร้องได้นั้น

第228条

I.

ある事由のために債務の履行が不能となった結果、債務者が代替物を取得し、または[被った]財産的損害に対して当然に受けるべき補償を請求する権利を取得したときは、債権者は、[債務者に対して]受け取った代替物の引き渡しを請求し、または[債務者に代位して直接、補償義務者に対して]補償請求権を自ら行使することができる。

II.

債権者が債務不履行を理由に損害賠償を請求することができる場合において、本条第1項の権利を行使したときは、その賠償額は、債務者が受け取った代替物の価額分、または債務者が請求することのできる補償額分だけ減額される。

มาตรา ๒๒๙

การรับช่วงสิทธิย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมาย และย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่บุคคลดังกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑)

บุคคลซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่เอง และมาใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกคนหนึ่ง ผู้มีสิทธิจะได้รับใช้หนี้ก่อนตน เพราะเขามีบุริมสิทธิ หรือมีสิทธิจำนำจำนอง

(๒)

บุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ใด และเอาเงินราคาค่าซื้อใช้ให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์นั้นเสร็จไป

(๓)

บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่น หรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้องใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น และเข้าใช้หนี้นั้น

第229条

次に掲げる者は、法の規定により当然に[債権者に]代位する。

(1)

債権者の一人が、先取り特権あるいは抵当権に基づいて自分より先順位にある他の債権者に、[債務者に代わって]弁済をした場合の、その弁済者。

(2)

不動産の買い主が、その不動産上に抵当権を有する債権者に売買代金を支払った場合の、その買い主。

(3)

他人と連帯して、あるいは他人に代わって履行の責任を負うがために、その債務履行に利害を有する者が、実際に[債権者に]弁済した場合の、その弁済者。

มาตรา ๒๓๐

ถ้าในการที่เจ้าหนี้นำบังคับยึดทรัพย์อันหนึ่งอันใดของลูกหนี้นั้น บุคคลผู้ใดจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในทรัพย์อันนั้น เพราะการบังคับคดียึดทรัพย์ไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นมีสิทธิจะเข้าใช้หนี้เสียแทนได้ อนึ่ง ผู้ครองทรัพย์อันหนึ่งอันใด ถ้าจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิครองทรัพย์นั้นไป เพราะการบังคับยึดทรัพย์ ก็ย่อมมีสิทธิจะทำได้เช่นเดียวกับที่ว่ามานั้น

ถ้าบุคคลภายนอกผู้ใดมาใช้หนี้แทนจนเป็นที่พอใจของเจ้าหนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ แต่สิทธิเรียกร้องอันนี้บังคับให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่เจ้าหนี้หาได้ไม่

第230条

I.

債権者が、債務者の所有に属する財物に対して強制執行を申し立てた場合において、強制執行によって当該財物の上に存する権利を失う虞のある者は、[債務者に代わって]その債務を弁済することができる。強制執行によって当該財物の占有を失う虞のある占有権者もまた、同様である。

II.

第三者が[債務者に代わって]債務を弁済したときは、その第三者は、当該債権に関して当然に債権者に代位する。但し[その者は]、当該債権の行使によって債権者に不利益を与えてはならない。

มาตรา ๒๓๑

ถ้าทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรืออยู่ในบังคับบุริมสิทธิประการอื่นนั้น เป็นทรัพย์อันได้เอาประกันภัยไว้ไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิอย่างอื่นนั้นย่อมครอบไปถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้รับประกันภัยด้วย

ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ หรือควรจะได้รู้ว่ามีจำนองหรือบุริมสิทธิอย่างอื่นไซร้ ท่านยังมิให้ผู้รับประกันภัยใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย จนกว่าจะได้บอกกล่าวเจตนาเช่นนั้นไปยังผู้รับจำนอง หรือเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิคนอื่นแล้ว และมิได้รับคำคัดค้านการที่จะใช้เงินนั้นมาภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันบอกกล่าว แต่สิทธิอย่างใดๆ ที่ได้ไปจดทะเบียน ณ หอทะเบียนที่ดินนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นอันรู้ถึงผู้รับประกันภัย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการจำนองสังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้นั้นด้วย

ในกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ผู้รับประกันภัยจะใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงก็ได้ เว้นแต่ตนจะได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าทรัพย์นั้นตกอยู่ในบังคับจำนำ หรือบุริมสิทธิอย่างอื่น

ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ถ้าทรัพย์สินอันได้เอาประกันภัยไว้นั้นได้คืนมา หรือได้จัดของแทนให้

วิธีเดียวกันนี้ท่านให้อนุโลมใช้บังคับแก่กรณีบังคับซื้อ กับทั้งกรณีที่ต้องใช้ค่าเสียหายอันควรจะได้แก่เจ้าของทรัพย์สิน เพราะเหตุทรัพย์สินทำลายหรือบุบสลายนั้นด้วย

第231条

I.

抵当権、質権、あるいはその他の先取り特権の成立している財物を、損害保険契約の目的としたときは、その抵当権、質権、あるいはその他の先取り特権は、保険者に対する保険金請求権に及ぶ。

II.

損害保険契約の目的が不動産である場合において、その不動産の上に抵当権あるいはその他の先取り特権の成立していることを、保険者が知っているとき、または知り得たであろうときは、保険者が保険契約者に保険金を支払うことは、抵当権者あるいは先取り特権者に対して予めその支払いの意図を通知し、その後一ヶ月の期間内に抵当権者あるいは先取り特権者から何らの異義申し立てもないことを確認した後でなければ、これをしてはならない。[この場合において、]登記所において登記された権利に関しては、保険者は、常にこれを知っていたものと見なす。なお、法律による許可の下に抵当権の目的物とされた動産を損害保険契約の目的とする場合もまた、同様である。

III.

損害保険契約の目的が動産であるときは、保険者は、保険金を保険契約者に直接支払うことができる。但し、当該動産上に質権、あるいはその他の先取り特権が成立していることを知っているとき、または知り得たであろうときは、その限りではない。

IV.

損害保険契約の目的たる財物が[略取あるいは毀損の後に、その所有者に]返還され、あるいは代替された場合には、保険者は、[当該財物上に担保権を有する]債権者に対して、何らの履行責任も負わない。

V.

本条の規定は、強制収用[における補償金の支払い]、ならびに、財物の滅失あるいは損傷に由る損害賠償の支払いに、これを準用する。

มาตรา ๒๓๒

ถ้าตามความในมาตราก่อนนี้เป็นอันว่าจะเอาเงินจำนวนหนึ่งให้แทนทรัพย์สินที่ทำลายหรือบุบสลายไซร้ เงินจำนวนนี้ท่านยังมิให้ส่งมอบแก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ หรือเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิคนอื่นก่อนที่หนี้ซึ่งได้เอาทรัพย์นี้เป็นประกันไว้นั้นจะถึงกำหนด และถ้าคู่กรณีไม่สามารถจะตกลงกับลูกหนี้ได้ไซร้ ท่านว่าต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่ลูกหนี้จะหาประกันให้ไว้ตามสมควร

第232条

第231条の場合において、財物の滅失あるいは損傷に対する賠償として一定額の金銭が支払われるべきときは、この金銭を抵当権者、質権者、あるいはその他の先取り特権者に支払うことは、当該債務が弁済期に至らない限り、これをしてはならない。[この場合において、]当事者[=賠償義務者と担保権者]および債務者との間に[賠償金の支払いに関して]協議が整わなったときは、関係する各人は、共同の利益のために賠償金を供託所に供託することを請求することができる。但し、債務者が相当の担保を供したときは、その限りではない。

ส่วนที่ ๓

การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้

第三款

債権者代位権

มาตรา ๒๓๓

ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้

第233条

債務者が自らの有する債権の行使を拒絶し、あるいは怠っているがために、債権者の利益が害される虞があるときは、債権者は、債務者の債権債務関係に対する自らの利益を保全するために、債務者に代わり、自己の名において債務者の債権を行使することができる。但し、債務者の一身に専属する事柄に関しては、この限りではない。

มาตรา ๒๓๔

เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย

第234条

債権者が[第233条に基づいて]債務者の債権を代位行使する場合には、当該債務者の召喚を裁判所に請求しなければならない。

มาตรา ๒๓๕

เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเงินเต็มจำนวนที่ยังค้างชำระแก่ลูกหนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ค้างชำระแก่ตนก็ได้ ถ้าจำเลยใช้เงินเพียงเท่าจำนวนที่ลูกหนี้เดิมค้างชำระแก่เจ้าหนี้นั้นคดีก็เป็นเสร็จกันไป แต่ถ้าลูกหนี้เดิมได้เข้าชื่อเป็นโจทก์ด้วย ลูกหนี้เดิมจะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาต่อไปในส่วนจำนวนเงินที่ยังเหลือติดค้างอยู่ก็ได้

แต่อย่างไรก็ดี ท่านมิให้เจ้าหนี้ได้รับมากไปกว่าจำนวนที่ค้างชำระแก่ตนนั้นเลย

第235条

I.

債権者が[第233条に基づいて]債務者の債権を代位行使する場合には、当該債務者が債権者に負う債務額の如何に関わらず、[第三債務者が]債務者に負う債務額の総額に関して、その給付を請求することができる。[この場合において]被告[=第三債務者]が、債務者が債権者に負う債務額に限り、その給付を承諾したときは、その給付により[債権者および債務者間の]事案は終了する。但し、債務者自身が[第三債務者に対する]訴訟に参加している場合には、第三債務者の債務残額に関して訴訟審理を継続するよう、裁判所に請求することができる。

II.

債権者は、如何なる場合にいおても、自らの債権額以上を受領することは許されない。

มาตรา ๒๓๖

จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆ ท่านว่าจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น เว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้ว

第236条

被告[=第235条における第三債務者]は、債務者に対して有する抗弁権を、債権者に対しても行使することができる。但し、[第三債務者に対する]訴えの提起以後に生じた事情に基づく抗弁権は、その限りではない。

ส่วนที่ ๔

เพิกถอนการฉ้อฉล

第四款

詐害行為取消権

มาตรา ๒๓๗

เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริง อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน

第237条

I.

債権者は、債務者が債権者の利益を害することを知りながら行った法律行為の取り消しを裁判所に請求することができる。但し、その行為によって利益を得た者が、その行為の時点において債権者を害するべき事実を知らなかったことが判明したときは、その限りではない。[この場合において]当該行為が贈与であるときは、債務者自身が[詐害の事実を]知ってさえいれば、[債権者の詐害行為取り消し]請求権を基づけるに足る。

II.

本条第1項の規定は、財産権を目的としない法律行為については、これを適用しない。

มาตรา ๒๓๘

การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอก อันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน

อนึ่ง ความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา

第238条

I.

第237条に基づく法律行為の取り消しによって、その訴えの提起以前に第三者が善意で取得した権利を害することはできない。

II.

本条第1項の規定は、[債務者から第三者に]贈与された権利については、これを適用しない。

มาตรา ๒๓๙

การเพิกถอนนั้นย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้หมดทุกคน

第239条

法律行為の[第237条に基づく]取り消しは、すべての債権者の利益のためにその効力を生ずる。

มาตรา ๒๔๐

การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น

第240条

この[第237条の規定による法律行為の]取り消し請求権は、債権者が取り消しの原因を知った時から1年を経過したときは、もはやこれを行使することができない。行為の時から10年を経過したときも、同様とする。

ส่วนที่ ๕

สิทธิยึดหน่วง

第五款

留置権

มาตรา ๒๔๑

ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมาแต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย

第241条

I.

他人の財物の占有者は、その物に関して、自己に利益をもたらすべき債権を有するときは、その債権の弁済を受けるまで、その物を留置することができる。但し、その債権が未だに弁済期にないときは、その限りではない。

II.

本条第1項の規定は、その占有が違法な行為によって始まった場合には、これを適用しない。

มาตรา ๒๔๒

สิทธิยึดหน่วงอันใด ถ้าไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ก็ดี ไม่สมกับคำสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อน หรือให้ในเวลาที่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นก็ดี หรือเป็นการขัดกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ดี สิทธิยึดหน่วงเช่นนั้นท่านให้ถือว่าหามีไม่เลย

第242条

この[第241条に基づく債権者の]留置権は、それが当該債権債務関係において債権者の負担した義務と齟齬するとき、債務者が当該財物の引き渡しに先立ち、あるいはそれと同時に債権者に与えた指示に反するとき、または公共の秩序に反するときは、これを成立しないものとする。

มาตรา ๒๔๓

ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะยึดหน่วงทรัพย์สินไว้ได้แม้ทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดเรียกร้อง ถ้าการที่ลูกหนี้ไม่สามารถใช้หนี้นั้นได้เกิดเป็นขึ้น หรือรู้ถึงเจ้าหนี้ต่อภายหลังเวลาที่ได้ส่งมอบทรัพย์สินไซร้ ถึงแม้ว่าจะไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ไว้เดิม หรือไม่สมกับคำสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก็ดี เจ้าหนี้ก็อาจจะใช้สิทธิยึดหน่วงได้

第243条

債務者がその支払い不能のために[自らの財物を占有する]債権者に対して債務の履行をすることができなくなったときは、たとえ弁済期の到来以前であっても、債権者は[第241条に基づく]留置権を有する。また、留置権が当該債権債務関係における債権者の義務と齟齬する場合、あるいは債務者の指示に反する場合であっても、債務者が当該財物の引き渡し以後に支払い不能に陥ったとき、または債権者がその財物の受領以後に債務者の支払い不能の事実を知ったときは、債権者は[第241条に基づく]留置権を行使することができる。

มาตรา ๒๔๔

ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิของตนแก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดหน่วงไว้นั้นจนกว่าจะชำระหนี้สิ้นเชิงก็ได้

第244条

留置権者は、[債務者が]債務の全部を弁済するまで、留置物の全部についてその権利を行使することができる。

มาตรา ๒๔๕

ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะเก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ และจัดสรรเอาไว้เพื่อการชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คนอื่นก็ได้

ดอกผลเช่นว่านี้จะต้องจัดสรรเอาชำระดอกเบี้ยแห่งหนี้นั้นก่อน ถ้ายังมีเหลือจึงให้จัดสรรใช้ต้นเงิน

第245条

I.

留置権者は、留置物から生じる果実を収取し、他の債権者に先立って、これを自己の債権の弁済に充当することができる。

II.

収取した果実は、まず債権の利息に充当し、なお残余がある場合にはそれを元本に充当しなければならない。

มาตรา ๒๔๖

ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจำต้องจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้นั้นตามสมควร เช่นจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะเช่นนั้น

อนึ่ง ทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้น ถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหาอาจจะใช้สอยหรือให้เช่า หรือเอาไปทำเป็นหลักประกันได้ไม่ แต่ความที่กล่าวนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับไปถึงการใช้สอยเช่นที่จำเป็นเพื่อจะรักษาทรัพย์สินนั้นเอง

ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติใดที่กล่าวมานี้ ท่านว่าลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธินั้นเสียก็ได้

第246条

I.

留置権者は、同種の立場にある者に[通常]期待可能な注意義務を順守して、留置物を管理しなければならない。

II.

留置権者は、債務者の承諾を得なければ、留置物を使用し、賃貸し、または担保に供することができない。但し、その物の保存に必要な使用をすることは、その限りではない。

III.

留置権者が本条第1項あるいは第2項の規定に違反したときは、債務者は、留置権の消滅を請求することができる。

มาตรา ๒๔๗

ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงต้องเสียค่าใช้จ่ายไปตามที่จำเป็นเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันตนยึดหน่วงไว้นั้นเพียงใด จะเรียกให้เจ้าทรัพย์ชดใช้ให้ก็ได้

第247条

留置権者は、留置物について必要費を支出したときは、その物の所有者に費用の償還をさせることができる。

มาตรา ๒๔๘

ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๙๓/๒๗* การใช้สิทธิยึดหน่วงหาทำให้อายุความแห่งนี้สะดุดหยุดลงไม่

*

ได้ถูกแก้ไขใหม่โดยมาตรา ๑๕ แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ ๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕)

第248条

留置権を行使しても、それによって債権の消滅時効の進行が中断することはない。但し、第193条の27*の規定の適用を妨げない。

*

仏暦2535年、民事商事法典改正第一編施行法第15条により、条文数を改正。

มาตรา ๒๔๙

ลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธิยึดหน่วงด้วยหาประกันให้ไว้ตามสมควรก็ได้

第249条

債務者は、相当の担保を供して、留置権の消滅を請求することができる。

มาตรา ๒๕๐

การครองทรัพย์สินสูญสิ้นไป สิทธิยึดหน่วงก็เป็นอันระงับสิ้นไปด้วย แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ทรัพย์สินอันยึดหน่วงไว้นั้นได้ให้เช่าไปหรือจำนำไว้ด้วยความยินยอมของลูกหนี้

第250条

留置権は、[留置権者が]留置物の占有を失うことによって、消滅する。但し、債務者の同意を得て留置物を賃貸し、または質入れしたときは、この限りではない。

ส่วนที่ ๖

บุริมสิทธิ

第六款

先取り特権

มาตรา ๒๕๑

ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตน จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น

第251条

先取り特権者は、この法典その他の法律の規定に従い、その債務者の財産について、他の債権者に先立って自己の債権の弁済を受ける権利を有する。

มาตรา ๒๕๒

บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๔๔ นั้น ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงบุริมสิทธิด้วยตามแต่กรณี

第252条

第244条の規定は、これを先取り特権に準用する。

๑.

บุริมสิทธิสามัญ

第一目

一般の先取り特権

มาตรา ๒๕๓

ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใด ดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ

(๑)

ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน

(๒)

ค่าปลงศพ

(๓)

ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง

(๔)

ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน

*

มาตรานี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๑

第253条

I.

次に掲げる原因による債権を有する者は、債務者の総財産について[一般の]先取り特権を有する。

(1)

共益の費用

(2)

葬式の費用

(3)

国税、および使用者である債務者のために労務に従事した労働者の報酬

(4)

日用消費財の費用

*

仏暦2541年、民事商事法典改正法(第13号)第3条により、本条を改正。

มาตรา ๒๕๔

บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันนั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายอันได้เสียไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคนร่วมกัน เกี่ยวด้วยการรักษา การชำระบัญชี หรือการเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้

ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นมิได้เสียไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคนไซร้ บุริมสิทธิย่อมจะใช้ได้แต่เฉพาะต่อเจ้าหนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการนั้น

第254条

I.

共益の費用の先取り特権は、債務者の財産の保存、清算または配当に当たり、各債権者の共同の利益のために支出された費用について存在する。

II.

本条第1項の費用が[実際には]すべての債権者に有益でなかったときは、[当該費用についての]先取り特権は、その費用によって利益を受けた債権者に対してのみ存在する。

มาตรา ๒๕๕

บุริมสิทธิในมูลค่าปลงศพนั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายในการปลงศพตามควรแก่ฐานานุรูปของลูกหนี้

第255条

葬式の費用の先取り特権は、債務者の、その身分に応じて行った葬式の費用について存在する。

มาตรา ๒๕๖

บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดิน ทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง

第256条

国税の先取り特権は、今年および前年の地租、財産税およびその他の国税のうち、未納分について存在する。

มาตรา ๒๕๗

บุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น ให้ใช้สำหรับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่ง

*

มาตรานี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๑

第257条

労働報酬の先取り特権は、過去4か月に履行された、労働日ならびに休日における労働と時間外労働に対する報酬、および同期間に成立した償還請求権および特別補償請求権、ならびに就労に基づくその他の報酬請求権について存在する。但しその総額は、労働者各人につき10万バーツを越えてはならない。

*

仏暦2541年、民事商事法典改正法(第13号)第4条により、本条を改正。

มาตรา ๒๕๘

บุริมสิทธิในมูลค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันนั้น ใช้สำหรับเอาค่าเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งยังค้างชำระอยู่นับถอยหลังขึ้นไปหกเดือน เช่น ค่าอาหาร เครื่องดื่ม โคมไฟ ฟืน ถ่าน อันจำเป็นเพื่อการทรงชีพของลูกหนี้และบุคคลในสกุลซึ่งอยู่กับลูกหนี้และซึ่งลูกหนี้จำต้องอุปการะ กับทั้งคนใช้ของลูกหนี้ด้วย

第258条

日用消費財費の先取り特権は、過去6か月間における債務者自身、その扶養するべき同居親族、およびその家事使用人の生活に必要な飲食品、電気および燃料などの日用消費財の代価のうち、未払分について存在する。

๒.

บุริมสิทธิพิเศษ

第二目

特別の先取り特権

(ก)

บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์

(イ)

動産の先取り特権

มาตรา ๒๕๙

ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ

(๑)

เช่าอสังหาริมทรัพย์

(๒)

พักอาศัยในโรงแรม

(๓)

รับขนคนโดยสาร หรือของ

(๔)

รักษาสังหาริมทรัพย์

(๕)

ซื้อขายสังหาริมทรัพย์

(๖)

ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย

(๗)

ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม

第259条

次に掲げる原因に基づく債権により利益を受ける者は、債務者の特定の動産について先取り特権を有する。

(1)

不動産の賃貸借

(2)

旅館の宿泊

(3)

旅客または荷物の運輸

(4)

動産の保存

(5)

動産の売買

(6)

種苗または肥料の代価

(7)

農業または工業の労務

มาตรา ๒๖๐

บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และหนี้อย่างอื่นของผู้เช่า อันเกิดจากความเกี่ยวพันในเรื่องเช่า และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าซึ่งอยู่ในหรือบนอสังหาริมทรัพย์นั้น

第260条

不動産の賃貸の先取り特権は、その不動産の賃料その他の賃貸借関係から生じた債務に関し、当該不動産の内部あるいはその上に置かれた賃借人の動産について存在する。

มาตรา ๒๖๑

บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าที่ดินนั้น มีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายอันผู้เช่าได้นำเข้ามาไว้บนที่ดินที่ให้เช่า หรือนำเข้ามาไว้ในเรือนโรงอันใช้ประกอบกับที่ดินนั้น และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์เช่นสำหรับที่ใช้ในที่ดินนั้น กับทั้งเหนือดอกผลอันเกิดจากที่ดินซึ่งอยู่ในครอบครองของผู้เช่านั้นด้วย

บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าเรือนโรงย่อมมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้เช่านำเข้ามาไว้ในเรือนโรงนั้นด้วย

第261条

I.

土地の賃貸人の先取り特権は、賃借人がその土地に、またはその土地とともに利用に供された建物に持ち込んだ動産、その土地上で利用するために供された動産、および賃借人が占有するその土地の果実について存在する。

II.

建物の賃貸人の先取り特権は、賃借人がその建物に持ち込んだ動産について存在する。

มาตรา ๒๖๒

ถ้าการเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้โอนไปก็ดี หรือได้ให้เช่าช่วงก็ดี บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าเดิมย่อมครอบไปถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้รับโอนหรือผู้เช่าช่วงได้นำเข้ามาไว้ในทรัพย์สินนั้นด้วย ความที่กล่าวนี้ท่านให้ใช้ได้ตลอดถึงเงินอันผู้โอนหรือผู้ให้เช่าช่วงจะพึงได้รับจากผู้รับโอนหรือผู้เช่าช่วงนั้นด้วย

第262条

不動産の賃借権が譲渡され、または転貸されたときは、賃貸人の先取り特権は、譲受人または転借人が当該不動産に持ち込んだ動産にも及ぶ。譲渡人または転貸人が譲受人または転借人から受けるべき金銭についても、同様とする。

มาตรา ๒๖๓

ในกรณีที่ผู้เช่าต้องชำระบัญชีเฉลี่ยทรัพย์สินทั่วไปนั้น บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าย่อมมีอยู่แต่เฉพาะสำหรับเอาใช้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นเท่าที่มีในระยะกำหนดส่งค่าเช่าเพียงสามระยะ คือปัจจุบันระยะหนึ่ง ก่อนนั้นขึ้นไประยะหนึ่ง และต่อไปภายหน้าอีกระยะหนึ่งเท่านั้น และใช้สำหรับเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นในระยะกำหนดส่งค่าเช่าปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกระยะหนึ่งด้วย

第263条

賃借人の財産のすべてを清算する場合には、賃貸人の先取り特権は、前期、当期および次期の3期分の賃料その他の債務、ならびに前期および当期に生じた損害の賠償請求権のためにのみ存在する。

มาตรา ๒๖๔

ในการเรียกร้องของผู้ให้เช่า ถ้าผู้ให้เช่าได้รับเงินประกันไว้ ผู้ให้เช่าย่อมมีบุริมสิทธิแต่เพียงในส่วนที่ไม่มีเงินประกัน

第264条

賃貸人が敷金を受け取っているときは、賃貸人はその請求権のうち、敷金で弁済を受けない部分のためにのみ先取り特権を有する。

มาตรา ๒๖๕

บุริมสิทธิในมูลพักอาศัยในโรงแรมนั้น ใช้สำหรับเอาเงินบรรดาที่ค้างชำระแก่เจ้าสำนักเพื่อการพักอาศัยและการอื่นๆ อันได้จัดให้สำเร็จความปรารถนาแก่คนเดินทางหรือแขกอาศัย รวมทั้งการชดใช้เงินทั้งหลายที่ได้ออกแทนไป และมีอยู่เหนือเครื่องเดินทาง หรือทรัพย์สินอย่างอื่นของคนเดินทาง หรือแขกอาศัยอันเอาไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้น

第265条

旅館の宿泊の先取り特権は、旅客あるいは宿泊客が負担すべき宿泊料、客の希望により供されたサービスの費用などその他の料金、および立て替え代金に関し、その旅館、ホテルあるいはそれに類似の施設に持ち込まれた客の手荷物およびその他の財物について存在する。

มาตรา ๒๖๖

ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าสำนักโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้น จะใช้บุริมสิทธิของตนบังคับทำนองเดียวกับผู้รับจำนำก็ได้ บทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับจำนำนั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

第266条

不動産の賃貸主、および旅館、ホテルあるいはそれに類似の施設の営業主は、質権者と同様の方法によってその先取り特権を行使することができる。[この場合において、]質権に関する本法典の全ての規定を準用する。

มาตรา ๒๖๗

บุริมสิทธิในมูลรับขนนั้น ใช้สำหรับเอาค่าระวางพาหนะในการรับขนคนโดยสารหรือของ กับทั้งค่าใช้จ่ายอันเป็นอุปกรณ์ และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือของและเครื่องเดินทางทั้งหมดอันอยู่ในมือของผู้ขนส่ง

第267条

運輸の先取り特権は、旅客または荷物の運送賃、および付随的な費用に関し、運送人の占有する全ての積み荷および手荷物について存在する。

มาตรา ๒๖๘

ในกรณีดังได้ปรารภไว้ในความแปดมาตราก่อนนี้นั้น ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ก็ดี เจ้าสำนักโรงแรมก็ดี หรือผู้ขนส่งก็ดี จะใช้บุริมสิทธิของตนเหนือสังหาริมทรัพย์อันเป็นของบุคคลภายนอกก็ได้ เว้นแต่ตนจะได้รู้ในเวลาอันควรรู้ได้ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของบุคคลภายนอก

ถ้าสังหาริมทรัพย์นั้นถูกลักหรือสูญหาย ท่านให้บังคับตามบทกฎหมายว่าด้วยการแสวงคืนครองทรัพย์

第268条

I.

前8条[=第260条から第267条まで]の事案において、不動産の賃貸主、ホテルなどの営業主、あるいは運送人は、[本来は]第三者の所有に係る動産に対しても、その先取り特権を行使することができる。但し、先取り特権者が、然るべき時点において、その動産が第三者の所有に係ることを知っていたときは、その限りではない。

II.

この[本条第1項における]動産が盗品または遺失物である場合には、占有回収の訴えに関する規定を適用する。

มาตรา ๒๖๙

บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสังหาริมทรัพย์ และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์อันนั้น

อนึ่ง บุริมสิทธินี้ยังใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอันได้เสียไปเพื่อที่จะสงวนสิทธิ หรือรับสภาพสิทธิ หรือบังคับสิทธิ อันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์นั้นอีกด้วย

第269条

I.

動産の保存の先取り特権は、動産の保存のために要した費用に関し、その動産について存在する。

II.

この[本条第1項における]先取り特権は、動産に関する権利の保存、追認、あるいは実行のために要した費用に関してもまた、存在する。

มาตรา ๒๗๐

บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาราคาซื้อขายและดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์อันนั้น

第270条

動産売買の先取り特権は、動産の売買代金およびその利息に関し、その動産について存在する。

มาตรา ๒๗๑

บุริมสิทธิในมูลค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ยนั้น ใช้สำหรับเอาราคาค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย และดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนือดอกผลอันเกิดงอกในที่ดินเพราะใช้สิ่งเหล่านั้นภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ใช้

第271条

種苗肥料の代価の先取り特権は、種苗または肥料の代価およびその利息に関し、その種苗または肥料を用いた後1年以内に、それを用いた土地から生じた果実について存在する。

มาตรา ๒๗๒

บุริมสิทธิในมูลค่าแรงงานเพื่อกสิกรรมและอุตสาหกรรมนั้น ในส่วนบุคคลที่ได้ทำการงานกสิกรรม ใช้สำหรับเอาค่าจ้างนับถอยหลังขึ้นไปปีหนึ่ง และในส่วนบุคคลที่ได้ทำการงานอุตสาหกรรม ใช้สำหรับเอาค่าจ้างนับถอยหลังขึ้นไปสามเดือน และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือดอกผลหรือสิ่งของที่ประดิษฐ์ขึ้นอันเกิดแต่แรงงานของบุคคลนั้นๆ

第272条

農工業労賃の先取り特権は、農業の労役者については最後の1年間の賃金に関し、工業の労役者については最後の3か月間の賃金に関して、その労役によって得られた果実あるいは製作物の上に存在する。

(ข)

บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์

(ロ)

不動産の先取り特権

มาตรา ๒๗๓

ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ

(๑)

รักษาอสังหาริมทรัพย์

(๒)

จ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์

(๓)

ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

第273条

次に掲げる原因に基づく債権債務関係において利益を受ける立場にある者は、債務者の特定の不動産について先取り特権を有する。

(1)

不動産の保存

(2)

不動産上における工事請け負い

(3)

不動産の売買

มาตรา ๒๗๔

บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาอสังหาริมทรัพย์ และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น

อนึ่ง บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๖๙ วรรคสองนั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ด้วย

第274条

I.

不動産の保存の先取り特権は、不動産の保存のために要した費用に関し、その不動産について存在する。

II.

第269条第2項は、本条第1項の場合にこれを準用する。

มาตรา ๒๗๕

บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาสินจ้าง ค่าทำของเป็นการงานอันผู้ก่อสร้าง สถาปนิก หรือผู้รับจ้างได้ทำบนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น

อนึ่ง บุริมสิทธินี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่ออสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เพราะการที่ได้ทำขึ้นนั้น และมีเพียงเหนือราคาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

第275条

I.

不動産上における工事請け負いの先取り特権は、施行業者、建築技師、あるいは請負人がその不動産上で行った作業の報酬および費用に関し、その不動産上に存在する。

II.

この[本条第1項における]先取り特権は、行われた作業によって不動産の価格の増価額が現存する場合に限り、その増価額についてのみ存在する。

มาตรา ๒๗๖

บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ใช้สำหรับเอาราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น

第276条

不動産の売買の先取特り権は、不動産の代価及びその利息に関し、その不動産について存在する。

๓.

ลำดับแห่งบุริมสิทธิ

第三目

先取り特権の順位

มาตรา ๒๗๗

เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน ท่านให้ถือว่าบุริมสิทธิทั้งหลายนั้นมีลำดับที่จะให้ผลก่อนหลัง ดังที่ได้เรียงลำดับไว้ในมาตรา ๒๕๓

เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ท่านว่าบุริมสิทธิพิเศษย่อมอยู่ในลำดับก่อน แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันนั้น ย่อมอยู่ในลำดับก่อน ในฐานที่จะใช้สิทธินั้นต่อเจ้าหนี้ผู้ได้รับประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน

第277条

I.

一般の先取り特権が複数存在し互いに競合する場合には、その優先順位は、第253条に掲げる順序に従うものとする。

II.

一般の先取り特権が特別の先取り特権と競合する場合には、特別の先取り特権が当然に優先する。但し、共益の費用の先取り特権は、その出捐から利益を得たすべての債権者に対して行使し得るが故をもって、[その限りで、受益債権者の特別の先取り特権に]優先する。

มาตรา ๒๗๘

เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกันหลายรายเหนือสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่เรียงไว้ต่อไปนี้ คือ

(๑)

บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์ พักอาศัยในโรงแรมและรับขน

(๒)

บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้ามีบุคคลหลายคนเป็นผู้รักษา ท่านว่าผู้ที่รักษาภายหลังอยู่ในลำดับก่อนผู้ที่ได้รักษามาก่อน

(๓)

บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย และค่าแรงงานกสิกรรมและอุตสาหกรรม

ถ้าบุคคลผู้ใดมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับเป็นที่หนึ่ง และรู้อยู่ในขณะที่ตนได้ประโยชน์แห่งหนี้มานั้น ว่ายังมีบุคคลอื่นซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองหรือที่สามไซร้ ท่านห้ามมิให้บุคคลผู้นั้นใช้สิทธิในการที่ตนอยู่ในลำดับก่อนนั้นต่อบุคคลอื่นเช่นว่ามา และท่านห้ามมิให้ใช้สิทธินี้ต่อผู้ที่ได้รักษาทรัพย์ไว้เพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย

ในส่วนดอกผล ท่านให้บุคคลผู้ได้ทำการงานกสิกรรมอยู่ในลำดับที่หนึ่ง ผู้ส่งเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย อยู่ในลำดับที่สอง และผู้ให้เช่าที่ดินอยู่ในลำดับที่สาม

第278条

I.

同一の動産について互いに競合する複数の[特別の]先取り特権が存在する場合には、その優先順位は、以下に掲げる順序に従う。

(1)

不動産の賃貸、旅館の宿泊、および運輸の先取り特権。

(2)

動産の保存の先取り特権。但し、複数の保存者がいるときは、後の保存者が前の保存者に優先する。

(3)

動産売買、種苗肥料の代価、および農工業労賃の先取り特権。

II.

第一順位の先取り特権を有する者が、その債権を取得した当時、第二順位あるいは第三順位の先取り特権を有する者が他にいることを[既に]知っていたときは、第一順位の先取り特権者は、これら後順位の者に対してその先取り特権を行使することができない。第一順位の先取り特権者の利益のために、物の保存を行った者に対しても、また同様である。

III.

[収穫された]果実に関しては、第一順位は農業労役者に、第二順位は種苗あるいは肥料の供給者に、第三順位は土地の賃貸者に与えられる。

มาตรา ๒๗๙

เมื่อมีบุริมสิทธิพิเศษ แย้งกันหลายรายเหนืออสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่ได้เรียงลำดับไว้ในมาตรา ๒๗๓

ถ้าได้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นสืบต่อกันไปอีกไซร้ ลำดับก่อนหลังในระหว่างผู้ขายด้วยกันนั้น ท่านให้เป็นไปตามลำดับที่ได้ซื้อขายก่อนและหลัง

第279条

I.

同一の不動産について互いに競合する複数の特別の先取り特権が存在する場合には、その優先順位は、第273条に掲げる順序に従う。

II.

この[同一の]不動産が順次に売買された場合には、売主相互間における優先順位は、売買の前後による。

มาตรา ๒๘๐

เมื่อบุคคลหลายคนมีบุริมสิทธิในลำดับเสมอกันเหนือทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ต่างคนต่างได้รับชำระหนี้เฉลี่ยตามส่วนมากน้อยแห่งจำนวนที่ตนเป็นเจ้าหนี้

第280条

同一の物について同一順位の先取り特権を有する複数の個人がいる場合は、各人は、各々の債権額の割合に応じてその弁済を受ける。

๔.

ผลแห่งบุริมสิทธิ

第四目

先取り特権の効力

มาตรา ๒๘๑

บุริมสิทธิอันมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์นั้น ท่านห้ามมิให้ใช้ เมื่อบุคคลภายนอกได้ทรัพย์นั้นจากลูกหนี้และได้ส่งมอบทรัพย์ให้กันไปเสร็จแล้ว

第281条

動産の上に存在する先取り特権は、第三者がその動産を債務者から譲り受け、かつ、その引き渡しも完了しているときは、もはや行使することができない。

มาตรา ๒๘๒

เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกับสิทธิจำนำสังหาริมทรัพย์ ท่านว่าผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป้นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งดั่งที่เรียงไว้ในมาตรา ๒๗๘ นั้น

第282条

先取り特権と動産質権とが競合する場合には、動産質権者は、第278条に掲げられる第一順位の先取り特権者と同様の権利を有する。

มาตรา ๒๘๓

บุคคลผู้มีบุริมสิทธิสามัญต้องรับชำระหนี้เอาจากสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ก่อน ต่อเมื่อยังไม่พอจึงให้เอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์ได้

ในส่วนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็ต้องรับชำระหนี้เอาจากอสังหาริมทรัพย์อันมิได้ตกอยู่ในฐานเป็นหลักประกันพิเศษเสียก่อน

ถ้าบุคคลใดมีบุริมสิทธิสามัญและละเลยด้วยความประมาทเลินเล่อไม่สอดเข้าแย้งขัดในการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์ ตามความที่กล่าวมาในวรรคทั้งสองข้างบนนี้ไซร้ อันบุคคลนั้นจะใช้บุริมสิทธิของตนต่อบุคคลภายนอกผู้ได้จดทะเบียนสิทธิไว้แล้วเพื่อจะเอาใช้จนถึงขนาดเช่นที่ตนจะหากได้รับเพราะได้สอดเข้าแย้งขัดนั้น ท่านว่าหาอาจจะใช้ได้ไม่

อนึ่ง บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคทั้งสามข้างต้นนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ หากเงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์ได้นั้นจะพึงต้องเอามาแบ่งเฉลี่ยก่อนเงินที่ขายทรัพย์สินอย่างอื่นก็ดี หรือหากว่าเงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์อันตกอยู่ในฐานเป็นหลักประกันพิเศษนั้นจะพึงต้องเอามาแบ่งเฉลี่ยก่อนเงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นก็ดุจกัน

第283条

I.

一般の先取り特権者は、まず債務者の動産から弁済を受けなければならず、なお不足があるときは、その不動産から弁済を受けることができる。

II.

不動産については、[一般の先取り特権者は、]まず特別担保の目的とされていないものから弁済を受けなければならない。

III.

一般の先取り特権者は、本条第1項および第2項の規定に従って[債務者の]財産の配当に加入することを怠ったときは、[適時に]その配当に加入していたならば弁済を受けることができた額については、登記をした第三者に対してその先取り特権を行使することができない。

IV.

本条第1項から第3項の規定は、不動産を売却して得た代価をそれ以外の財産の代価に先立ってを配当するべき場合には、これを適用しない。特別担保の目的である不動産の代価を他の不動産の代価に先立って配当するべき場合もまた、同様である。

มาตรา ๒๘๔

บุริมสิทธิสามัญนั้น ถึงแม้จะมิได้ไปลงทะเบียนเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ก็ดี ย่อมจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ใดๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษนั้นได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้ไปถึงการต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้ไปลงทะเบียนสิทธิไว้

第284条

一般の先取り特権は、たとえ不動産について登記をしていなくても、特別担保を有しない[他の]何れの債権者に対しても、対抗することができる。但し、自分の権利を登記した第三者に対しては、この限りではない。

มาตรา ๒๘๕

บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าหากว่าเมื่อทำการเพื่อบำรุงรักษานั้นสำเร็จแล้ว ไปบอกลงทะเบียนไว้โดยพลันไซร้ บุริมสิทธิก็คงให้ผลต่อไป

第285条

不動産の保存の先取り特権は、保存のための行為が完了した時点で直ちに登記した場合に限り、その効力を維持することができる。

มาตรา ๒๘๖

บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น หากทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการไซร้ บุริมสิทธิก็คงให้ผลต่อไป แต่ถ้าราคาที่ทำจริงนั้นล้ำราคาที่ได้ประมาณไว้ชั่วคราว ท่านว่าบุริมสิทธิในส่วนจำนวนที่ล้ำอยู่นั้นหามีไม่

ส่วนการที่จะวินิจฉัยว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเพราะการอันได้ทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์มากน้อยเพียงใดนั้น ท่านให้ศาลตั้งแต่งผู้เชี่ยวชาญขึ้นเป็นผู้กะประมาณ ในเวลาที่มีแย้งขัดในการแบ่งเฉลี่ย

第286条

I.

不動産上における工事請け負いの先取り特権は、着工する前にまずその費用の見積もりを作成し、それを登記した場合に限り、その効力を維持することができる。但し、実際の費用が見積額を超えたときは、その先取り特権は、超過額に関しては行使することができない。

II.

工事によって生じた不動産の増価額の評価は、[先取り特権者が]配当に加入した時点において裁判所が鑑定人を選任し、この者がこれを行わなければならない。

มาตรา ๒๘๗

บุริมสิทธิใดได้ไปจดทะเบียนแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตราทั้งสองข้างบนนี้ บุริมสิทธินั้นท่านว่าอาจจะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนอง

第287条

第285条あるいは第286条の規定に従って登記をした何れの先取り特権も、抵当権に先立ってこれを行使することができる。

มาตรา ๒๘๘

บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น หากว่าเมื่อไปลงทะเบียนสัญญาซื้อขายนั้น บอกลงทะเบียนไว้ด้วยว่าราคาหรือดอกเบี้ยในราคานั้นยังมิได้ชำระไซร้ บุริมสิทธินั้นก็คงให้ผลต่อไป

第288条

不動産の売買の先取り特権は、その売買契約の登記をするときに、不動産の代価またはその利息の弁済がなされていない旨もまた登記をした限りにおいて、その効力を維持する。

มาตรา ๒๘๙

ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธิ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๑ ถึง ๒๘๘ นี้แล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี

第289条

先取り特権の効力については、第281条から第288条までの規定のほか、事案に応じて、抵当権に関する[第三編第十二]章の規定を適用[=準用]する。

หมวด ๓

ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายตน

第三節

多数当事者の債権および債務

มาตรา ๒๙๐

ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆ กัน

第290条

債務の履行が分割可能であり、かつ、債務者側当事者あるいは債権者側当事者が複数の個人よりなる場合において、[解釈に]なお疑念の余地があるときは、各債務者は平等の割合についてのみ債務を負担し、各債権者は平等の割合についてのみ請求権を有するものとする。

มาตรา ๒๙๑

ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง

第291条

複数の個人が[同一の]債務を負担する場合において、その各人が債務の全部について履行の義務を負うが、債権者は全部の履行をただ一度に限り請求することができるときは(この場合の債務者を「連帯債務者」と呼ぶ)、債権者は各債務者から、その選択に従い、全部の履行を請求するか、あるいはその負担部分のみの履行を請求することができる。この場合においては債務者は、全部の履行が完了するまで、連帯してその義務を負う。

มาตรา ๒๙๒

การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ ด้วย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่การใดๆ อันพึงกระทำแทนชำระหนี้ วางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ และหักกลบลบหนี้ด้วย

ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องอย่างไร ลูกหนี้คนอื่นๆ จะเอาสิทธิอันนั้นไปใช้หักกลบลบหนี้หาได้ไม่

第292条

I.

連帯債務者の一人がする債務の履行は、他の債務者にとっても当然にその効力を生じる。代物弁済、供託、および相殺の場合もまた、同様とする。

II.

連帯債務者の一人に属する請求権は、他の債務者がこれを相殺に供することはできない。

มาตรา ๒๙๓

การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดให้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น

第293条

連帯債務者の一人に対してした債務の免除は、特段の合意のない限り、その連帯債務者の負担部分についてのみ、他の債務者の利益のためにも、当然にその効力を生じる。

มาตรา ๒๙๔

การที่เจ้าหนี้ผิดนัดต่อลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้นย่อมได้เป็นคุณประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ ด้วย

第294条

連帯債務者の一人に対する債権者の遅滞は、他の債務者に対しても当然にその効力を生じる。

มาตรา ๒๙๕

ข้อความจริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๙๒ ถึง ๒๙๔ นั้น เมื่อเป็นเรื่องเท้าถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง

ความที่ว่ามานี้ เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้คำบอกกล่าว การผิดนัด การที่หยิบยกอ้างความผิด การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่ง กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลง และการที่สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืนกันไปกับหนี้สิน

第295条

I.

第292条乃至第294条に掲げられる事項以外のもので、専ら連帯債務者の一人に関する事実は、その債務者一人の利益あるいは不利益としてのみ、その効力を生じる。但し、当該債権債務関係の性質に反するときは、その限りでない。

II.

この[本条第1項の]規定は、とりわけ告知、遅滞、[故意または過失の]帰責、当該債務者個人における履行不能、消滅時効あるいはその中断、および債権と債務の混同にこれを適用する。

มาตรา ๒๙๖

ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ท่านว่าต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าส่วนที่ลูกหนี้ร่วมกันคนใดคนหนึ่งจะพึงชำระนั้น เป็นอันจะเรียกเอาจากคนนั้นไม่ได้ไซร้ ยังขาดจำนวนอยู่เท่าไร ลูกหนี้คนอื่นๆ ซึ่งจำต้องออกส่วนด้วยนั้นก็ต้องรับใช้ แต่ถ้าลูกหนี้ร่วมกันคนใดเจ้าหนี้ได้ปลดให้หลุดพ้นจากหนี้อันร่วมกันนั้นแล้ว ส่วนที่ลูกหนี้คนนั้นจะพึงต้องชำระหนี้ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป

第296条

連帯債務者の各人は、別段の定めのない限り、相互に平等の割合で責任を負う。連帯債務者の一人から、その負担分を請求することができないときは、なお不足がある限りにおいて、連帯責任を負う他の債務者が補填の義務を引き受けなければならない。但し、債権者が[既に他の]連帯債務者の一人に対して連帯債務の免除[=連帯の免除]を与えていたときは、[不足分の補填につき]その債務者の負担分は、債権者に対しても消滅する。

มาตรา ๒๙๗

ถ้าในสัญญาอันหนึ่งอันใดมีบุคคลหลายคนร่วมกันผูกพันตนในอันจะกระทำการชำระหนี้ไซร้ หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องรับผิดเช่นอย่างเป็นลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าเป็นการอันจะแบ่งกันชำระหนี้ได้

第297条

複数の個人が共同して債務を履行すべき旨の契約を締結した場合において、たとえその履行が分割可能なのもであっても、[解釈に]なお疑念の余地があるときは、それらの個人は連帯債務者としての義務を負うものと見なす。

มาตรา ๒๙๘

ถ้าบุคคลหลายคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ไซร้ แม้ถึงว่าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือเจ้าหนี้ร่วมกัน) ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่คนใดคนหนึ่งก็ได้ตามแต่จะเลือก ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ แม้ทั้งที่เจ้าหนี้คนหนึ่งจะได้ยื่นฟ้องเรียกชำระหนี้ไว้แล้ว

第298条

複数の個人が[同一の]債権を有する場合において、その各人が債務の全部について履行を請求することができるが、債務者は債務の全部をただ一度に限り履行すれば足りるときは(この場合の債権者を「連帯債権者」と呼ぶ)、債務者は、その選択に従って債権者の何れか一人に全部の履行をすることができる。債権者の一人が既に履行請求の訴えを提起している場合でも、また同様である。

มาตรา ๒๙๙

การที่เจ้าหนี้ร่วมกันคนหนึ่งผิดนัดนั้น ย่อมเป็นโทษแก่เจ้าหนี้คนอื่นๆ ด้วย

ถ้าสิทธิเรียกร้อง และหนี้สินนั้นเป็นอันเกลื่อนกลืนกันไปในเจ้าหนี้ร่วมกันคนหนึ่ง สิทธิของเจ้าหนี้คนอื่นๆ อันมีต่อลูกหนี้ก็ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป

นอกจากนี้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๙๒, ๒๙๓ และ ๒๙๕ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม กล่าวโดยเฉพาะก็คือ แม้เจ้าหนี้ร่วมกันคนหนึ่งจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่บุคคลอื่นไป ก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้คนอื่นๆ ด้วยไม่

第299条

I.

連帯債権者の一人に生じた遅滞は、他の連帯債権者に対してもその効力を生じる。

II.

連帯債権者の一人においてその債権と債務とが混同を生じたときは、他の連帯債権者の債権もまた当然に消滅する。

III.

その他、[連帯債務に関する]第292条、第293条、および第295条の規定は、これを[連帯債権に]準用する。とりわけ、連帯債権者の一人がその債権を第三者に譲渡する場合においても、他の連帯債権者の債権は、その効力を妨げられない。

มาตรา ๓๐๐

ในระหว่างเจ้าหนี้ร่วมกันนั้น ท่านว่าต่างคนชอบที่จะได้รับชำระหนี้เป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

第300条

連帯債権者の各人は、別段の定めのない限り、相互に平等の割合で履行を受領する権利を有する。

มาตรา ๓๐๑

ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วมกัน

第301条

複数の個人が不可分債務を負担するときは、それらの個人は、連帯債務者としての責任を負うものとする。

มาตรา ๓๐๒

ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระมิได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกันไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์ แก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดด้วยกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น อนึ่ง เจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกให้ลูกหนี้วางทรัพย์ที่เป็นหนี้นั้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้หมดทุกคนด้วยกันก็ได้ หรือถ้าทรัพย์นั้นไม่ควรแก่การจะวางไว้ ก็ให้ส่งแก่ผู้พิทักษ์ทรัพย์ซึ่งศาลจะได้ตั้งแต่งขึ้น

นอกจากนี้ ข้อความจริงใดที่เท้าถึงเจ้าหนี้คนหนึ่งเท่านั้น หาเป็นไปเพื่อคุณหรือโทษแก่เจ้าหนี้คนอื่นๆ ด้วยไม่

第302条

I.

不可分の債務につき債権者が複数いる場合において、それらの個人が連帯債権者でないときは、債務者は債権者全員のためにのみ履行しなければならず、各債権者は債権者全員のためにのみ履行の請求をすることができる。また各債権者は債務者に対して、債権の目的物を債権者全員のために供託することを請求し、その物が供託に適しない場合には、裁判所の選任する管理者に引き渡すことを請求することができる。

II.

その他、債権者の何れか一人のみに関する事実は、他の債権者にとって利益あるいは不利益となるべき如何なる効力も生じない。

หมวด ๔

โอนสิทธิเรียกร้อง

第四節

債権の譲渡

มาตรา ๓๐๓

สิทธิเรียกร้อยนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้

ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น การแสดงเจตนาเช่นว่านี้ ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

第303条

I.

債権は、当然にこれを譲渡することができる。但し、それ自体の性質が譲渡を許さない場合は、その限りではない。

II.

この[本条第1項の]規定は、当事者が別段の意思を表示した場合には、これを適用しない。但し、その意思表示は、善意の第三者に対抗することができない。

มาตรา ๓๐๔

สิทธิเรียกร้องเช่นใด ตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องเช่นนั้น ท่านว่าจะโอนกันหาได้ไม่

第304条

如何なる債権にせよ、法の規定により、それが裁判所の命令によって差し押えすることのできないものである限り、これを譲渡することはできない。

มาตรา ๓๐๕

เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องไป สิทธิจำนอง จำนำ หรือหลักประกันทางธุรกิจที่มีอยู่เกี่ยวพันกับสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกันที่ให้ไว้เพื่อสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี ย่อมตกไปได้แก่ผู้รับโอนด้วย*

อนึ่ง ผู้รับโอนจะใช้บุริมสุทธิใดๆ ที่ตนมีอยู่เกี่ยวด้วยสิทธิเรียกร้อง ในกรณีบังคับยึดทรัพย์หรือล้มละลายนั้นก็ได้

*

มาตรานี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘

第305条

I.

債権の譲渡に伴い、その債権を担保するために設定された抵当権、質権あるいは商用担保権もまた、当然に譲受人に移転する。その債権の担保のために設定された保証[契約]より生じる権利もまた、同様である。*

II.

なお、債権の譲受人は、強制執行あるいは破産の場合に保障される先取り特権もまた、行使することができる。

*

仏暦2558年、民事商事法典改正法(第22号)第3条により、本条を改正。

มาตรา ๓๐๖

การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ

ถ้าลูกหนี้ทำให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้

第306条

I.

指名債権の譲渡は、証書によってこれを行うのでなければ、その効力を生じない。なお、この指名債権の譲渡は、債務者にその事実を通知をし、または債務者が承諾をしたのでなければ、債務者その他の第三者に対抗することができない。[この場合において]債務者への通知または債務者の承諾は、書面によって行わなければならない。

II.

債務者が[前項の]通知を受け取り、あるいは譲渡を承諾するに先立って、譲渡人に金銭を払い渡し、またはその他の担保を提供して既に債務を完済していたときは、債務者は、[譲受人に対して]その債務を免除される。

มาตรา ๓๐๗

ถ้าพิพาทอ้างสิทธิในการโอนต่างราย โอนรายใดได้บอกกล่าวหรือตกลงกันก่อน โอนรายนั้นมีสิทธิดีกว่าโอนรายอื่น ๆ

第307条

[指名債権の]譲渡が複数回[並行して]なされたために、権利に関する争いがあるときは、早期に[第306条第1項の]通知あるいは承諾がなされた譲渡が、他のそれに優先する。

มาตรา ๓๐๘

ถ้าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมดังกล่าวมาในมาตรา ๓๐๖ โดยมิได้อิดเอื้อน ท่านว่าจะยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนนั้นหาได้ไม่ แต่ถ้าเพื่อจะระงับหนี้นั้นลูกหนี้ได้ใช้เงินให้แก่ผู้โอนไปไซร้ ลูกหนี้จะเรียกคืนเงินนั้นก็ได้ หรือถ้าเพื่อการเช่นกล่าวมานั้นลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อผู้โอน จะถือเสมือนหนึ่งว่าหนี้นั้นมิได้ก่อขึ้นเลยก็ได้

ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคำบอกกล่าวการโอน ท่านว่าลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอนก่อนเวลาที่ได้รับคำบอกกล่าวนั้นฉันใด ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ถ้าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากผู้โอน แต่สิทธินั้นยังไม่ถึงกำหนดในเวลาบอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจะเอาสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบลบกันก็ได้ หากว่าสิทธินั้นจะได้ถึงกำหนดไม่ช้ากว่าเวลาถึงกำหนดแห่งสิทธิเรียกร้องอันได้โอนไปนั้น

第308条

I.

債務者が躊躇なく[=異議を留めず]第306条の承諾をしたときは、譲渡人に対抗することができた事由があっても、これをもって譲受人に対抗することができない。但し、債務者がその債務を消滅させるために譲渡人に払い渡した金銭があるときはこれを取り戻し、また同様の目的のために譲渡人に対して新たに負担した債務があるときはこれを成立しないものと見なすことができる。

II.

譲渡人が譲渡の通知をしたにとどまるときは、債務者は、その通知を受けるまでに譲渡人に対して生じた事由をもって譲受人に対抗することができる。[また、]債務者が債権の譲渡人に対して、譲渡の通知[を受けた]時点では未だ弁済期に至っていない債権を有している場合において、その債権が譲渡された債権に先立って弁済期に至る場合に限り、債務者は、その債権を[譲渡された債権と]相殺することができる。

มาตรา ๓๐๙

การโอนหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้น ท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกคนอื่นได้แต่เฉพาะเมื่อการโอนนั้นได้สลักหลังไว้ในตราสาร และตัวตราสารนั้นได้ส่งมอบให้แก่ผู้รับโอนไปด้วย

第309条

指図債権の譲渡は、その証書に譲渡の裏書をして譲受人に交付しなければ、債務者その他の第三者に対抗することができない。

มาตรา ๓๑๐

ในมูลหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้น ลูกหนี้มีสิทธิที่จะสอบสวนถึงตัวผู้ทรงตราสาร หรือสอบสวนความถูกต้องแท้จริงแห่งลายมือชื่อหรือดวงตราของผู้ทรงได้ แต่ก็หามีความผูกพันที่จะต้องทำถึงเพียงนั้นไม่ แต่ถ้าลูกหนี้ทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไซร้ การชำระหนี้นั้นก็ไม่เป็นอันสมบูรณ์

第310条

指図債権の[譲渡の]場合においては、債務者は、その証書の所持人の人物について、ならびにその署名および押印の真偽を調査する権利を有するが、その義務を負わない。但し、債務者に悪意または重大な過失があるときは、その[過った人物に対する]弁済は効力を生じない。

มาตรา ๓๑๑

บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่มีกำหนดตัวเจ้าหนี้ระบุไว้ในตราสาร ซึ่งมีข้อความจดไว้ด้วยว่าให้ชำระหนี้แก่ผู้ทรงตราสาร

第311条

第310条の規定は、債権に関する証書に債権者を指名する記載がされているが、その証書の所持人に弁済をすべき旨が付記されている場合に、これを準用する。

มาตรา ๓๑๒

ในมูลหนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่งนั้น ลูกหนี้จะยกข้อต่อสู้ซึ่งมีต่อเจ้าหนี้เดิมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริตนั้นหาได้ไม่ เว้นแต่ที่ปรากฏในตัวตราสารนั้นเอง หรือที่มีขึ้นเป็นธรรมดาสืบจากลักษณะแห่งตราสารนั้น

第312条

指図債権の[譲渡の]場合においては、債務者は、譲渡前の債権者に対抗することができた事由をもって善意の譲受人に対抗することができない。但し、その証書自体に記載された[事項]、ならびにその証書の性質から当然に帰結する[事項]については、その限りではない。

มาตรา ๓๑๓

บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงหนี้อันพึงต้องชำระแก่ผู้ถือนั้นด้วย

第313条

第312条の規定は、これを無記名債権に準用する。

หมวด ๕

ความระงับหนี้

第五節

債権債務関係の消滅

ส่วนที่ ๑

การชำระหนี้

第一款

弁済(債務履行)

มาตรา ๓๑๔

อันการชำระหนี้นั้น ท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระ หรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้

บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะเข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่

第314条

I.

債務の弁済は、第三者もこれをすることができる。但し、債務の性質がそれを許さないとき、またはそれが当事者の表示した意思に反するときは、この限りではない。

II.

債務の弁済について何らの利害関係も有しない[第三]者は、債務者の意思に反して弁済をすることができない。

มาตรา ๓๑๕

อันการชำระหนี้นั้น ต้องทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ทำให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์

第315条

債務の弁済は、債権者自身に対して、または債権者より弁済を受領する権限を与えられて者に対して、これを行わなければならない。受領する権限を有しない者に対してなされた弁済は、債権者がこれを承認した場合に限り、その効力を生じる。

มาตรา ๓๑๖

ถ้าการชำระหนี้นั้นได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการชำระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ได้กระทำการโดยสุจริต

第316条

債権の準占有者に対してした弁済は、その弁済をした者が[弁済の当時]善意であったときに限り、その効力を有する。

มาตรา ๓๑๗

นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตราก่อน การชำระหนี้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับนั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์เพียงเท่าที่ตัวเจ้าหนี้ได้ลาภงอกขึ้นแต่การนั้น

第317条

第316条の場合を除き、弁済を受領する権限を有しない者に対してした弁済は、債権者がこれによって利益を受けた限度においてのみ、その効力を有する。

มาตรา ๓๑๘

บุคคลผู้ถือใบเสร็จเป็นสำคัญ ท่านนับว่าเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้ ถ้าบุคคลผู้ชำระหนี้รู้ว่าสิทธิเช่นนั้นหามีไม่ หรือไม่รู้เท่าถึงสิทธินั้นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน

第318条

受取証書の持参人は、弁済を受領する権限があるものと見なす。但し、弁済をした者が持参人にその権限がないことを知っていたとき、または過失によって知らなかったときは、この限りでない。

มาตรา ๓๑๙

ถ้าศาลสั่งให้ลูกหนี้คนที่สามงดเว้นทำการชำระหนี้แล้ว ยังขืนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของตนเองไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ผู้ที่ร้องขอให้ยึดทรัพย์จะเรียกให้ลูกหนี้คนที่สามนั้นทำการชำระหนี้อีกให้คุ้มกับความเสียหายอันตนได้รับก็ได้

อนึ่ง ข้อความซึ่งกล่าวมาในวรรคข้างต้นนี้หาเป็นข้อขัดขวางในการที่ลูกหนี้คนที่สามจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่เจ้าหนี้ของตนเองนั้นไม่

第319条

I.

裁判所より[債務者に対する]支払いの差止めを受けた第三債務者が、自己の債権者[=債務者]に弁済をしたときは、差押え債権者は、更に弁済をして自らが受けた損害を補填すべき旨を第三債務者に請求することができる。

II.

本条第1項の規定は、第三債務者から自己の債権者[=債務者]に対する求償権の行使を妨げない。

มาตรา ๓๒๐

อันจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่

第320条

債権者に対して、一部分のみの給付、またはその他、負担したものと異なる種類の給付を[債務の弁済として]受領するよう強制することはできない。

มาตรา ๓๒๑

ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป

ถ้าเพื่อที่จะทำให้พอแก่ใจเจ้าหนี้นั้น ลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อเจ้าหนี้ไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านมิให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้นแทนการชำระหนี้

ถ้าชำระหนี้ด้วยออก- ด้วยโอน- หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงิน หรือประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว

第321条

I.

債務者がその負担した給付に代えて他の給付を[債務の弁済として]することに、債権者が承諾してその給付を受領したときは、その債務は消滅する。

II.

債務の弁済を目的として、債務者が債権者に対して新たな義務を引き受けた場合においても、なお疑念の余地が残る限り、負担した給付に代えて新たな義務を引き受けたものとは推定しない。

III.

有価証券[=手形および小切手]あるいは倉庫証券の振出し、譲渡、あるいは裏書によって給付がなされた場合には、実際にその証券の支払いがなされて初めて、その債務は消滅する。

มาตรา ๓๒๒

ถ้าเอาทรัพย์ก็ดี สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกก็ดี หรือสิทธิอย่างอื่นก็ดี ให้แทนการชำระหนี้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องและเพื่อการรอนสิทธิทำนองเดียวกับผู้ขาย

第322条

負担した給付に代えて、[何らかの]物、第三者から得た[=に対する]請求権、あるいはその他の権利が提供されたときは、債務者は、[その物あるいは権利の]瑕疵、並びに権利侵害につき、売り主と同様の[担保]責任を負う。

มาตรา ๓๒๓

ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าบุคคลผู้ชำระหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาที่จะพึงส่งมอบ

ลูกหนี้จำต้องรักษาทรัพย์นั้นไว้ด้วยความระมัดระวังเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง จนกว่าจะได้ส่งมอบทรัพย์นั้น

第323条

I.

債権の目的が特定物の引渡しであるときは、弁済する者は、その引渡しをすべき時の現状でその物を引き渡さなければならない。

II.

債務者は、債権の目的物の引渡しをするまで、良識ある個人が自らの財産を管理するのと同様の注意をもって、その物を保存しなければならない。

มาตรา ๓๒๔

เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงชำระหนี้ ณ สถานที่ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น ส่วนการชำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องชำระหนี้ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้

第324条

弁済をすべき場所について別段の意思表示がないときは、特定物の引渡しは債権発生の時にその物が存在した場所において、その他の弁済は債権者の現在の住所において、それぞれしなければならない。

มาตรา ๓๒๕

เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้ในข้อค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ ท่านว่าฝ่ายลูกหนี้พึงเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพราะเจ้าหนี้ย้ายภูมิลำเนาก็ดี หรือเพราะการอื่นใดอันเจ้าหนี้ได้กระทำก็ดี ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่าใดเจ้าหนี้ต้องเป็นผู้ออก

第325条

弁済の費用について別段の意思表示がないときは、その費用は、債務者の負担とする。但し、債権者が住所の移転その他の行為によって弁済の費用を増加させたときは、その増加額は、債権者の負担とする。

มาตรา ๓๒๖

บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น และถ้าหนี้นั้นได้ชำระหนี้สิ้นเชิงแล้ว ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย ถ้าและเอกสารนั้นสูญหาย บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะให้จดแจ้งความข้อระงับหนี้ลงไว้ในใบเสร็จหรือในเอกสารอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ได้

ถ้าหนี้นั้นได้ชำระแต่บางส่วนก็ดี หรือถ้าเอกสารนั้นยังให้สิทธิอย่างอื่นใดแก่เจ้าหนี้อยู่ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้ชอบแต่ที่จะได้รับใบเสร็จไว้เป็นคู่มือและให้จดแจ้งการชำระหนี้นั้นลงไว้ในเอกสาร

第326条

I.

弁済をした者は、弁済を受領した者に対して受取証書の交付を請求することができる。全部の弁済をした場合には、その弁済者は、債権証書の返還あるいは失効を請求することができる。また、その証書が紛失した[ため、その返還あるいは失効が不可能な]ときは、弁済者は、債権の消滅したことを弁済の受取証書に付記し、あるいは別途の書面をもって証することを請求することができる。

II.

弁済がなお部分的な場合、あるいは債権証書中に、債権者に[弁済を受領する権利以外に]その他の権利の存することが証されている場合には、弁済者は、受取証書の交付の他、受領した弁済につき債権証書中に付記することのみを請求することができる。

มาตรา ๓๒๗

ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระหนี้เป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆ นั้นด้วยแล้ว

ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อการชำระต้นเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับดอกเบี้ยแล้ว

ถ้าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ได้เวนคืนแล้วไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว

第327条

I.

債権が利息の支払いあるいはその他の定期的な給付を目的とする場合において、債権者がある時期につき躊躇なく[=異義を留めず]受取証書を交付したときは、債権者は、その時期に先立って満期となった給付もまた[全て]受領しているものと推定する。

II.

元本の弁済につき受取証書が交付されたときは、債権者は利息もまた受領したものと推定する。

III.

債権証書が[債務者に]返還されたときは、その債権債務関係は既に消滅したものと推定する。

มาตรา ๓๒๘

ถ้าลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย และถ้าการที่ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายไซร้ เมื่อทำการชำระหนี้ ลูกหนี้ระบุว่าชำระหนี้สินรายใด ก็ให้หนี้สินรายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป

ถ้าลูกหนี้ไม่ระบุ ท่านว่าหนี้สินรายไหนถึงกำหนด ก็ให้รายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดนั้น รายใดเจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด ก็ให้รายนั้นเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่าๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้เท่าๆ กัน ให้หนี้สินรายเก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน และถ้ามีหนี้สินหลายรายเก่าเท่าๆ กัน ก็ให้หนี้ทุกรายเป็นอันได้เปลื้องไปตามส่วนมากและน้อย

第328条

I.

債務者が[同一の]債権者に対して複数の債権債務関係に基づき、同種の給付を[複数]行う義務を負う場合において、債務者のなした給付がそれら全ての債務を弁済するに足りないときは、債務者が給付に際して充当すべき債務を指定していれば、その指定された債務が弁済により消滅したものとする。

II.

債務者が[本条第1項の]指定をしていないときは、既に弁済期にある債務があれば、それを他に先立って充当すべき債務とする。弁済期にある債務が複数ある場合には、そのうち担保の最も乏しいものを他に先立って充当すべき債務とする。担保の程度を同じくする債務が複数ある場合には、そのうち債務者にとって負担の最も重いものを他に先立って充当すべき債務とする。債務者に対する負担が同程度である債務が複数ある場合には、そのうち最も古いものを他に先立って充当すべき債務とする。同じように古い債務が複数ある場合には、その割合に従って各債務に充当する。

มาตรา ๓๒๙

ถ้านอกจากการชำระหนี้อันเป็นประธาน ลูกหนี้ยังจะต้องชำระดอกเบี้ยและเสียค่าฤชาธรรมเนียมอีกด้วยไซร้ หากการชำระหนี้ในครั้งหนึ่งๆ ไม่ได้ราคาเพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด ท่านให้เอาจัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธาน

ถ้าลูกหนี้ระบุให้จัดใช้เป็นประการอื่น ท่านว่าเจ้าหนี้จะบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ได้

第329条

I.

債務者が元本の他に利息および費用を支払うべき場合において、一回の給付がその全てを弁済するに足りないときは、まず費用に、次に利息に、そして最後に元本に充当しなければならない。

II.

債務者がそれと異なる充当方法を指定したときは、債権者は、その給付の受領を拒否することができる。

มาตรา ๓๓๐

เมื่อขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว บรรดาความรับผิดชอบ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ก็เป็นอันปลดเปลื้องไป นับแต่เวลาที่ขอปฏิบัติการชำระหนี้นั้น

第330条

債務者が債務の弁済をその本旨に従って提供したときは、債務者は、その提供の時から債務の不履行によって生ずべき一切の責任を免れる。

มาตรา ๓๓๑

ถ้าเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ดี หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ หากบุคคลผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่บุคคลผู้ชำระหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิ หรือไม่รู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่เป็นความผิดของตน

第331条

債権者が弁済の受領を拒む旨を言明し、またはこれを受領することができないときは、弁済者は、債権者の利益のために弁済の目的物を供託することにより、当然にその債務を免れることができる。弁済者が権利[=充当すべき債務]を明確に判別できないとき、あるいは債権者の人物を同定できないときもまた、弁済者の責めに帰すべき事由がない限り、これと同様とする。

มาตรา ๓๓๒

ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้จะต้องชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะกำหนดว่าต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนจึงให้มีสิทธิรับเอาทรัพย์ที่วางไว้นั้นก็ได้

第332条

債務者が債権者からの反対給付に対してのみ弁済すべき場合には、債務者は、債権者の供託物を受け取る権利に関し、反対給付をしなければその権利を行使することができない旨の指定をすることができる。

มาตรา ๓๓๓

การวางทรัพย์นั้นต้องวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้

ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับเฉพาะการในเรื่องสำนักงานวางทรัพย์ เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ร้องขอ ศาลจะต้องกำหนดสำนักงานวางทรัพย์ และตั้งแต่งผู้พิทักษ์ทรัพย์ที่วางนั้นขึ้น

ผู้วางต้องบอกกล่าวให้เจ้าหนี้ทราบการที่ได้วางทรัพย์นั้นโดยพลัน

第333条

I.

[弁済の目的物の]供託は、債務の履行地が位置する行政区の供託所でこれをしなければならない。

II.

供託所について法令に特別の定めがない場合には、裁判所は、弁済者の請求により、供託所の指定ならびに供託物の保管者の選任をしなければならない。

III.

供託をした者は、遅滞なく、債権者に供託の通知をしなければならない。

มาตรา ๓๓๔

ลูกหนี้มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ ถ้าลูกหนี้ถอนทรัพย์นั้น ท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้วางทรัพย์ไว้เลย

สิทธิถอนทรัพย์นี้เป็นอันขาดในกรณีต่อไปนี้

(๑)

ถ้าลูกหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าตนยอมสละสิทธิจะถอน

(๒)

ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับเอาทรัพย์นั้น

(๓)

ถ้าการวางทรัพย์นั้นได้เป็นไปโดยคำสั่งหรืออนุมัติของศาล และได้บอกกล่าวความนั้นแก่สำนักงานวางทรัพย์

第334条

I.

債務者は、供託物を取り戻すことができる。この場合においては、供託はなかったものと見なす。

II.

次に掲げる場合には、供託物を取り戻すことはできないものとする。

(1)

債務者が供託所に対して、供託物を取り戻す権利を放棄する旨を表明した場合。

(2)

債権者が供託所に対して、供託物を受け取る[=供託を受諾する]旨を表明した場合。

(3)

裁判所の命令あるいは承認の下に供託がなされ、且つそのことが供託所に通知された場合。

มาตรา ๓๓๕

สิทธิถอนทรัพย์นั้น ตามกฎหมาย ศาลจะสั่งยึดหาได้ไม่

เมื่อได้ฟ้องคดีล้มละลายเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิถอนทรัพย์ในระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย

第335条

I.

裁判所がこの[供託物の]取り戻し権を差し押さえることは、法律によって禁止される。

II.

債務者の財産について破産手続きが開始されたときは、その審理の期間中、[供託物の]取り戻し権を行使することができない。

มาตรา ๓๓๖

ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ไม่ควรแก่การจะวางไว้ก็ดี หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นเกลือกจะเสื่อมเสียหรือทำลาย หรือบุบสลายได้ก็ดี เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล บุคคลผู้ชำระหนี้จะเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด แล้วเอาเงินที่ได้แต่การขายวางแทนทรัพย์นั้นก็ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ค่ารักษาทรัพย์จะแพงเกินควรนั้นด้วย

第336条

弁済の目的物が供託に適しないとき、またはその物について劣化、滅失、あるいは損傷のおそれがあるときは、弁済者は、裁判所の許可を得て、これを競売に付し、物に代えてその代金を供託することができる。その物の保存について過分の費用を要するときも、同様とする。

มาตรา ๓๓๗

ท่านไม่อนุญาตให้เอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดจนกว่าจะได้บอกให้เจ้าหนี้รู้ตัวก่อน การบอกนี้จะงดเสียก็ได้ ถ้าทรัพย์นั้นอาจเสื่อมทรามลง หรือภัยมีอยู่ในการที่จะหน่วงการขายทอดตลาดไว้

ในการที่จะขายทอดตลาดนั้น ท่านให้ลูกหนี้บอกกล่าวแก่เจ้าหนี้โดยไม่ชักช้า ถ้าละเลยเสียไม่บอกกล่าว ลูกหนี้จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

การบอกให้รู้ตัวและบอกกล่าวนี้ ถ้าไม่เป็นอันจะทำได้ จะงดเสียก็ได้

เวลาและสถานที่ที่จะขายทอดตลาด กับทั้งคำพรรณนาลักษณะแห่งทรัพย์นั้น ท่านให้ประกาศโฆษณาให้ประชาชนทราบ

第337条

I.

[弁済の目的物の]競売は、予め債権者にその旨を警告し、その後でなければ、これをすることができない。[但し、]その物が[現実に]劣化に曝され、あるいは競売が遅延した際には[そうした]危険がある場合は、その限りではない。

II.

競売が実施される場合には、債務者は、遅滞なくそのことを債権者に報告しなければならない。債務者がその報告[義務]を怠ったときは、債務者は、損害賠償の責任を負う。

III.

債権者に対する競売の警告および報告は、それを実行することができない場合は、その義務を免じる。

IV.

競売の期日と場所、ならびに目的物の仕様は、これを公示しなければならない。

มาตรา ๓๓๘

ค่าฤชาธรรมเนียมในการวางทรัพย์หรือขายทอดตลาดนั้น ให้ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้ออก เว้นแต่ลูกหนี้จะได้ถอนทรัพย์ที่วาง

第338条

[弁済の目的物の]供託あるいは競売の費用は、債権者が負担しなければならない。但し、債務者が供託物を取り戻したときは、その限りではない。

มาตรา ๓๓๙

สิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางไว้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อพ้นเวลาสิบปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์

อนึ่ง เมื่อสิทธิของเจ้าหนี้ระงับสิ้นไปแล้ว ถึงแม้ลูกหนี้จะได้ละสิทธิถอนทรัพย์ ก็ยังชอบที่จะถอนทรัพย์นั้นได้

第339条

I.

供託物を受領する債権者の権利は、供託の通知を受け取った時点から10年を経過したときは、消滅したものとする。

II.

債権者の権利が消滅したときは、債務者は、たとえ取り戻しの権利を放棄した場合であっても、供託物を取り戻すことができる。

ส่วนที่ ๒

ปลดหนี้

第二款

免除

มาตรา ๓๔๐

ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป

ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย

第340条

I.

債権者が債務者に対して債務を免除する意思を表示したときは、その債権債務関係は、消滅する。

II.

[債権者に]債権証書が交付されている場合には、その消滅もまた書面で証し、またはその債権証書を債務者に返還し、あるいは失効させなければならない。

ส่วนที่ ๓

หักกลบลบหนี้

第三款

相殺

มาตรา ๓๔๑

ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกัน โดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยหักกลบลบหนี้กันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบหนี้กันได้

บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ หากเป็นการขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้ แต่เจตนาเช่นนี้ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

第341条

I.

二人が互いに同種の目的を有する債務を負担する場合において、双方の債務とも弁済期にあるときは、各債務者は、その対当額について相殺によってその債務を免れることができる。但し、どちらか一方の債務の性質がこれを許さないときは、この限りでない。

II.

本条第1項の規定は、それが当事者の表示した意思に反する場合には、これを適用しない。但し、その意思表示は、善意の第三者に対抗することができない。

มาตรา ๓๔๒

หักกลบลบหนี้นั้น ทำได้ด้วยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาเช่นนี้ท่านว่าจะมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสิ้นสุดอีกด้วยหาได้ไม่

การแสดงเจตนาดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านว่ามีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก

第342条

I.

相殺は、当事者の一方から相手方に対する意思表示によって行うことができる。この場合において、その意思表示には、条件、または開始期限あるいは終止期限を付することができない。

II.

本条第1項の意思表示は、双方の債務が互いに相殺に適するようになった最初の時に遡ってその効力を生ずる。

มาตรา ๓๔๓

การหักกลบลบหนี้นั้น ถึงแม้ว่าสถานที่ซึ่งจะต้องชำระหนี้ทั้งสองจะต่างกัน ก็หักกันได้ แต่ฝ่ายผู้ขอหักหนี้จะต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกิดแต่การนั้น

第343条

相殺は、双方の債務の履行地が異なるときであっても、これをすることができる。但し[この場合において]、相殺を申し出た当事者は、相手方に対し、これによって生じた損害を賠償しなければならない。

มาตรา ๓๔๔

สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ สิทธิเรียกร้องนั้น ท่านว่าหาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่ อนึ่ง อายุความย่อมไม่ตัดรอนการหักกลบลบหนี้ แม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว แต่ว่าในเวลาที่อาจจะหักกลบลบกับสิทธิเรียกร้องฝ่ายอื่นได้นั้น สิทธิยังไม่ขาด

第344条

[相手方より]何らかの抗弁を申し立てられている債権は、[その相手方に対して]これを相殺に供することができない。なお、たとえ時効により既に消滅している債権であっても、相手方の債権との相殺に適するようになった時点においては未だ時効にかかっていなかった場合には、消滅時効[の抗弁]は、相殺を妨げない。

มาตรา ๓๔๕

หนี้รายใดเกิดแต่การอันมิชอบด้วยกฎหมายเป็นมูล ท่านห้ามมิให้ลูกหนี้ถือเอาประโยชน์แห่งหนี้รายนั้น เพื่อหักกลบลบหนี้กับเจ้าหนี้

第345条

債務が不法な行為[がなされたこと]を原因として生じたときは、その債務者は、この債務を以て債権者との相殺に供することはできない。

มาตรา ๓๔๖

สิทธิเรียกร้องรายใด ตามกฎหมาย ศาลจะสั่งยึดมิได้ สิทธิเรียกร้องรายนั้นหาอาจจะเอาไปหักกลบลบหนี้ได้ไม่

第346条

如何なる債権にせよ、法の規定により、それが裁判所の命令によって差し押えすることのできないものである限り、これを相殺に供することはできない。

มาตรา ๓๔๗

ลูกหนี้คนที่สามหากได้รับคำสั่งศาลห้ามมิให้ใช้เงินแล้ว จะยกเอาหนี้ซึ่งตนได้มาภายหลังแต่นั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้ที่ขอให้ยึดทรัพย์นั้น ท่านว่าหาอาจจะยกได้ไม่

第347条

裁判所より[債務者に対する]支払いの差止めを命ぜられた第三債務者は、その後に取得した債権による相殺をもって差押え債権者に対抗することができない。

มาตรา ๓๔๘

ถ้าคู่กรณีต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเรียกร้องหลายรายอันควรแก่การที่จะใช้หักกลบลบหนี้ได้ไซร้ ฝ่ายผู้ที่ขอหักหนี้จะระบุก็ได้ว่าพึงเอาสิทธิเรียกร้องรายใดบ้างเข้าหักกลบลบกัน ถ้าการหักกลบลบหนี้ได้แสดงโดยมิได้ระบุเช่นนั้นก็ดี หรือถ้าระบุ แต่อีกฝ่ายหนึ่งท้วงขัดข้องโดยไม่ชักช้า ก็ดี ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๒๘ วรรค ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้ยังเป็นหนี้ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ นอกจากการชำระหนี้อันเป็นประธานนั้นด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

第348条

I.

当事者の一方が相殺に適する債権を複数有するときは、相殺を申し出る当事者が相殺されるべき債権を指定することができる。その指定をせずに相殺が申し出された場合、または、なされた指定に対して相手方が遅滞なく異義を申し立てた場合には、第328条第2項の規定を準用する。

II.

相殺を申し出る当事者が元本の他に利息および費用を支払うべき場合には、第329条の規定を準用する。

ส่วนที่ ๔

แปลงหนี้ใหม่

第四款

更改

มาตรา ๓๔๙

เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่

ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น

ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง

第349条

I.

当事者が債務の要素を変更する契約をしたときは、その債務は、更改によって消滅したものとする。

II.

条件付き債務を無条件債務としたとき、無条件債務に条件を付したとき、または債務の条件を変更したときは、いずれも債務の要素を変更したものと見なす。

III.

更改によって債権者を変更したときは、債権譲渡に関する本法典の各規定を適用[=準用]する。

มาตรา ๓๕๐

แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่

第350条

債務者の交替による更改は、債権者と[更改後]新たに債務者となる者との契約によってすることができる。但し、従前の債務者の意思に反するときは、この限りでない。

มาตรา ๓๕๑

ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่

第351条

更改によって生じるべき債務が成立せず、または、違法な原因のため、あるいは当事者の知り得ない事由によって取り消されたときは、従前の債務は、未だに消滅しない。

มาตรา ๓๕๒

คู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่อาจโอนสิทธิจำนำหรือจำนองที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมนั้นไปเป็นประกันหนี้รายใหม่ได้ เพียงเท่าที่เป็นประกันวัตถุแห่งหนี้เดิม แต่หลักประกันเช่นว่านี้ ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่าจำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกนั้นด้วยจึงโอนได้

第352条

更改の当事者は、更改前の債務の目的の限度において、その債務の担保として設定された質権または抵当権を更改後の債務に移すことができる。但し、第三者がこれを設定した場合には、その承諾を得なければならない。

ส่วนที่ ๕

หนี้เกลื่อนกลืนกัน

第五款

混同

มาตรา ๓๕๓

ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่าหนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เว้นแต่เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก หรือเมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา ๙๑๗ วรรค ๓

第353条

債権債務関係における権利[=債権]と責任[=債務]とが同一人に帰属したときは、その債権債務関係は消滅したものとする。但し、その債権債務関係が第三者の権利の目的となっている場合、および第917条第3項の規定する有価証券[=為替手形]の戻り裏書の場合は、この限りではない。

ลักษณะ ๒

สัญญา

第二章

契約

หมวด ๑

ก่อให้เกิดสัญญา

第一節

契約の成立

มาตรา ๓๕๔

คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้น ท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้

第354条

承諾の期間を定めてした契約の申込みは、その期間の経過するまでは撤回することができない。

มาตรา ๓๕๕

บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง และมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสียภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

第355条

隔地者に対して承諾の期間を定めずに[契約の]申込みをした者は、承諾の通知の到達をなお期待し得る間は、その申込みを撤回することができない。

มาตรา ๓๕๖

คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้น เสนอ ณ ที่ใดเวลาใดก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลคนหนึ่งทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย

第356条

面前に居合わせる者に対して承諾の期間を定めずになされた[契約の]申込みは、その場その時に限り、承諾することができる。一方の者から他方の者へ電話を利用してする[契約の]申込みもまた、同様とする。

มาตรา ๓๕๗

คำเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลากำหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คำเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป

第357条

[契約の]申込みは、相手方が申込者に対して直接その承諾を拒否したとき、または第354条から第356条までに定められた期間内に承諾しなかったときは、その効力を失うものとする。

มาตรา ๓๕๘

ถ้าคำบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลา แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคำบอกกล่าวนั้นได้ส่งโดยทางการ ซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในเวลากำหนดไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งโดยพลันว่าคำสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว

ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดั่งว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคำบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา

第358条

I.

承諾の通知が延着した場合であっても、通常の場合にはその期間内に到達すべき時に、公共の通信手段により発送したものであることを知ることができるときは、申込者は、遅滞なく、相手方に対して承諾の通知が延着した旨を通知しなければならない。但し、既に遅延の通知を発してあるときは、この限りでない。

II.

申込者が本条第1項の延着の通知を怠ったときは、承諾の通知は、延着しなかったものと見なす。

มาตรา ๓๕๙

ถ้าคำสนองมาถึงล่วงเวลา ท่านให้ถือว่าคำสนองนั้นกลายเป็นคำเสนอขึ้นใหม่

คำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ท่านให้ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว

第359条

I.

遅延した承諾は、これを新たな申込みと見なす。

II.

申込みに追加をし、制限を付し、またはその他の変更を加えてなされた承諾は、その申込みの拒絶とともに新たな申込みをしたものとみなす。

มาตรา ๓๖๐

บทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖๙ วรรค สอง* นั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่าขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

*

ได้ถูกแก้ไขใหม่โดยมาตรา ๑๕ แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ ๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕)

第360条

第169条第2項*の規定は、申込者が反対の意思を表示した場合、または相手方がその承諾[の意思表示]に先立って申込者の死亡若しくは行為能力の喪失の事実を知っていた場合には、これを適用しない。

*

仏暦2535年、民事商事法典改正第一編施行法第15条により、条文数を改正。

มาตรา ๓๖๑

อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ

ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปกติประเพณีไม่จำเป็นจะต้องมีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ

第361条

I.

隔地者間の契約は、承諾の通知が申込者に到達した時に成立する。

II.

申込者の意思表示または取引上の慣習により承諾の通知を必要としない場合には、契約は、承諾の意思表示と認めるべき事実があった時に成立する。

มาตรา ๓๖๒

บุคคลออกโฆษณาให้คำมั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทำการอันใด ท่านว่าจำต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆ ผู้ใดกระทำการอันนั้น แม้ถึงมิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทำเพราะเห็นแก่รางวัล

第362条

ある行為をした者に報酬を与える旨の確約を広告した者は、たとえそれが報酬の獲得を意図したものでなかったとしても、[現に]その行為をした者に対してその報酬を与える義務を負う。

มาตรา ๓๖๓

ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทำการสำเร็จดังบ่งไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คำมั่นจะถอนคำมั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน

ถ้าคำมั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดังกล่าวมาก่อน จะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ถ้าเช่นนั้นการถอนจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่อบุคคลที่รู้

ถ้าผู้ให้คำมั่นได้กำหนดระยะเวลาให้ด้วยเพื่อทำการอันบ่งนั้นไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ให้คำมั่นได้สละสิทธิที่จะถอนคำมั่นนั้นเสียแล้ว

第363条

I.

第362条の場合において、懸賞広告者は、その指定した行為を完了する者がない間は、懸賞広告を出したときと同一の方法によってその広告を撤回することができる。但し、その広告中に撤回をしない旨を表示したときは、この限りでない。

II.

本条第1項に規定する方法によって撤回をすることができない場合には、他の方法によって撤回をすることができる。この場合において、その撤回は、これを知った者に対してのみ有効とする。

III.

懸賞広告者がその指定した行為をする期間を定めたときは、その撤回をする権利を放棄したものと推定する。

มาตรา ๓๖๔

ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันบ่งไว้ในโฆษณา ท่านว่าเฉพาะแต่คนที่ทำได้ก่อนใครหมดเท่านั้น มีสิทธิจะได้รับรางวัล

ถ้าบุคคลหลายคนกระทำการอันนั้นได้พร้อมกัน ท่านว่าแต่ละคนมีสิทธิจะได้รับรางวัลเป็นส่วนแบ่งเท่าๆกัน แต่ถ้ารางวัลนั้นมีสภาพแบ่งไม่ได้ก็ดี หรือถ้าตามข้อความแห่งคำมั่นนั้น บุคคลแต่คนเดียวจะพึงรับรางวัลก็ดี ท่านให้วินิจฉัยด้วยวิธีจับสลาก

บทบัญญัติดั่งกล่าวมาในวรรคทั้งสองข้างต้นนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าในโฆษณานั้นแสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น

第364条

I.

広告に定めた行為をした者が数人あるときは、最初にその行為をした者のみが報酬を受ける権利を有する。

II.

数人が並行して同時にその行為をした場合には、各自が等しい割合で報酬を受ける権利を有する。但し、報酬がその性質上分割に適しないとき、または広告において一人のみがこれを受けるものとしたときは、抽選でこれを受ける者を定める。

III.

本条第1項および第2項の規定は、広告中にこれと異なる意思を表示したときは、これを適用しない。

มาตรา ๓๖๕

คำมั่นจะให้รางวัลอันมีความประสงค์เป็นการประกวดชิงรางวัลนั้น จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้กำหนดระยะเวลาไว้ในคำโฆษณาด้วย

การที่จะตัดสินว่าผู้ประกวดคนไหนได้กระทำสำเร็จตามเงื่อนไขในคำมั่นภายในเวลากำหนดหรือไม่ก็ดี หรือตัดสินในระหว่างผู้ประกวดหลายคนนั้นว่าคนไหนดีกว่าอย่างไรก็ดี ให้ผู้ชี้ขาดซึ่งได้ระบุชื่อไว้ในโฆษณานั้นเป็นผู้ตัดสิน หรือถ้ามิได้ระบุชื่อผู้ชี้ขาดไว้ก็ให้ผู้ให้คำมั่นเป็นผู้ตัดสิน คำตัดสินอันนี้ย่อมผูกพันผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทุกฝ่าย

ถ้าได้คะแนนทำดีเสมอกัน ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๖๔ วรรคสอง มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี

การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ทำขึ้นประกวดนั้น ผู้ให้คำมั่นจะเรียกให้โอนแก่ตนได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้ในโฆษณาว่าจะพึงโอนเช่นนั้น

第365条

I.

賞品の獲得を争う競技をその趣旨とする懸賞広告は、その広告で[競技]期間が定められている場合に限り、その効力を有する。

II.

競技者のいずれかが[現に]懸賞広告で定められた条件に則って期間内に[規定の]行為を完了したか否かの判定、あるいは競技者中のいずれが他の者より優等[な成績を修めた]かの判定は、懸賞広告で指名された判定人がこれを下す。広告中に判定人の指名がない場合には、懸賞広告者が判定する。この判定は、関係者すべてを拘束する。

III.

[数人の競技者が]同等の成績を修めた場合には、事情に応じて第364条第2項の規定を適用する。

IV.

競技のために作成された物[=作品]の所有権の移転は、広告中にその移転されるべき旨が規定されている場合に限り、懸賞広告者はこれを請求することができる。

มาตรา ๓๖๖

ข้อความใดๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน การที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง ถึงแม้ว่าจะได้จดลงไว้ก็หาเป็นการผูกพันไม่

ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ

第366条

I.

契約の[締結上にある]当事者が、[契約内容のうち、]たとえ一方のみであれその意思表示に従えば、当該契約の要素を成すが故に双方の合意を要するとされる事項の全てについて、未だ合意に至らない間は、なお疑念の余地の残る限り、その契約は未成立とする。[この場合においては、]当事者双方が[既に]了解するに至った個別の事項につき、たとえそれを確認する覚書が作成されたとしても、[当事者を]拘束する力を何ら有しない。

II.

締結上の契約につき証書を作成すべき旨の合意を当事者がしたときは、その契約は、なお疑念の余地の残る限り、その証書が作成されるまでの間、なお未成立とする。

มาตรา ๓๖๗

สัญญาใดคู่สัญญาได้ถือว่าเป็นอันได้ทำกันขึ้นแล้ว แต่แท้จริงยังมิได้ตกลงกันในข้อหนึ่งข้อใด อันจะต้องทำความตกลงให้สำเร็จ ถ้าจะพึงอนุมานได้ว่า ถึงหากจะไม่ทำความตกลงกันในข้อนี้ได้สัญญานั้นก็จะได้ทำขึ้นไซร้ ท่านว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วก็ย่อมเป็นอันสมบูรณ์

第367条

当事者が既に成立したものと見なしている契約において、双方の合意を要するとされた事項中に、実際には合意されていない項目があったときは、たとえその事項につき合意がなかったとしても当該契約は成立したであろうことが推定される限り、[現に]合意された[その他の]事項は、なおその効力を有する。

มาตรา ๓๖๘

สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

第368条

契約は、慣習に配慮しつつ、信義と誠実の要請に則して、これを解釈しなければならない。

หมวด ๒

ผลแห่งสัญญา

第二節

契約の効力

มาตรา ๓๖๙

ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด

第369条

双務契約の当事者の一方は、相手方がその債務の履行あるいはその提供をするまでは、自己の債務の履行を拒むことができる。但し、相手方の債務が弁済期にないときは、この限りでない。

มาตรา ๓๗๐

ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพย์สิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้

ถ้าไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านให้ใช้บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้บังคับแต่เวลาที่ทรัพย์นั้น กลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๙๕ วรรค ๒ นั้นไป

第370条

I.

特定物に関する物権の設定あるいは移転を双務契約の目的とした場合において、その物が債務者の責めに帰することができない事由によって紛失し、または損傷したときは、その紛失または損傷は、債権者の負担に帰する。

II.

不特定物に関する契約については、第195条第2項の規定によりその物が特定した時から、本条第1項の規定を適用する。

มาตรา ๓๗๑

บทบัญญัติที่กล่าวมาในมาตราก่อนนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนมีเงื่อนไขบังคับก่อน และทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทำลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ

ถ้าทรัพย์นั้นเสียหายเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้มิได้ และเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้โดยลดส่วนอันตนจะต้องชำระหนี้ตอบแทนนั้นลงหรือเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ แล้วแต่จะเลือก แต่ในกรณีที่ต้นเหตุเสียหายเกิดเพราะฝ่ายลูกหนี้นั้น ท่านว่าหากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่

第371条

I.

第370条の規定は、停止条件付き双務契約の場合において、その目的物が条件未成就の間に紛失あるいは損傷したときは、適用しない。

II.

その[本条第1項の]目的物が債権者の責めに帰することができない事由によって損傷した場合において、条件が成就したときは、債権者は、その選択に従い、自らの負担すべき反対給付を[損傷に応じて]減じた上で契約の履行の請求し、または解除権の行使をすることができる。[この場合において、]目的物が債務者の責めに帰すべき事由によって損傷したときは、損害賠償の請求を妨げない。

มาตรา ๓๗๒

นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อน ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่

ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้ก็หาเสียสิทธิที่จะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่ แต่ว่าลูกหนี้ได้อะไรไว้เพราะการปลดหนี้ก็ดี หรือใช้คุณวุฒิความสามารถของตนเป็นประการอื่นเป็นเหตุให้ได้อะไรมา หรือแกล้งละเลยเสียไม่ขวนขวายเอาอะไรที่สามารถจะทำได้ก็ดี มากน้อยเท่าไร จะต้องเอามาหักกับจำนวนอันตนจะได้รับชำระหนี้ตอบแทน วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่การชำระหนี้อันฝ่ายหนึ่งยังค้างชำระอยู่นั้นตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นมิต้องรับผิดชอบ ในเวลาเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่รับชำระหนี้

第372条

I.

第370条および第371条に規定する場合を除き、当事者いずれの責めにも帰することができない事由によって債務を履行することができなくなったときは、債務者は、反対給付を受ける権利を有しない。

II.

債権者の責めに帰すべき事由によって債務を履行することができなくなったときは、債務者は、反対給付を受ける権利を失わない。この場合において、債務者が自己の債務を免れたことによって利益を得た場合、または自己の技能を[債務の履行]以外の目的に振り向けることによって利益を得、あるいは詐害の意図から、得べきはずのものを故意に得なかった場合は、その額を限度として、その分を自らが受けるべき反対給付から控除しなければならない。当事者の一方の債務が、他方当事者の受領遅滞中に、債務者の責めに帰すことができない事由によって履行することができなくなった場合もまた、同様とする。

มาตรา ๓๗๓

ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ

第373条

[契約の]当事者が、債務者をその詐害の意図または重過失の責任から免除するべき旨を事前に合意をしても、そのような合意は無効とする。

มาตรา ๓๗๔

ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงก็ได้

ในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น

第374条

I.

契約により当事者の一方が第三者に対してある給付をすることを約したときは、その第三者は、債務者に対して直接にその給付を請求する権利を有する。

II.

本条第1項の場合において、第三者の権利は、その第三者が債務者に対して同項の契約の利益を享受する意思を表示した時に発生する。

มาตรา ๓๗๕

เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามบทบัญญัติแห่งมาตราก่อนแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่

第375条

第374条の規定により第三者の権利が発生した後は、当事者は、これを変更し、または消滅させることができない。

มาตรา ๓๗๖

ข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาดังกล่าวมาในมาตรา ๓๗๔ นั้น ลูกหนี้อาจจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้จะได้รับประโยชน์จากสัญญานั้นได้

第376条

債務者は、第374条の契約に基づく抗弁をもって、その契約の利益を受ける第三者に対抗することができる。

หมวด ๓

มัดจำและกำหนดเบี้ยปรับ

第三節

手付けおよび違約罰

มาตรา ๓๗๗

เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย

第377条

契約締結の際に、何らかの財物が手付けとして交付されたときは、この手付けの交付を、契約成立の証拠と見なす。また手付けは、契約履行の担保としての効力を有する。

มาตรา ๓๗๘

มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(๑)

ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้

(๒)

ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น

(๓)

ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ

第378条

手付け[の処置]に関しては、別段の合意のない限り、次に掲げる各号に従う。

(1)

契約が履行される場合には、手付け交付者の債務に充当し、または[この者に]返還する。

(2)

手付け交付者が自己の債務の履行を怠った場合、またはこの者の責めに帰すべき事由によってその債務が履行できなくなり、あるいは契約自体が解除された場合には、[受領者は]手付けを没収することができる。

(3)

手付け受領者が自己の債務の履行を怠った場合、またはこの者の責めに帰すべき事由によってその債務が履行できなくなった場合には、手付けは[交付者に]返還する。

มาตรา ๓๗๙

ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ถ้าการชำระหนี้อันจะพึงทำนั้นได้แก่งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง หากทำการอันนั้นฝ่าฝืนมูลหนี้เมื่อใด ก็ให้ริบเบี้ยปรับเมื่อนั้น

第379条

債務者が債権者に対して、債務を[全く]履行せず、あるいはその本旨に従って履行しなかった場合には、一定額の金銭を支払うことを約した場合には、債務者が履行遅滞に陥ったときに、その違約罰が科せられる。不作為を内容とする債務の場合においては、債務者がその債務に反して行為したときに、その違約罰が科せられる。

มาตรา ๓๘๐

ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นแทนการชำระหนี้ก็ได้ แต่ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับฉะนั้นแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป

ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ การพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นท่านก็อนุญาตให้พิสูจน์ได้

第380条

I.

債務者が債権者に対して、債務を[全く]履行の場合に違約罰を支払うことを約した場合において、[現に不履行となったときには、]債権者は、債務の弁済に代えて違約罰の支払いを請求することができる。[この場合においては]債権者は、債務者に対して違約罰を選択する旨の意思表示をした時より以降、重ねて債務の弁済を請求することはできないものとする。

II.

債権者が債務不履行に基づく損害賠償を請求することができるときは、債権者は、その損害賠償の最小限度額として、受けるべき違約罰の支払いを請求することができる。[この場合において、実際の損害額が]その違約罰の額を超えるときは、この[超過する]損害額を立証することが許される。

มาตรา ๓๘๑

ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เช่นว่าไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้เป็นต้น นอกจากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้

ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๘๐ วรรค ๒

ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้

第381条

I.

債務者が債権者に対して、債務をその定められた履行期に履行しなかったときなど、その本旨に従って履行しなかった場合に違約罰を支払うことを約した場合において、[現にそのような不履行となったときは、]債権者は、債務の弁済に加えて違約罰の支払いもまた請求することができる。

II.

債権者が債務の本旨に従った履行のなされなかったことに基づいて損害賠償を請求することができる場合には、第380条第2項の規定をこれに適用する。

III.

債権者が[本旨に従わぬ]履行を受領したときは、その受領の際に、違約罰の支払いを請求する権利を留保する旨を債務者に告げた場合に限り、この権利を行使することができる。

มาตรา ๓๘๒

ถ้าสัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นให้เป็นเบี้ยปรับ ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๗๙ ถึง ๓๘๑ มาใช้บังคับ แต่ถ้าเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็เป็นอันขาดไป

第382条

違約罰として、一定額の金銭の支払い以外の給付が約された場合には、第379条から第380条までの規定を適用する。但し[この場合においては、]債権者は違約罰の支払いを請求したときは、[重ねて]損害賠償の請求をすることができないものとする。

มาตรา ๓๘๓

ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป

นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา ๓๗๙ และ ๓๘๒ ท่านให้ใช้วิธีเดียวกันนี้บังคับ ในเมื่อบุคคลสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนกระทำหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งอันใดนั้นด้วย

第383条

I.

支払うべき違約罰が不相応に高額なときは、裁判所は、これを相当な金額まで減じることができる。この相当性の判定には、単なる経済的利害のみならず、債権者のあらゆる正当な利害を斟酌しなければならない。[但し、]一度支払われた違約罰は、これを[改めて]減額するよう請求することはできないものとする。

II.

第379条および第382条の場合に加え、何らかの作為あるいは不作為の場合に違約罰を支払うことが約された場合もまた、[本条第1項と]同様とする。

มาตรา ๓๘๔

ถ้าการชำระหนี้ตามที่สัญญาไว้นั้นไม่สมบูรณ์ การที่ตกลงกันด้วยข้อเบี้ยปรับในการไม่ปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ย่อมไม่สมบูรณ์ดุจกัน แม้ถึงคู่กรณีจะได้รู้ว่าข้อสัญญานั้นไม่สมบูรณ์

第384条

約された通りの給付が[=ある給付の約束が、何らかの事由で]効力を生じないときは、たとえ当事者双方が[約束の当時]そのことを知っていたとしても、不履行の際に違約罰を支払うべき旨の合意もまた当然、その効力を生じない。

มาตรา ๓๘๕

ถ้าลูกหนี้โต้แย้งการริบเบี้ยปรับโดยอ้างเหตุว่าตนได้ชำระหนี้แล้วไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องพิสูจน์การชำระหนี้ เว้นแต่การชำระหนี้อันตนจะต้องทำนั้นเป็นการให้งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง

第385条

債務を完済したことを理由として違約罰の妥当性を争おうとするときは、債務者は、自己の弁済を立証しなければならない。但し、その債務が不作為を内容とするときは、この限りではない。

หมวด ๔

เลิกสัญญา

第四節

契約の解除

มาตรา ๓๘๖

ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่านั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

第386条

I.

契約又は法律の規定により当事者の一方が解除権を有するときは、その解除は、相手方に対する意思表示によってこれを行う。

II.

本条第1項の意思表示は、撤回することができない。

มาตรา ๓๘๗

ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้

第387条

当事者の一方がその債務を履行しない場合において、相手方が相当の期間を定めてその履行の催告をし、その期間内に履行がないときは、相手方は、契約の解除をすることができる。

มาตรา ๓๘๘

ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดี หรือภายในระยะเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ก็ดี และกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ มิพักต้องบอกกล่าวดั่งว่าไว้ในมาตราก่อนนั้นเลย

第388条

契約の性質あるいは当事者の意思表示により、特定の日時または一定の期間内に履行をしなければ契約の目的を達することができない場合において、当事者の一方が履行をしないでその時期を経過したときは、相手方は、第387条の催告をすることなく、直ちにその契約の解除をすることができる。

มาตรา ๓๘๙

ถ้าการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ได้ไซร้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้

第389条

履行の全部または一部が、債務者の責めに帰すべき事由によって不能となったときは、債権者は、契約の解除をすることができる。

มาตรา ๓๙๐

ถ้าในสัญญาใดคู่สัญญาเป็นบุคคลหลายคนด้วยกันอยู่ข้างหนึ่งหรืออีกข้างหนึ่ง ท่านว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก็แต่เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันใช้ ทั้งใช้ต่อบุคคลเหล่านั้นรวมหมดทุกคนด้วย ถ้าสิทธิเลิกสัญญาอันมีแก่บุคคลหนึ่งในจำพวกที่มีสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว สิทธิเลิกสัญญาอันมีแก่คนอื่นๆก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย

第390条

当事者の一方あるいは他方が数人の個人よりなる場合には、契約の解除は、その全員が共同してのみ、あるいはその全員に対してのみ、することができる。解除権を有する当事者のうちの一人についてその解除権が消滅したときは、他の者についてもまた当然に消滅する。

มาตรา ๓๙๑

เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่าย จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น

การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

第391条

I.

当事者の一方がその解除権を行使したときは、各当事者は、その相手方を原状に復させる義務を負う。但し、第三者の権利を害することはできない。

II.

本条第1項の場合において、金銭を返還するべきときは、その受領の時から利息を付さなければならない。

III.

[当事者の一方が相手方のために]労働へ従事し、または物の用益を許諾した場合においては、その原状回復として、相当の報酬を金銭で支払わなければならい。なお、契約において[一定額の]金銭の支払いを以て反対給付とする旨が定められているときは、それに従う。

IV.

解除権の行使は、損害賠償の請求を妨げない。

มาตรา ๓๙๒

การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๖๙

第392条

契約の解除より生じる債務は、第369条の規定に従ってこれを履行しなければならない。

มาตรา ๓๙๓

ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายที่มีสิทธิเลิกสัญญานั้นแถลงให้ทราบภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ว่าจะเลิกสัญญาหรือหาไม่ ถ้ามิได้รับคำบอกกล่าวเลิกสัญญาภายในระยะเวลานั้น สิทธิเลิกสัญญาก็เป็นอันระงับสิ้นไป

第393条

解除権の行使について期間の定めがないときは、相手方は、解除権を有する者に対し、相当の期間を定めて、その期間内に解除をするかどうかを確答すべき旨の催告をすることができる。この場合において、その期間内に解除の通知を受けないときは、解除権は消滅する。

มาตรา ๓๙๔

ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นบุบสลายไปในส่วนสำคัญเพราะการกระทำ หรือเพราะความผิดของบุคคลผู้มีสิทธิเลิกสัญญาก็ดี หรือบุคคลนั้นได้ทำให้การคืนทรัพย์กลายเป็นพ้นวิสัยก็ดี เปลี่ยนแปลงทรัพย์นั้นให้ผิดแผกไปเป็นอย่างอื่นด้วยประกอบขึ้นหรือดัดแปลงก็ดี ท่านว่าสิทธิเลิกสัญญานั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป

แต่ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาได้สูญหาย หรือบุบสลายไปโดยปราศจากการกระทำหรือความผิดของบุคคลผู้มีสิทธิเลิกสัญญาไซร้ สิทธิเลิกสัญญานั้นก็หาระงับสิ้นไปไม่

第394条

I.

解除権を有する者が、自己の行為もしくは過失によって、契約の目的物をその要素部分において損傷し、あるいは返還することができなくなったとき、または、加工もしくは改造によってこれを他の種類の物に変えたときは、解除権は消滅するものとする。

II.

契約の目的物が解除権を有する者の行為または過失によらないで滅失し、または損傷したときは、解除権は消滅しない。

ลักษณะ ๓

จัดการงานนอกสั่ง

第三章

事務管理

มาตรา ๓๙๕

บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ

第395条

委任その他の方式による権限もなく、他人のために事務を管理する者は、本人の真実の意思あるいはそれと推知され得る意思に従い、本人の利益に適合する方法によって、その事務を管理しなければならない。

มาตรา ๓๙๖

ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่ที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น

第396条

本人の真実の意思あるいはそれと推知され得る意思に反して事務管理が行われ、管理者自身もそのことを認識していたであろうときは、管理者は、その事務管理によって生じた損害を、たとえその他の点では何らの責任も負わない場合であっても、本人に賠償しなければならない。

มาตรา ๓๙๗

ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการทำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าทำแล้ว กิจอันนั้นจะไม่สำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำขัดกับความประสงค์ของตัวการเช่นนั้น ท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย

第397条

たとえ事務管理が本人の意思に反する場合であっても、その事実は、もし事務管理が行われなったなら、公共の利益の要請による本人の義務あるいは法定の扶養義務が適時に履行されなかったであろうときは、これを斟酌しない。

มาตรา ๓๙๘

ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่จงใจทำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น

第398条

本人の身体、名誉または財産に対する急迫の危害を免れさせるために事務管理をしたときは、管理者は、故意および重大な過失に対してのみ、その責任を負う。

มาตรา ๓๙๙

ผู้จัดการต้องบอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ว่าตนได้เข้าจัดการงานแทน และต้องรอฟังคำวินิจฉัยของตัวการ เว้นแต่ภัยจะมีขึ้นเพราะการที่หน่วงเนิ่นไว้ นอกจากนี้ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๘๐๙ ถึง ๘๑๑ อันบังคับแก่ตัวแทนนั้นมาใช้บังคับแก่หน้าที่ของผู้จัดการด้วยโดยอนุโลม

第399条

管理者は、事務管理を[本人に]代わって開始したことを、できる限り早急に本人に通知しなければならず、また、[事務管理が]遅延しても危険がない限り、本人の判断を待たなければならない。これに加え、委任に関する第809条ないし第811条の規定を管理者の義務につき準用する。

มาตรา ๔๐๐

ถ้าผู้จัดการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น

第400条

管理者が行為無能力者[=禁治産者]のときは、不法行為に基づく損害賠償責任および不当利得の返還義務に関する規定によってのみ、責任を負う。

มาตรา ๔๐๑

ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ของตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะเรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และบทบัญญัติมาตรา ๘๑๖ วรรค ๒ นั้น ท่านก็ให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

อนึ่ง ในกรณีที่กล่าวมาในมาตรา ๓๙๗ นั้น แม้ถึงว่าที่เข้าจัดการงานนั้นจะเป็นการขัดกับความประสงค์ของตัวการก็ดี ผู้จัดการก็ยังคงมีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้นอยู่

第401条

I.

事務管理が本人の利益に合致し、且つ本人の真実の意思あるいはそれと推知され得る意思に即するものであるときは、管理者は、代理人[=受任者]と同様に、自己が負担した費用の償還を請求することができる。この場合においては、第816条第2項の規定[委任者に対する義務履行の請求]を準用する。

II.

事務管理がたとえ本人の意思に反するものであっても、第397条の規定する場合においては、管理者はなお、費用の償還を請求することができる。

มาตรา ๔๐๒

ถ้าเงื่อนไขดั่งว่ามาในมาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจำต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มาเพราะเขาเข้าจัดการงานนั้นให้แก่ผู้จัดการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้

ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดทำนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี

第402条

I.

第401条に規定された要件が満たされない場合には、本人は、不当利得の返還に関する規定に従い、事務管理の結果受け取った全ての物を、管理者に引き渡さなければならない。

II.

本人が事務管理を追認した場合には、その時々の事案に従い、代理人[=委任]に関する本法典の規定を準用する。

มาตรา ๔๐๓

ถ้าผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนาจะเรียกให้ตัวการชดใช้คืน ผู้จัดการก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้น

การที่บิดารมารดา ปู่ย่า ตายาย บำรุงรักษาผู้สืบสันดานเป็นทางอุปการะก็ดี หรือกลับกันเป็นทางปฏิการะก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีเจตนาจะเรียกให้ผู้รับประโยชน์ชดใช้คืน

第403条

I.

管理者に本人から費用の償還を求める意思が初めからないときは、管理人は、その権利を有しない。

II.

父母あるいは祖父母が慈悲心からその直系卑属を扶養する場合、またはその逆に恩返しとして、後者が前者を扶養する場合において、なお疑念の余地の残る限り、その費用の償還を請求する意思はないものと推定する。

มาตรา ๔๐๔

ถ้าผู้จัดการทำแทนผู้หนึ่งโดยสำคัญว่าทำแทนผู้อื่นอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้เป็นตัวการคนก่อนผู้เดียวมีสิทธิและหน้าที่อันเกิดแต่การที่ได้จัดทำไปนั้น

第404条

管理者が他人の事務を管理するに当たって、[その他人とは]別の者のために行為していると信じていたときは、前者[を実際の本人とし、その者]のみが事務管理から生じる権利を得、義務を負う。

มาตรา ๔๐๕

บทบัญญัติทั้งหลายที่กล่าวมาในสิบมาตราก่อนนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าทำการงานของผู้อื่นโดยสำคัญว่าเป็นการงานของตนเอง

ถ้าบุคคลใดถือเอากิจการของผู้อื่นว่าเป็นของตนเอง ทั้งที่รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าตัวการจะใช้สิทธิเรียกร้องบังคับโดยมูลดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙๕, ๓๙๖, ๓๙๙ และ ๔๐๐ นั้นก็ได้ แต่เมื่อได้ใช้สิทธิดั่งว่ามานี้แล้ว ตัวการจะต้องรับผิดต่อผู้จัดการดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐๒ วรรค ๑

第405条

I.

ある者が他人の事務を自己のものと信じつつ管理した場合には、第395条ないし第404条の規定は、これを適用しない。

II.

ある者が他人の事務を、自分にその権限がないことを知っていながら、自分のものとして管理したときは、本人は、第395条、第396条、第399条、および第402条の基づく請求権を行使することができる。但し、これらの請求権を行使するときは、本人は、管理者に対して第402条第1項に基づく義務を負う。

ลักษณะ ๓

จัดการงานนอกสั่ง

第三章

事務管理

มาตรา ๓๙๕

บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ

第395条

委任その他の方式による権限もなく、他人のために事務を管理する者は、本人の真実の意思あるいはそれと推知され得る意思に従い、本人の利益に適合する方法によって、その事務を管理しなければならない。

มาตรา ๓๙๖

ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้น เป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่ที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น

第396条

本人の真実の意思あるいはそれと推知され得る意思に反して事務管理が行われ、管理者自身もそのことを認識していたであろうときは、管理者は、その事務管理によって生じた損害を、たとえその他の点では何らの責任も負わない場合であっても、本人に賠償しなければならない。

มาตรา ๓๙๗

ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการทำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าทำแล้ว กิจอันนั้นจะไม่สำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำขัดกับความประสงค์ของตัวการเช่นนั้น ท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย

第397条

たとえ事務管理が本人の意思に反する場合であっても、その事実は、もし事務管理が行われなったなら、公共の利益の要請による本人の義務あるいは法定の扶養義務が適時に履行されなかったであろうときは、これを斟酌しない。

มาตรา ๓๙๘

ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่จงใจทำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น

第398条

本人の身体、名誉または財産に対する急迫の危害を免れさせるために事務管理をしたときは、管理者は、故意および重大な過失に対してのみ、その責任を負う。

มาตรา ๓๙๙

ผู้จัดการต้องบอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ว่าตนได้เข้าจัดการงานแทน และต้องรอฟังคำวินิจฉัยของตัวการ เว้นแต่ภัยจะมีขึ้นเพราะการที่หน่วงเนิ่นไว้ นอกจากนี้ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๘๐๙ ถึง ๘๑๑ อันบังคับแก่ตัวแทนนั้นมาใช้บังคับแก่หน้าที่ของผู้จัดการด้วยโดยอนุโลม

第399条

管理者は、事務管理を[本人に]代わって開始したことを、できる限り早急に本人に通知しなければならず、また、[事務管理が]遅延しても危険がない限り、本人の判断を待たなければならない。これに加え、委任に関する第809条ないし第811条の規定を管理者の義務につき準用する。

มาตรา ๔๐๐

ถ้าผู้จัดการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงตามบทบัญญัติว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น

第400条

管理者が行為無能力者[=禁治産者]のときは、不法行為に基づく損害賠償責任および不当利得の返還義務に関する規定によってのみ、責任を負う。

มาตรา ๔๐๑

ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ของตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะเรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และบทบัญญัติมาตรา ๘๑๖ วรรค ๒ นั้น ท่านก็ให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

อนึ่ง ในกรณีที่กล่าวมาในมาตรา ๓๙๗ นั้น แม้ถึงว่าที่เข้าจัดการงานนั้นจะเป็นการขัดกับความประสงค์ของตัวการก็ดี ผู้จัดการก็ยังคงมีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้นอยู่

第401条

I.

事務管理が本人の利益に合致し、且つ本人の真実の意思あるいはそれと推知され得る意思に即するものであるときは、管理者は、代理人[=受任者]と同様に、自己が負担した費用の償還を請求することができる。この場合においては、第816条第2項の規定[委任者に対する義務履行の請求]を準用する。

II.

事務管理がたとえ本人の意思に反するものであっても、第397条の規定する場合においては、管理者はなお、費用の償還を請求することができる。

มาตรา ๔๐๒

ถ้าเงื่อนไขดั่งว่ามาในมาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจำต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มาเพราะเขาเข้าจัดการงานนั้นให้แก่ผู้จัดการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้

ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดทำนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี

第402条

I.

第401条に規定された要件が満たされない場合には、本人は、不当利得の返還に関する規定に従い、事務管理の結果受け取った全ての物を、管理者に引き渡さなければならない。

II.

本人が事務管理を追認した場合には、その時々の事案に従い、代理人[=委任]に関する本法典の規定を準用する。

มาตรา ๔๐๓

ถ้าผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนาจะเรียกให้ตัวการชดใช้คืน ผู้จัดการก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้น

การที่บิดารมารดา ปู่ย่า ตายาย บำรุงรักษาผู้สืบสันดานเป็นทางอุปการะก็ดี หรือกลับกันเป็นทางปฏิการะก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีเจตนาจะเรียกให้ผู้รับประโยชน์ชดใช้คืน

第403条

I.

管理者に本人から費用の償還を求める意思が初めからないときは、管理人は、その権利を有しない。

II.

父母あるいは祖父母が慈悲心からその直系卑属を扶養する場合、またはその逆に恩返しとして、後者が前者を扶養する場合において、なお疑念の余地の残る限り、その費用の償還を請求する意思はないものと推定する。

มาตรา ๔๐๔

ถ้าผู้จัดการทำแทนผู้หนึ่งโดยสำคัญว่าทำแทนผู้อื่นอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้เป็นตัวการคนก่อนผู้เดียวมีสิทธิและหน้าที่อันเกิดแต่การที่ได้จัดทำไปนั้น

第404条

管理者が他人の事務を管理するに当たって、[その他人とは]別の者のために行為していると信じていたときは、前者[を実際の本人とし、その者]のみが事務管理から生じる権利を得、義務を負う。

มาตรา ๔๐๕

บทบัญญัติทั้งหลายที่กล่าวมาในสิบมาตราก่อนนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าทำการงานของผู้อื่นโดยสำคัญว่าเป็นการงานของตนเอง

ถ้าบุคคลใดถือเอากิจการของผู้อื่นว่าเป็นของตนเอง ทั้งที่รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิจะทำเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าตัวการจะใช้สิทธิเรียกร้องบังคับโดยมูลดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙๕, ๓๙๖, ๓๙๙ และ ๔๐๐ นั้นก็ได้ แต่เมื่อได้ใช้สิทธิดั่งว่ามานี้แล้ว ตัวการจะต้องรับผิดต่อผู้จัดการดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๔๐๒ วรรค ๑

第405条

I.

ある者が他人の事務を自己のものと信じつつ管理した場合には、第395条ないし第404条の規定は、これを適用しない。

II.

ある者が他人の事務を、自分にその権限がないことを知っていながら、自分のものとして管理したときは、本人は、第395条、第396条、第399条、および第402条の基づく請求権を行使することができる。但し、これらの請求権を行使するときは、本人は、管理者に対して第402条第1項に基づく義務を負う。

ลักษณะ ๔

ลาภมิควรได้

第四章

不当利得

มาตรา ๔๐๖

บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย

บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มา เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย

第406条

I.

法律上の原因なく他人の給付行為あるいはその他の方法によって財物を得、そのためにその他人に損失を及ぼした者は、その財物を返還する義務を負う。その際、債権債務関係の存在あるいは不存在の承認もまた、これを[本条第1文の意味における]給付行為と見なす。

II.

この[本条第1項の意味の]規定は、成立しなかった[給付]原因あるいは[一旦成立後]既に消失した原因に基づいて財物を得た場合にも、これを適用する。

มาตรา ๔๐๗

บุคคลใดได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่

第407条

給付義務のないことを知りながら、自由意志により、あたかも債務の履行のように給付をした者は、その給付したものの返還を請求することができない。

มาตรา ๔๐๘

บุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ไม่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ คือ

(๑)

บุคคลผู้ชำระหนี้อันมีเงื่อนเวลาบังคับเมื่อก่อนถึงกำหนดเวลานั้น

(๒)

บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้ว

(๒)

บุคคลผู้ชำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม

第408条

次に掲げる者は、給付したものの返還を請求することができない。

(1)

履行期の定められた債務をその到来に先立って履行した者。

(2)

既に消滅時効の完成した債務を履行した者。

(3)

道徳上の務めとして、あるいは社会的な儀礼に則って履行した者。

มาตรา ๔๐๙

เมื่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปโดยสำคัญผิด เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ผู้ทำการโดยสุจริตได้ทำลายหรือลบล้างเสียซึ่งเอกสารอันเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ก็ดี ยกเลิกหลักประกันเสียก็ดี สิ้นสิทธิไปเพราะขาดอายุความก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้ไม่จำต้องคืนทรัพย์

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ไม่ขัดขวางต่อการที่บุคคลผู้ได้ชำระหนี้นั้นจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ถ้าจะพึงมี

第409条

I.

債務者でない者が錯誤によって債務の弁済をした場合において、債権者が善意で債権証書を滅失させ若くは損傷し、担保を放棄し、または消滅時効によってその債権を失ったときは、その債権者は、受領したものを返還する義務を負わない。

II.

本条第1項の規定は、弁済をした者が債務者に対して、また保証人がいる場合にはその保証人に対して、求償権を行使することを妨げない。

มาตรา ๔๑๐

บุคคลใดได้กระทำการชำระหนี้โดยมุ่งต่อผลอย่างหนึ่ง แต่มิได้เกิดผลขึ้นเช่นนั้น ถ้าและบุคคลนั้นได้รู้มาแต่แรกว่าการที่จะเกิดผลนั้นเป็นพ้นวิสัยก็ดี หรือได้เข้าป้องปัดขัดขวางเสีย มิให้เกิดผลเช่นนั้นโดยอาการอันฝ่าฝืนความสุจริตก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นไม่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์

第410条

ある成果を意図して給付行為がなされたにもかかわらず、その成果が生じなかった場合において、その給付者がその成果の達成の不可能であることを初めから知っていたとき、または信義と誠実に反する仕方で成果の達成を妨害したときは、その給付者は、給付したものの返還を請求することができない。

มาตรา ๔๑๑

บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่

第411条

給付行為が法令による禁止に反し、あるいは善良な風俗に反するものであるときは、その給付者は、[給付した]財貨の返還を請求することが許されない。

มาตรา ๔๑๒

ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน

第412条

金銭の支払いによって不当利得が生じた場合においては、その全額を返還しなければならない。但し、その受益者が受領の際に善意であったときは、返還請求の時点でなお存する利益を限度に返還すれば足りる。

มาตรา ๔๑๓

เมื่อทรัพย์สินอันจะต้องคืนนั้นเป็นอย่างอื่นนอกจากจำนวนเงิน และบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต ท่านว่าบุคคลเช่นนั้นจำต้องคืนทรัพย์สินเพียงตามสภาพที่เป็นอยู่ และมิต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลาย แต่ถ้าได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือบุบสลายเช่นนั้นก็ต้องให้ไปด้วย

ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินไว้โดยทุจริต ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบในการสูญหายหรือบุบสลายนั้นเต็มภูมิ แม้กระทั่งการสูญหายหรือบุบสลายจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็คงต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

第413条

I.

返還すべき給付が金銭の支払い以外のものであり、且つそれを善意で受領したときは、受益者は、それを現状のまま返還しなければならない。この場合においては、受益者は、受領したものの紛失あるいは損傷に対する責任を負わない。但し、紛失あるいは損傷に対する損害賠償として受けたったものがある場合には、これもまた返還しなければならない。

II.

受領の際に悪意であったときは、受益者は、受領したもののが紛失し、あるいは損傷を受けた場合には、たとえそれが不可抗力に因るものであっても、その全額においてに責任を負う。但し、[受益者が]如何なる事情の下であっても、紛失あるいは損傷が自ずと生じたであろうことを証明し得た場合は、この限りではない。

มาตรา ๔๑๔

ถ้าการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะสภาพแห่งทรัพย์สินที่ได้รับไว้นั้นเองก็ดี หรือเพราะเหตุอย่างอื่นก็ดี และบุคคลได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ท่านว่าบุคคลเช่นนั้นจำต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน

ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินนั้นไว้โดยทุจริต ท่านว่าต้องใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเต็มจำนวน

第414条

I.

[不当利得として]受領した財物の返還がその性状その他の原因によって不可能な場合において、受益者が受領の際に善意であったときは、受益者は、返還請求の時点でなお存する利益を限度に、その不当利得を返還すれば足りる。

II.

[本条第1項の場合において、]受領の際に悪意であったときは、受益者は、受領した財物の価額を全額返還しなければならない。

มาตรา ๔๑๕

บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่

ถ้าผู้ที่ได้รับไว้จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใด ให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่เรียกคืนนั้น

第415条

I.

[不当利得を]善意で受領した者は、なお善意である限り、受領した財物から生じる果実を収得する権利を有する。

II.

[不当利得の]受益者が受領した財物を返還する義務を負う場合においては、その受益者は、返還請求を受けた時点より悪意であると推定する。

มาตรา ๔๑๖

ค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การเพื่อรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ท่านว่าต้องชดใช้แก่บุคคลผู้คืนทรัพย์สินนั้นเต็มจำนวน

แต่บุคคลเช่นว่านี้จะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามธรรมดาเพื่อบำรุงซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น หรือค่าภาระติดพันที่ต้องเสียไปในระหว่างที่ตนคงเก็บดอกผลอยู่นั้นหาได้ไม่

第416条

I.

[不当利得として]受領した物の保存あるいは修繕に要した相当の費用は、[それを支出した]返還義務者に対してその全額を償還しなければならない。

II.

この[不当利得の返還義務を負う]者は、その[不当利得として受領した]物から果実を収取した期間に関しては、その物の保存あるいは修繕に要した通常の費用、およびその物に附随する義務の履行に要した費用は、その償還を請求することはできない。

มาตรา ๔๑๗

ในส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวมาในวรรคต้นแห่งมาตราก่อนนั้น บุคคลผู้คืนทรัพย์สินจะเรียกให้ชดใช้ได้แต่เฉพาะที่เสียไปในระหว่างที่ตนทำการโดยสุจริต และเมื่อทรัพย์สินนั้นได้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเพราะค่าใช้จ่ายนั้นในเวลาที่คืนและจะเรียกได้ก็แต่เพียงเท่าราคาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

อนึ่ง บทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๑๕ วรรค ๒ นั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยแล้วแต่กรณี

第417条

I.

第416条第1項に規定されたものを除くその他の費用は、[不当利得として受領した]物の返還義務を負う者は、善意でその物を管理していた期間のものに限り、その償還を請求することができる。さらに、費用の支出によって物の価額が増加した場合においては、その増加額の償還もまた、請求することができる。

II.

第415条第2項の規定は、[本条第1項の場合に]これを適用する。

มาตรา ๔๑๘

ถ้าบุคคลรับทรัพย์สินอันมิควรได้ไว้โดยทุจริต และได้ทำการดัดแปลงหรือต่อเติมขึ้นในทรัพย์สินนั้น ท่านว่าบุคคลเช่นนั้นต้องจัดทำทรัพย์สินนั้นให้คืนคงสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองแล้วจึงส่งคืน เว้นแต่เจ้าของทรัพย์สินจะเลือกให้ส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของจะใช้ราคาค่าทำดัดแปลงหรือต่อเติม หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นราคาทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นนั้นก็ได้ แล้วแต่จะเลือก

ถ้าในเวลาที่จะต้องคืนทรัพย์นั้นเป็นพ้นวิสัยจะทำให้ทรัพย์สินคืนคงสภาพเดิมได้ หรือถ้าทำไปทรัพย์สินนั้นจะบุบสลายไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ได้รับไว้จะต้องส่งคืนทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่ และไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเพราะการดัดแปลงหรือต่อเติมนั้นได้

第418条

I.

不当利得の受益者が受領の際に悪意であった場合において、その財物に改造あるいは拡張を加えたときは、その受益者は、自己の費用で原状に戻した上で財物を返還しなければならない。但し、その財物の所有者が現状のまま返還するよう請求した場合は、この限りではない。この場合においては、財物の所有者はその選択に従って、改造あるいは拡張に要した費用を償還するか、または増加額を支払うことができる。

II.

[本条第1項の場合において、不当利得として]受領した財物を返還すべき時点において、その原状回復が不可能なとき、または[現状に復せしめようとすると]その財物が破損される虞があるときは、[不当利得の]受益者は、その物を現状のまま返還しなければならない。この場合においては、改造または拡張によって生じた増加額の償還を請求することはできない。

มาตรา ๔๑๙

ในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดี เมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น

第419条

不当利得の返還の訴えは、損失を受けた者がこれを請求できることを知った時点から1年を経過したとき、またはその請求権が成立した時点から10年を経過したときは、これを提起することはできない。

ลักษณะ ๕

ละเมิด

第五章

不法行為

หมวด ๑

ความรับผิดเพื่อละเมิด

第一節

不法行為責任

มาตรา ๔๒๐

ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

第420条

故意または過失によって他人に対してその生命、身体、健康、自由、財産、あるいはその他の権利を違法に侵害した者は、不法行為を犯した者として、その損害を賠償しなければならない。

มาตรา ๔๒๑

การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

第421条

単に他人に損害を及ぼすことを目的になされる権利の行使は、これを不法な行為とする。

มาตรา ๔๒๒

ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด

第422条

他人の保護を目的とする法規に違反することによって損害が生じたときは、その法規に違反した者が[不法行為の]責めを負うものと推定する。

มาตรา ๔๒๓

ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

第423条

I.

真実に反する言辞を唱えあるいは流布することによって、他人の名声あるいは威信を損ない、またはその生業をその他の形で脅かし、あるいは事業の成功を妨害した者は、たとえ真実に反することを知らなかった場合であっても、知り得たはずの限り、そのことによって生じた損害を賠償しなければならない。

II.

真実に反する通知を、発信者がそのことを知らずに伝えた場合において、発信者自身あるいは受信者がそのことに正当な利益を有するときは、発信者は、そのことのみによって損害賠償の責任を負うことはない。

มาตรา ๔๒๔

ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่

第424条

不法行為による民事責任の有無を判断し、また損害賠償額を確定するに当たっては、裁判所は、刑事責任の関する刑法の規定に拘束されることはなく、また、行為者が刑法上の有罪判決を受けるか否かを斟酌する必要もない。

มาตรา ๔๒๕

นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

第425条

[ある事業のために]他人を使用する者は、被用者が事業の執行中に犯した不法行為の結果について、被用者と連帯してその責任を負わなければならない。

มาตรา ๔๒๖

นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น

第426条

被用者が犯した不法行為によって生じた損害を使用者が第三者に賠償したときは、使用者は、その被用者に対して求償権を有する。

มาตรา ๔๒๗

บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม

第427条

第425条および第426条は、本人と代理人[との関係]にこれを準用する。

มาตรา ๔๒๘

ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

第428条

[ある仕事を他人に]注文した者は、それを請負った者が仕事の執行中に第三者に加えた損害については、その責任を負わない。但し、仕事の注文あるいは指図において、または請負人の選任において注文者に過失のあったときは、この限りではない。

มาตรา ๔๒๙

บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น

第429条

各人は、たとえ未成年あるいは心神喪失を理由に行為無能力であっても、自己の犯した不法行為の結果について、その責任を負わなければならない。そうした者の親あるいは後見人は、その者と連帯して責任を負わなければならない。但し、その者を監督するに当たり、義務の遂行に必要な相当な注意を払ったことを証明し得たときは、その限りではない。

มาตรา ๔๓๐

ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร

第430条

師匠、親方、ならびに行為無能力者を常時あるいは暫時監督する義務を引き受けたその他の者は、自己の監督下にある行為無能力者が監督中に犯した不法行為について、監督義務の遂行に必要な相当の注意を払わなかったことの証明がある限りにおいて、この者と連帯してその責任を負わなければならない。

มาตรา ๔๓๑

ในกรณีที่กล่าวมาในสองมาตราก่อนนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๒๖ มาใช้บังคับด้วย โดยอนุโลม

第431条

第426条の規定は、これを第429条および第430条の場合に準用する。

มาตรา ๔๓๒

ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย

อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย

ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น

第432条

I.

数人の個人が共同の不法行為によって他人に損害を加えたときは、それらの個人は連帯して損害を賠償する責任を負う。共同行為者のうち、いずれの者がその損害を加えたか確知することができないときも、また同様とする。

II.

不法行為を教唆または幇助した者は、共同不法行為者と見なす。

III.

連帯して損害賠償の責任を負う者は、各人が等しい割合でその義務を負担する。但し、裁判所が別段の判断を下したときは、その限りではない。

มาตรา ๔๓๓

ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆ ก็ได้

第433条

I.

動物が原因となって損害が生じたときは、その動物の所有者、あるいは所有者に代わって飼育および管理を引き受けた者は、被害者に対してその動物が原因となって生じた損害を賠償する責任を負う。但し、その飼育および管理に当たり、動物の種類および性質ならびにその他の事情に従い相当の注意を払ったこと、または、たとえそのような注意を払ったとしても同様の損害が生じたであろうことを証明し得たときは、その限りではない。

II.

本条第1項の規定に従って損害賠償の責任を負う者は、その動物を不当に刺激しあるいは挑発した者、または、その動物を刺激しあるいは挑発したその他の動物の所有者に対して、求償権を行使することができる。

มาตรา ๔๓๔

ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย

ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหือเจ้าของจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้นั้นก็ได้

第434条

I.

建物その他の工作物の建造に瑕疵があったため、またはそれらの保存方法に不十分であったために、損害が生じたときは、その建物その他の工作物の占有者は、その被害を賠償する責任を負う。但し、占有者が損害の発生を防止するために必要な相当の注意を払ったときは、所有者がその損害を賠償しなければならない。

II.

本条第1項の規定は、竹木の栽植またはそれらの支持に瑕疵がある場合にも、これを適用する。

III.

本条第1項および第2項の場合において、損害の発生につき責任を負う者が他にいるときは、占有者あるいは所有者は、その者に対して求償権を行使することができる。

มาตรา ๔๓๕

บุคคลใดจะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น บุคคลผู้นั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้

第435条

他人の所有する建物その他の工作物が原因となって損害を被る虞のある者は、その損害の発生を防止するために必要な対策を施すよう請求することができる。

มาตรา ๔๓๖

บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร

第436条

建物に滞在する者は、建物から物が落下したため、または建物から物を不適切な場所に投棄したために生じた損害について、その責任を負わなければならない。

มาตรา ๔๓๗

บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง

ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย

第437条

I.

原動機によって駆動する何らかの運搬手段を占有し、あるいはその[運用を]監督する者は、それが原因で生じた損害について、その責任を負わなければならない。但し、その損害が不可抗力によって、または被害者自身の[故意または過失の]責任によって生じたことを証明し得たときは、その限りではない。

II.

本条第1項の規定は、その本性から危険な物、またはその使用目的あるいは機械的な挙動の点において危険を伴う物を占有する者にも、これを適用する。

หมวด ๒

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

第二節

不法行為に基づく損害賠償金

มาตรา ๔๓๘

ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

第438条

I.

損害賠償の態様と範囲は、[各事案の]事情と不法行為[責任]の重大さを考慮して、裁判所がこれを決定する。

II.

損害の賠償とは即ち、不法行為のために被害者が失った財物を回復すること、あるいはその価額を弁償すること、ならびに、発生したその他いかなる損害にせよ、賠償すべく規定された全ての損害を弁償することを指す。

มาตรา ๔๓๙

บุคคลผู้จำต้องคืนทรัพย์อันผู้อื่นต้องเสียไปเพราะละเมิดแห่งตนนั้น ยังต้องรับผิดชอบตลอดถึงการที่ทรัพย์นั้นทำลายลงโดยอุบัติเหตุ หรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่นโดยอุบัติเหตุ หรือทรัพย์นั้นเสื่อมเสียลงโดยอุบัติเหตุนั้นด้วย เว้นแต่เมื่อการที่ทรัพย์สินทำลาย หรือตกเป็นพ้นวิสัยจะคืนหรือเสื่อมเสียนั้น ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการทำละเมิด ก็คงจะต้องตกไปเป็นไปอย่างนั้นอยู่เอง

第439条

不法行為を加えて他人から奪取した財物を返還する義務を負う者は、その財物が偶発的に滅失したとき、物の返還がその他の原因によって偶発的に不能となったとき、あるいはその物が偶発的に劣化したときにも、その責任を負わなければならない。但し、たとえ不法行為が加えられなかったとしても、その物が滅失し、返還が不能となり、あるいは劣化したであろう場合は、その限りではない。

มาตรา ๔๔๐

ในกรณีที่ต้องใช้ราคาทรัพย์อันได้เอาของเขาไปก็ดี ในกรณีที่ต้องใช้ราคาทรัพย์อันลดน้อยลงเพราะบุบสลายก็ดี ฝ่ายผู้ต้องเสียหายจะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นก็ได้

第440条

被害者から奪取した物の価額を賠償すべき場合、または物の損傷による価額の減少を賠償すべき場合においては、被害者は、価額評価の基準となる時点より、その賠償額につき利息を請求することができる。

มาตรา ๔๔๑

ถ้าบุคคลจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ เพราะเอาสังหาริมทรัพย์ของเขาไปก็ดี หรือเพราะทำของเขาให้บุบสลายก็ดี เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่เอาไป หรือขณะที่ทำให้บุบสลายนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นอันหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้กระทั่งบุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิอย่างอื่นเหนือทรัพย์นั้น เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตน หรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน

第441条

動産の奪取あるいは損傷を原因としてその損害を賠償すべき場合において、賠償義務を負う者が、奪取あるいは損傷の時点におけるその動産の占有者に対して賠償したときは、たとえ動産の所有権その他の権利が第三者に存する場合であっても、賠償義務者は、以後その責任を免れることができる。但し、第三者に権利の存することを知っていたか、あるいは知らなかったことにつき賠償義務者に重大な過失のあるときは、その限りではない。

มาตรา ๔๔๒

ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๓ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

第442条

損害の発生につき、被害者自身にも[故意または過失の]責任があるときは、第223条の規定を準用する。

มาตรา ๔๔๓

ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆอีกด้วย

ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย

ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

第443条

I.

人の殺害の場合における損害賠償とは即ち、火葬費およびその他必要な費用[の弁償]を指す。

II.

直ちに死に至らなかったときは、[救命のための]医療費および就労能力の喪失による不利益もまた、損害賠償[の範囲]に含まれる。

III.

殺害の結果、第三者が法律で保障された扶養を受けられなくなったときは、この者は、その損害の賠償を請求することができる。

มาตรา ๔๔๔

ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและในเวลาอนาคตด้วย

ถ้าในเวลาที่พิพากษาคดี เป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นได้มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวในคำพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษานั้นอีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีก็ได้

第444条

I.

身体あるいは健康に損害が加えられた場合においては、被害者は、負担した費用の償還、ならびに、就労能力を完全あるいは部分的に喪失したことによる、現在および将来における損失の賠償を請求することができる。

II.

判決の言渡しの時点において、現実の損害の範囲を未だに明確に予測することができないときは、裁判所は、その判決中において、最高で2年間を限度に判決の変更を留保する旨を宣言することができる。

มาตรา ๔๔๕

ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย

第445条

人を殺害し、あるいは身体もしくは健康に損害を加えた場合、または自由を侵害した場合において、被害者が第三者に対して、その家庭あるいは営業所において労務を提供する法律上の義務を負っているときは、[被害者に対して]損害賠償の義務を負う者は、この第三者に対してもまた、労務の提供を受けられなかったことにつき、その損害を賠償しなければならない。

มาตรา ๔๔๖

ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว

อนึ่งหญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตน ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้

第446条

I.

身体あるいは健康に損害を加えた場合、ならびに自由を侵害した場合においては、被害者は、財産以外の損害についてもまた、その賠償を請求することができる。この請求権は、譲渡することも、相続することもできない。但し、[当事者が]契約を以てこの請求権を承認したとき、またはこの請求権に基づいて既に訴えが提起されているときは、その限りではない。

II.

反道徳的な犯罪行為の被害を受けた女性もまた、[本条第1項と]同様の請求権を有する。

มาตรา ๔๔๗

บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้

第447条

他人の名誉を毀損した者に対しては、裁判所は、被害者の請求に基づき、損害賠償に代えて、または損害賠償とともに、名誉を回復するのに適当な処分を命ずることができる。

มาตรา ๔๔๘

สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด

แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ

第448条

I.

不法行為による損害賠償の請求権は、被害者がその不法行為および加害者を知った時から1年間を経過したとき、または不法行為の時から10年を経過したとき、その消滅時効が完成する。

II.

損害賠償を請求する訴えが刑法上の犯罪行為を理由に提起された場合において、刑法がこの犯罪に[第1項の規定]より長期の時効期間を定めているときは、この長期の時効期間に従う。

หมวด ๓

นิรโทษกรรม

第三節

免責

มาตรา ๔๔๙

บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดี กระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้

第449条

I.

合法的な防衛行為、ならびに合法的な命令に従う行為をした者は、たとえ他人に損害を加えることがあっても、その損害を賠償する責任を負わない。

II.

[本条第1項の場合において、]被害者は、合法的な防衛行為の原因となった者、または[合法的な]命令を不法に発した者に対して、その損害の賠償を請求することができる。

มาตรา ๔๕๐

ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย

ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น

ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุ บุคคลเช่นว่านี้หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้

第450条

I.

公共の利益に対する急迫した危難を避けるために、[他人の]物を損傷あるいは破壊した者は、その損害が[避けられた]危難[の重大さ]に比べてやむを得ないものである限り、損害賠償の責任を負わない。

II.

専ら個人的な事柄に対する急迫した危難を避けるために、[他人の]物を損傷あるいは破壊した者は、その物を回復する責任を負う。

III.

[他人の]物から、自己あるいは第三者の権利に対して急迫した危難が生じた場合において、それを避けるために、その物を損傷あるいは破壊した者は、その損害が[避けられた]危難[の重大さ]に比べてやむを得ないものである限り、損害賠償の責任を負わない。但し、その危難が生じたことにつき、物を損傷あるいは破壊した者自身に[故意または過失の]責任があるときは、この者は、その損害を賠償しなければならない。

มาตรา ๔๕๑

บุคคลใช้กำลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้าตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้ และถ้ามิได้ทำในทันใด มีภัยอยู่ด้วยการที่ตนจะได้สมดั่งสิทธินั้นจะต้องประวิงไปมากหรือถึงแก่สาบสูญได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

การใช้กำลังดั่งกล่าวมาใยวรรคก่อนนั้น ท่านว่าต้องจำกัดครัดเคร่งแต่เฉพาะที่จำเป็นเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายเท่านั้น

ถ้าบุคคลผู้ใดกระทำการดั่งกล่าวมาในวรรคต้น เพราะหลงสันนิษฐานพลาดไปว่ามีเหตุอันจำเป็นที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลอื่น แม้ทั้งการที่หลงพลาดไปนั้นจะมิใช่เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน

第451条

I.

自己の権利を防衛するために自力救済に訴えた者は、裁判所あるいは管轄官庁の救済を待つことを許さない状況にあり、且つ即座の行動なくしては、その権利の実現が著しく困難あるいは不可能となる虞がある場合に限り、損害賠償の責任を負わない。

II.

本条第1項の自力救済は、危難を回避するために必要不可欠の限度を越えてはならない。

III.

合法的な自力救済の要件を満たすという誤った想定から本条第1項の行動に出た者は、たとえその錯誤が自らの過失によるものでない場合であっても、他者に対してその損害を賠償する責任を負う。

มาตรา ๔๕๒

ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจำเป็นโดยพฤติการณ์ แม้จะฆ่าสัตว์นั้นก็ชอบที่จะทำได้

แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ

第452条

I.

不動産の占有者は、そこに侵入して損害を加える動物を捕獲し、損害賠償の担保としてその動物を自己の管理下に置くことができ、また、必要な状況下においては、その動物を殺害することも許される。

II.

[本条第1項における]占有者は、動物の所有者にこの[捕獲などの]事実を遅滞なく通知しなければならない。所有者が不明のときは、動物の捕獲者は、その発見のために必要な相当の措置を講じなければならない。

* * *