ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

– ฉบับปัจจุบัน –

* มาตรา 1 - 3 ข้อความเบื้องต้น
施行通則

บรรพ ๑หลักทั่วไป
第一編総 則

* มาตรา 4 - 14 ลักษณะ ๑บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
第一章総則

* มาตรา 15 - 136 ลักษณะ ๒บุคคล
第二章

+ มาตรา 15 - 64 หมวด ๑บุคคลธรรมดา
第一節自然人
- มาตรา 15 - 18 ส่วนที่ ๑สภาพบุคคล
第一款権利能力
- มาตรา 19 - 36 ส่วนที่ ๒ความสามารถ
第二款行為能力
- มาตรา 37 - 47 ส่วนที่ ๓ภูมิลำเนา
第三款住所
- มาตรา 48 - 64 ส่วนที่ ๔สาบสูญ
第四款失踪

+ มาตรา 65 - 136 หมวด ๒นิติบุคคล
第二節法人
- มาตรา 65 - 77 ส่วนที่ ๑บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
第一款総則
- มาตรา 78 - 109 ส่วนที่ ๒สมาคม
第二款社団法人
- มาตรา 110 - 136 ส่วนที่ ๓มูลนิธิ
第三款財団法人

* มาตรา 137 - 148 ลักษณะ ๓ทรัพย์
第三章

* มาตรา 149 - 193 ลักษณะ ๔ นิติกรรม
第四章法律行為
+ มาตรา 149 - 153 หมวด ๑บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
第一節総則
+ มาตรา 154 - 171 หมวด ๒การแสดงเจตนา
第二節意思表示
+ มาตรา 172 - 181 หมวด ๓โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
第三節無効および取り消し
+ มาตรา 182 - 193 หมวด ๔เงื่อนไขและเงื่อนเวลา
第四節条件および期限

* มาตรา 193/1 - 193/8 ลักษณะ ๕ระยะเวลา
第五章期間

* มาตรา 193/9 - 193/35 ลักษณะ ๖อายุความ
第六章消滅時効
+ มาตรา 193/9 - 193/29 หมวด ๑บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
第一節総則
+ มาตรา 193/30 - 193/35 หมวด ๒กำหนดอายุความ
第二節消滅時効の期間


ข้อความเบื้องต้น

施行通則

มาตรา ๑

กฎหมายนี้ให้เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

第1条

本法の名称を民事及び商事法典とする。

มาตรา ๒

ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนมกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ เป็นต้นไป

第2条

本法は、仏歴2468年1月1日よりその効力を発する。

มาตรา ๓

ตั้งแต่วันที่ใช้ประมวลกฎหมายนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายนี้

第3条

本法施行の日より、他のすべての法律、規則、命令は、その規定が本法に定められたそれと競合し、または本法の規定の趣旨と矛盾する限りにおいて、その効力を失う。

บรรพ ๑

หลักทั่วไป

Erstes Buch.

Allgemeiner Teil

第一編

総則

ลักษณะ ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

第一章

総則

มาตรา ๔

กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ

เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

第4条

I.

本法は、該当する規定がある限り、全ての事案に適用されなければならない。その場合、規定の適用は、その文言または立法趣旨に拠る。

II.

本法に準拠するべき規定がないときには、当該地方に行われる慣習に従う。

III.

法規に代わり得る慣習もないときには、当該事案にきわめて近接した規定があれば、それを類推適用し、ない場合には、一般的な法原則[条理]に従う。

มาตรา ๕

ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต

第5条

権利の行使においても義務の履行においても、各人は誠実にこれを行わなければならない。

มาตรา ๖

ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต

第6条

各人は、誠実に行為するものと推定される。

มาตรา ๗

ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

第7条

利息を支払う場合において、当事者の法律行為または法令の規定によって、その利率が明確に決定されていないときには、それを年に7.5%とする。

มาตรา ๘

คำว่า"เหตุสุดวิสัย"หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่ป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น

第8条

「不可抗力」とは、それに遭遇した者、あるいは遭遇したであろう者全員が、同種の状況下において同種の立場にある者に[通常]期待され得る適切な注意義務を順守していたにもかかわらず、あるいは順守したとしても、予防することができなかった出来事や被害をいう。

มาตรา ๙

เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ

ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่

第9条

I.

法律の規定により、ある法律行為の成立に証書を作成することが義務づけられている場合であっても、その証書は、当該法律行為の当事者自身によって執筆される必要はない。但し、その者の署名を必要とする。

II.

[署名に代わって]証書中に拇印、十字紋、捺印、あるいはその他類似の形式の記号が記載されている場合、二人の証人が連署して保証するときは、その記載は、署名と同様の効力を有する。

III.

第2項の規定は、拇印、十字紋、捺印、あるいはその他類似の形式の記号が主務官庁の担当係官の面前で記載された場合には、これを適用しない。

มาตรา ๑๐

เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล

第10条

証書中の一項が二通りの解釈を許し、且つ一方の解釈には規定としての意義が認められるが、他方にはそれが認められない場合には、意義の認められる解釈が優先される。

มาตรา ๑๑

ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น

第11条

事案の解釈に疑念の余地が残る場合においては、訴訟当事者のうち、当該債権債務関係において不利益を負担するべき側にとって有利な解釈を採用する。

มาตรา ๑๒

ในกรณีที่จำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ

第12条

証書中に金額または数量が文字と数字の両方をもって表記されている場合において、文字表記と数字表記とが一致せず、且つ[当事者の]真実の意思を推定する可能性もないときは、文字をもって表記された金額または数量に従う。

มาตรา ๑๓

ถ้าจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรือเป็นตัวเลขหลายแห่ง แต่ที่แสดงไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ

第13条

証書中に金額または数量が文字をもって数ヵ所に、あるいは数字をもって数ヵ所に表記されている場合において、それらの表記が一致せず、且つ[当事者の]真実の意思を推定する可能性もないときは、表記中の最も少ない金額または数量に従う。

มาตรา ๑๔

ในกรณีที่เอกสารทำขึ้นไว้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวกันหรือหลายฉบับก็ตามโดยมีภาษาไทยด้วย ถ้าข้อความในหลายภาษานั้นแตกต่างกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ ให้ถือตามภาษาไทย

第14条

証書がタイ語を含めて複数の言語で作成されている場合において、その各々の表記に意味の相違が認められ、且つまた、当事者の意思を推定することもできないときは、タイ語による表記に従う。その際、当該証書の同一の版が複数の言語で表記されているのか、あるいは異なる言語による表記相互に版の違いが認められるかは、関らない。

ลักษณะ ๒

บุคคล

Zweiter Abschnitt.

Personen

第二章

หมวด ๑

บุคคลธรรมดา

第一節

自然人

ส่วนที่ ๑

สภาพบุคคล

第一款

権利能力

มาตรา ๑๕

สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก

第15条

I.

自然人の権利能力は、分娩が無事に完了して新生児として生きて[母体から]分離した時点に開始し、死によって終了する。

II.

未だ母体内にある胎児であっても、後に出産され、新生児として生存することを条件として、種々の権利を享受することができる。

มาตรา ๑๖

การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้นับอายุบุคคลนั้นแต่วันต้นปีปฏิทินซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด

第16条

自然人の年齢は、出生の日より起算する。出生の月だけが明らかで、出生日が不明な場合には、その月の最初の日を出生日として起算する。出生の月も日も確認不可能なときには、自然人の年齢は、その者の出生した年の太陽暦上最初の日より起算する。

มาตรา ๑๗

ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่าตายพร้อมกัน

第17条

危難に遭遇して複数の者が死亡した場合において、それらの者の死亡時刻の前後関係を認定することが不可能なときには、同一時刻に死亡したものと推定する。

มาตรา ๑๘

สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้

第18条

氏名を使用する正当な権利を他人が争うとき、または他人が正当な権限なく同一の氏名を使用したために、権利者の利益が侵害されたときは、権利者は、侵害者に対してその侵害行為の停止を請求することができる。また、その侵害が継続している場合、あるいは更に侵害が継続する虞がある場合には、権利者は、裁判所に対して侵害停止[権利保全]の訴えを起こすことができる。

ส่วนที่ ๒

ความสามารถ

第二款

行為能力

มาตรา ๑๙

บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์

第19条

人は、満20歳に達した時点で、未成年の地位を脱して成年としての地位を取得する。

มาตรา ๒๐

ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘

第20条

本法第1448条に従って婚姻を結んだ場合は、未成年であってもその時点で成年となる。

มาตรา ๒๑

ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

第21条

未成年者が法律行為を行うためには、予めその法定代理人の同意を得なければならない。この同意なくして未成年者が行った行為は、これを取り消すことができる。但し、別段の規定がある場合には、その限りではない。

มาตรา ๒๒

ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง

第22条

未成年者であっても、単に権利を得、または義務を免れる限りにおいて、いかなる法律行為もこれを行うことができる。

มาตรา ๒๓

ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว

第23条

未成年であっても、自分一人のために単独で行うべきことは、すべてこれを行うことができる。

มาตรา ๒๔

ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร

第24条

未成年者であっても、自分の身分にふさわしく、且つ相応の生活を維持する上で不可欠な行為は、すべてこれを行うことができる。

มาตรา ๒๕

ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์

第25条

未成年者であっても、満15歳に達した時点より、遺言をすることができる。

มาตรา ๒๖

ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร

第26条

法定代理人が目的を定めて処分を許した財産は、その目的の範囲内で、未成年者が随意にこれを処分することができる。法定代理人が目的を定めないで処分を許した財産を、未成年者が処分する場合も、また同様である。

มาตรา ๒๗

ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้

ในความเกี่ยวพันกับประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว

ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้ หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้

ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้

การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต

第27条

I.

未成年者の法定代理人はその未成年者に対して、商取引またはその他の営業を行うこと、あるいは雇用契約を締結して労働することを許可することができる。法定代理人が正当な理由なくしてこの許可を拒否したときは、未成年者は裁判所に対してそれに代わる許可命令を請求することができる。

II.

前項に規定された営業活動または就業行為においては、未成年者は成年者と同一の能力を有する。

III.

本条第1項に従って法定代理人または裁判所によって許可された営業活動または就業行為が、[何らかの]深刻な損害を引き起こし、あるいは当該未成年者に損失を蒙らせるこになったときは、その法定代理人は、自らの許可を取り消し、あるいは裁判所に対して許可命令の取り消しを請求することができる。

IV.

未成年者の法定代理人が正当な理由なく、本条第1項に従って自ら与えた許可を取り消す意思を表明したときは、その未成年者は裁判所に対してこの意思表示の無効の確認を請求することができる。

V.

法定代理人によって許可の取り消しが表明され、または裁判所によって許可命令が取り消された時点において、本条第2項に基づいて未成年者に許された成年者と同一の行為能力も当然に消滅する。但し、許可取り消しの意思表示または許可命令の取り消しに先だって当該未成年者が既に行った法律行為の効力は、このことによって何らの影響も受けない。

มาตรา ๒๘

บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้

บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจ หน้าที่ผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้

คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

第28条

I.

ある個人が心神喪失の状態にある場合において、その者の配偶者、3親等以内の直系尊属すなわち父母、父方または母方の祖父母あるいは曾祖父母、4親等以内の直系卑属すなわち子、孫、曾孫または玄孫、未成年後見人または保佐人、現にその人を保護監督している者、若しくは検察官が、裁判所に対してその者に対する禁治産の宣告を請求したときは、裁判所はこれを行うことができる。

II.

前項の規定に従って禁治産の宣告を受けた者は、これを後見人の監督の下に置かなければならない。後見人の選任、その権限と職務、および後見の終了は、本法第5編の規定に従う。

III.

本条に基づく禁治産の宣告は、これを官報で公示する。

มาตรา ๒๙

การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ

第29条

裁判所が禁治産の宣告を下した者のなした行為は、これを取り消すことができる。

มาตรา ๓๐

การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต

第30条

未だ禁治産宣告を受けていない心神喪失者が行った法律行為は、それがその者の実際に心神喪失状態にある時点で行われ、且つ行為の相手方もその者が心神喪失者であることを知っていた場合に限って、これを取り消すことができる。

มาตรา ๓๑

ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใดๆ ดังกล่าวมาในมาตรา ๒๘ ร้องขอต่อศาล ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น

คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

第31条

I.

禁治産の原因が解消したときは、裁判所は、禁治産者自身または第28条に掲げた者の請求に基づいて、その宣告を取り消さなければならない。

II.

本条に基づく禁治産宣告の取り消しは、これを官報に公示する。

มาตรา ๓๒

บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้นจนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๘ ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้

บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่งต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้

ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองในบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์โดยอนุโลม

คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

第32条

I.

身体障害あるいは心神耗弱のため、または浪費癖あるいはアルコールや薬物の中毒のため、およびその他の同様の原因のために、ある個人が自分で自分の事務管理ができない状態にある場合、または自分で管理することにより、自己あるいはその家族の財産に損失を引き起こす虞がある場合には、第28条に掲げた者の請求に基づいて、裁判所はその者に対して準禁治産の宣告をすることができる。

II.

前項の規定に従って裁判所より準禁治産の宣告を受けた者は、これを保佐人の監督の下に置かなければならない。保佐人の選任は、本法第5編の規定に従う。

III.

本法第5編における未成年後見の終了に関する規定は、これを保佐の終了に準用する。

IV.

本条に基づく裁判所の宣告は、これを官報に公示する。

มาตรา ๓๓

ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อมีคำขอร้องคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๘ ศาลอาจสั่งบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ หรือในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นเสมือนไร้ความสามารถเพราะมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นวิกลจริต เมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๘ ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้

第33条

ある者に対して心神喪失による禁治産宣告の請求があったため、審査した結果、その者が心神喪失ではなく、単に心神耗弱であることが判明した場合において、裁判所が適切と判断したとき、または訴訟当事者あるいは第28条に掲げられた者からの請求があったときは、裁判所は準禁治産の宣告をすることができる。また、ある者に対して心神耗弱による準禁治産宣告の請求があったため、審査した結果、その者が心神耗弱ではなく、心神喪失であることが判明した場合において、訴訟当事者または第28条に掲げられた者からの請求があったときは、裁判所は禁治産の宣告をすることができる。

มาตรา ๓๔

คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(๑)

นำทรัพย์สินไปลงทุน

(๒)

รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น

(๓)

กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

(๔)

รับประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้

(๕)

เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าหกเดือนหรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปี

(๖)

ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศลการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

(๗)

รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา

(๘)

ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือในสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

(๙)

ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือซ่อมแซมอย่างใหญ่

(๑๐)

เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ เว้นแต่การร้องขอตามมาตรา ๓๕ หรือการร้องขอถอนผู้พิทักษ์

(๑๑)

ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ถ้ามีกรณีที่อื่นใดนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลัง ศาลมีอำนาจสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำการนั้นได้

ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้อำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม

คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การใดกระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ

第34条

I.

準禁治産者が次に掲げる行為をするためには、予め保佐人の同意を得たのでなければならない。

(1)

財産を投資すること。

(2)

投資した財産、元本、およびその他の財産の返済を受けること。

(3)

金銭、および価値を有する動産の消費貸借を行うこと。

(4)

準禁治産者に債務の弁済を義務づける結果となる保証を行うこと。

(5)

動産の場合には6ヶ月、不動産の場合には3年を超える期間にわたって、賃貸借を行うこと。

(6)

贈与すること。但し、善行としてまたは社交儀礼として、あるいは仏教道徳上義務とされるもので、分相応の贈与は、この限りではない。

(7)

条件付き、または付随義務を伴う贈与を受領すること、あるいは贈与の受領を拒絶すること。

(8)

不動産または価値を有する動産上の権利を取得しあるいは放棄するために、何等かの行為を行うこと。

(9)

家屋やその他の建造物を建築し、または改築すること、あるいは大規模な修繕を行うこと。

(10)

裁判所に訴訟を提起すること、または何等かの審判手続きを進めること。但し、第35条に基づく請求、および保佐人解任の請求は、この限りではない。

(11)

和解すること、または争いの解決を仲裁人の裁定に任せること。

II.

第1項に掲げられたものの他にも、準禁治産者に行なわせると、自己または家族の財産に損害を与える虞のある行為が認められる場合には、準禁治産宣告の際、または保佐人からの請求があったときに、裁判所はその行為を指定して、準禁治産者がそれを行うためには、予め保佐人の同意を得なければならない旨、命じることができる。

III.

第1項に掲げられ、または第2項に従って指定された行為の中に、身体障害または心神耗弱が原因で準禁治産者自身には管理できないものがある場合には、裁判所は、準禁治産者の代理人としてその行為を行うよう、保佐人に命じることができる。その場合には、後見人に関する規定を保佐人に準用する。

IV.

本条に基づく裁判所の命令は、すべて官報で公示される。

V.

本条の規定に反して行われた[準禁治産者の]行為は、これを取り消すことができる。

มาตรา ๓๕

ในกรณีที่ผู้พิทักษ์ไม่ยินยอมให้คนเสมือนไร้ความสามารถกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๓๔ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อคนเสมือนไร้ความสามารถร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้กระทำการนั้นโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก็ได้ ถ้าการนั้นจะเป็นคุณประโยชน์แก่คนเสมือนไร้ความสามารถ

第35条

準禁治産者から何等かの行為に同意するよう請求があったのに対して、保佐人が、正当な事由がないにも関らず、第34条に基づく同意を拒んだ場合において、その行為が準禁治産者に対して利益をもたらすであろうと判断されるときは、裁判所は、保佐人の同意なくしてその行為を行うことを準禁治産者に許すことができる。

มาตรา ๓๖

ถ้าเหตุที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

第36条

準禁治産の原因が解消した場合には、第31条の規定を準用する。

ส่วนที่ ๓

ภูมิลำเนา

第三款

住所

มาตรา ๓๗

ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ

第37条

自然人の住所とは、その者が[継続的に]主な居所としている場所をいう。

มาตรา ๓๘

ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป หรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น

第38条

自然人がその居所を数カ所に有して往来を繰り返しているとき、またはその生業の本拠地を数カ所に有しているときは、その何れかをその者の住所と見なす。

มาตรา ๓๙

ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา

第39条

[自然人の]住所が不明の場合には、その者の居所を住所と見なす。

มาตรา ๔๐

บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทางไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำการงาน พบตัวในถิ่นไหนให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น

第40条

自然人が常住するべき居所をどこにも有しない場合、または営業の本拠地を置かずに、常に移動しながらその生業を営んでいる場合には、何れの場所でその者と遭遇したにせよ、その場所をその住所と見なす。

มาตรา ๔๑

ภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่ พร้อมด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา

第41条

[自然人の]住所は、それを変更しようとする明確な意思を持って居所を移転することにより、当然に変更される。

มาตรา ๔๒

ถ้าบุคคลใดได้เลือกเอาถิ่นใด โดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำการใด ให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้น

第42条

ある者がある法律行為のために特定の場所を選定し、そこをこの行為のための住所とする旨の明確な意思を表明したときは、この行為に関してはその場所をその者の住所と見なす。

มาตรา ๔๓

ภูมิลำเนาของสามีและภริยา ได้แก่ถิ่นที่อยู่ที่สามีและภริยาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา เว้นแต่สามีหรือภริยาได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่าภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน

第43条

夫婦は、夫婦としての共同生活を営む居所にその住所を有する。但し、夫婦の一方が互いにその住所を分ける旨の意思を表示したときは、その限りではない。

มาตรา ๔๔

ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง

ในกรณีที่ผู้เยาว์อยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ถ้าบิดาและมารดามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาซึ่งตนอยู่ด้วย

第44条

I.

未成年者の住所は、その法定代理人の住所にあるものとする。その際、法定代理人とは、監護権者または未成年後見人を意味する。

II.

未成年者が両親の監護権の下にある場合において、両親が互いに別の住所を有するときは、その未成年者が現に生活を共にしている親の住所を、その未成年者の住所とする。

มาตรา ๔๕

ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล

第45条

禁治産者の住所は、その後見人の住所にあるものとする。

มาตรา ๔๖

ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ หากมิใช่เป็นตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลาหรือเป็นเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว

第46条

公務員の住所は、その職責に基づく任地にあるものとする。但し、その職責が暫定的なものであるとき、または一回限りの委任に基づくに過ぎないときは、その限りではない。

มาตรา ๔๗

ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว

第47条

裁判所による確定判決により、または法律に基づく命令によって収監されている者は、釈放に至るまでの期間、収監中の刑務所または矯正施設にその住所を有するものとする。

ส่วนที่ ๔

สาบสูญ

第四款

失踪

มาตรา ๔๘

ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการขอ ศาลจะสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้

เมื่อเวลาได้ล่วงเลยไปหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ไม่อยู่นั้นไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีผู้ใดได้รับข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้นประการใดเลยก็ดี หรือหนึ่งปีนับแต่วันมีผู้ได้พบเห็นหรือได้ทราบข่าวมาเป็นครั้งหลังสุดก็ดี เมื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งร้องขอ ศาลจะตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้

第48条

I.

ある者が、代理人を選任して包括的な管理権を委託することなく、その住所または居所から失踪し、その生死を確知する者がいないときには、裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づき、不在者の財産管理に必要不可欠の処分を暫定的に命じることができる。

II.

不在者がその住所または居所から失踪した日から起算して1年を経過し、且つその不在者について何等かの消息を受け取った者が一人もいないとき、あるいは、その不在者に遭遇しまたはその消息を知り得た者がいる場合には、その最後の日から起算して1年が経過したときには、裁判所は、第1項に掲げられた者の請求に基づき、その不在者の財産のために管理人を選任することができる。

มาตรา ๔๙

ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้และสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป หรือปรากฏว่าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปได้จัดการทรัพย์สินนั้นในลักษณะที่อาจเสียหายแก่บุคคลดังกล่าว ให้นำมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

第49条

不在者が代理人を選任して包括的な管理権を委託していた場合においても、その代理契約が終了したとき、またはその代理人による管理の結果、不在者の財産に損害が生じる虞があると判明したときには、第48条の規定を準用する。

มาตรา ๕๐

เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นตามที่ศาลจะมีคำสั่งก็ได้

第50条

裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づき、不在者の財産の目録を裁判所の指示に従って作成するよう、[不在者が選任した]包括代理人に命じることができる。

มาตรา ๕๑

ภายใต้บังคับมาตรา ๘๐๒ ถ้าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปเห็นเป็นการจำเป็นจะต้องทำการอันใดอันหนึ่งเกินขอบอำนาจที่ได้รับไว้ ต้องขออนุญาตต่อศาล และเมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะกระทำการนั้นได้

第51条

[不在者が選任した]包括代理人は、[不在者の財産の保存のために]委託された代理権を越える事務が必要不可欠と判断したときは、事前に裁判所に対してその許可を申請しなければならない。当該事務は、裁判所の許可を得てのみ、これを行うことができる。但し、第802条[緊急時における代理人の権限]が適用される場合は、その限りではない。

มาตรา ๕๒

ผู้จัดการทรัพย์สินที่ศาลได้ตั้งขึ้น ต้องทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ให้เสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล แต่ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอต่อศาลให้ขยายเวลาก็ได้

第52条

裁判所により選任された[不在者の]財産管理人は、裁判所により選任されたことを知った日から3ヶ月以内に、その財産目録を作成しなければならない。但し管理人は、その期限の延長を裁判所に申請することができる。

มาตรา ๕๓

บัญชีทรัพย์สินตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นคู่สมรสหรือญาติของผู้ไม่อยู่ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ถ้าไม่มีคู่สมรสหรือหาญาติไม่ได้ หรือคู่สมรสและญาติไม่ยอมเป็นพยาน จะให้ผู้อื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเป็นพยานก็ได้

第53条

第50条および第52条に規定される財産目録には、二人以上の証人が連署してその真実性を保証しなければならない。その際、この証人のうち二人は、不在者の配偶者または成人親族でなければならない。但し、配偶者もなく親族も不明な場合、または配偶者と親族がともに証人となることを拒否した場合には、他の成人をもって証人とすることができる。

มาตรา ๕๔

ผู้จัดการทรัพย์สินมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปตามมาตรา ๘๐๑ และมาตรา ๘๐๒ ถ้าผู้จัดการทรัพย์สินเห็นเป็นการจำเป็นต้องกระทำการอันใดอันหนึ่งเกินขอบอำนาจ ต้องขออนุญาติต่อศาลและเมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะกระทำการนั้นได้

第54条

[裁判所により選任された]財産管理人は、第801条および第802条に規定された包括代理人と同様の権限を有する。この管理人は、委託された代理権を越える事務が[不在者の財産の保存のために]必要不可欠と判断したときは、事前に裁判所に対してその許可を申請しなければならない。

มาตรา ๕๕

ถ้าผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจเฉพาะการอันใดไว้ ผู้จัดการทรัพย์สินจะเข้าไปเกี่ยวกับการอันเป็นอำนาจเฉพาะการนั้นไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่าการที่ตัวแทนจัดทำอยู่นั้นอาจจะเสียแก่ผู้ไม่อยู่ ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอให้ศาลถอดถอนตัวแทนนั้นเสียก็ได้

第55条

不在者が特定の事務につき、自ら代理人を選任していたときは、[裁判所により選任された]財産管理人は、この事務に関与することはできない。但し、その代理人による事務管理の結果、不在者[の財産]に損害が生じる虞があると判明した場合には、財産管理人は裁判所に対して、その代理人の解任を請求することができる。

มาตรา ๕๖

เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(๑)

ให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น

(๒)

ให้ผู้จัดการทรัพย์สินแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่

(๓)

ถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินแทนต่อไป

第56条

裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づき、あるいは職権によって、次のことを命じる[ことができる]。

(1)

[裁判所により選任された]財産管理人に対して、不在者の財産を返還するときまで、その管理について相当の担保を提供させること。

(2)

財産管理人に対して、不在者の財産の状態を報告させること。

(3)

財産管理人を解任して、他の者を選任すること。

มาตรา ๕๗

ในคำสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้จัดการทรัพย์สินโดยจ่ายจากทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้ ถ้าศาลมิได้กำหนด ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้

ถ้าผู้จัดการทรัพย์สินหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือเมื่อมีกรณีปรากฏแก่ศาลว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งกำหนดบำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้จัดการทรัพย์สินอีกก็ได้

第57条

I.

裁判所は、[不在者のために]財産管理人を選任する際に、その不在者の財産から管理者に対して報酬を支払うこと定めることができる。裁判所がその定めを行わなったときは、管理人は、報酬に関する定めを行うよう改めて裁判所に請求することができる。

II.

裁判所は、財産管理人、利害関係人、または検察官からの請求があったとき、あるいは財産管理に関る事情に変更のあったことが明らかになったときには[職権によって]、財産管理人に対する報酬の支払いを停止し、またはその減額あるいは増額を行い、もしくは支払いを再開する決定をすることができる。

มาตรา ๕๘

ความเป็นผู้จัดการทรัพย์สินย่อมสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไป

(๑)

ผู้ไม่อยู่นั้นกลับมา

(๒)

ผู้ไม่อยู่นั้นมิได้กลับมาแต่ได้จัดการทรัพย์สินหรือตั้งตัวแทนเพื่อจัดการทรัพย์สินของตนแล้ว

(๓)

ผู้ไม่อยู่ถึงแก่ความตายหรือศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

(๔)

ผู้จัดการทรัพย์สินลาออกหรือถึงแก่ความตาย

(๕)

ผู้จัดการทรัพย์สินเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๖)

ผู้จัดการทรัพย์สินเป็นบุคคลล้มละลาย

(๗)

ศาลถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน

第58条

[裁判所により選任された]財産管理人の権限は、次の事由により当然に終了する。

(1)

不在者が帰還したとき。

(2)

帰還はしていないが、不在者が自ら財産管理のための事務を処理したか、またはそのために代理人を選任したとき。

(3)

不在者が死亡したか、または裁判所より失踪宣告を受けたとき。

(4)

財産管理人が辞任したか、または死亡したとき。

(5)

財産管理人が禁治産宣告または準禁治産宣告を受けたとき。

(6)

財産管理人が破産宣告を受けたとき。

(7)

裁判所が財産管理人を解任したとき。

มาตรา ๕๙

ในกรณีที่ความเป็นผู้จัดการทรัพย์สินสิ้นสุดลงเพราะเหตุตามมาตรา ๕๘ (๔) (๕) หรือ (๖) ผู้จัดการทรัพย์สินหรือทายาทของผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้จัดการมรดก ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือผู้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของผู้จัดการทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี จะต้องแถลงให้ศาลทราบถึงความสิ้นสุดนั้นโดยไม่ชักช้าเพื่อศาลจะได้มีคำสั่งเกี่ยวกับผู้จัดการทรัพย์สินต่อไปตามที่เห็นสมควร ในระหว่างเวลาดังกล่าวนั้น บุคคลดังกล่าวจะต้องจัดการตามควรแก่พฤติการณ์เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ไม่อยู่ จนกว่าจะได้ส่งมอบทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดตามที่ศาลจะได้มีคำสั่ง

第59条

[裁判所により選任された]財産管理人の権限が、第58条第4号、第5号または第6号の事由によって終了したときは、裁判所がその財産管理人に関して適切に処理できるよう、その時々の事態に応じて、財産管理人自身、またはその者の相続人、遺産管財人、成人後見人、保佐人、あるいは[管理人の]財産を保全する官庁の担当係官、もしくはその財産を監督する責務ある何れかの者が、裁判所に対して権限の終了の事実を遅滞なく報告しなければならない。裁判所が[不在者の]財産を何人かに引き渡すよう命じるまでの期間、[裁判所に報告した]当該の者は、その時々の事情に応じて、不在者の利益に適うよう[不在者の財産を]適切に管理しなければならない。

มาตรา ๖๐

ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยอนุโลม

第60条

本法の代理人に関する規定は、不在者のために[裁判所により選任された]財産管理人にこれを準用する。

มาตรา ๖๑

ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(๑)

นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(๒)

นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป

(๓)

นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) หรือ (๒) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

第61条

I.

ある者がその住所または居所から立ち去り、その後5年間にわたってその生死を確知する者がいないときには、裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づいて失踪の宣告をすることができる。

II.

第1項に規定された期間は、次の場合において2年間に短縮される。

(1)

その者が戦闘または戦争に臨んでいた場合には、その戦闘または戦争が終結した日から。

(2)

その者の乗っていた交通手段が沈没し、破壊され、または行方不明になった日から。

(3)

その者が第1号および第2号に掲げられたもの以外の、生命の危険に遭遇した場合には、その危難が去った日から。

มาตรา ๖๒

บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑

第62条

裁判所より失踪の宣告を受けた者は、第61条に規定された期間が満了した時点に死亡したものと推定される。

มาตรา ๖๓

เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเอง หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล และพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในมาตรา ๖๒ ก็ดี ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้น แต่การถอนคำสั่งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายอันได้ทำโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น

บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ แต่เสียสิทธิของตนไปเพราะศาลสั่งถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

第63条

I.

裁判所より失踪の宣告を受けた者がなおも生存すること、または第62条に掲げられたものと異なる時に死亡したことが証明されたときは、裁判所は、本人、利害関係人または検察官の申請に基づいて、失踪の宣告を取り消さなければならない。但し、失踪の宣告の時からその取り消しに至るまでの間に、善意誠実になされた如何なる行為も、失踪宣告の取り消しによってその効力を妨げられない。

II.

ある者が裁判所より失踪の宣告を受けた結果として[何等かの]財産を取得し、その宣告の取り消しによって権利を喪失した何れかの者[がある場合]には、不当利得に関する本法の規定を準用する。

มาตรา ๖๔

คำสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญหรือคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

第64条

失踪の宣告およびその取り消しは、官報でこれを公示する。

หมวด ๒

นิติบุคคล

第二節

法人

ส่วนที่ ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

第一款

総則

มาตรา ๖๕

นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

第65条

法人は、本法ならびにその他の法律の規定に従ってのみ、これを設立することができる。

มาตรา ๖๖

นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง

第66条

法人は、本法ならびにその他の法律の規定に従い、法律、定款または寄附行為で規定された権限または目的の範囲内において、当然に権利を享受し義務を負う。

มาตรา ๖๗

ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น

第67条

第66条で規定された範囲内において、法人は当然に、自然人と同等に権利を有し義務を負う。但し、その本性からして自然人にのみ固有の権利義務に関しては、その限りではない。

มาตรา ๖๘

ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง

第68条

法人は、その主な事業所の所在地あるいは事務所の所在地、または定款あるいは寄附行為によって特に指定された場所に、その住所を有する。

มาตรา ๖๙

ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่งหรือมีสำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการหรือของสำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย

第69条

法人が複数の事務所または支所を有する場合には、それぞれの所在地を、当該事務所または支所で執務された業務に関する[法人の]住所と見なす。

มาตรา ๗๐

นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้

ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล

第70条

I.

法人は、法律、定款または寄附行為の規定に従って、一名または数名の理事を有しなければならない。

II.

法人の意思は、その理事によって表示される。

มาตรา ๗๑

ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนินกิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้แทนของนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง

第71条

理事が数人いる場合において、法律、定款または寄附行為に別段の定めがないときは、法人の事務は、理事の過半数でこれを決定する。

มาตรา ๗๒

การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทนของนิติบุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตมิได้

第72条

法人の理事の改任および理事の権限の制限または変更は、法律、定款または寄附行為の規定に従ってそれらが行われたときにのみ、その効力を有する。但し、これを以て善意の第三者に対抗することはできない。

มาตรา ๗๓

ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้

第73条

法人の理事に欠員がある場合において、その地位を空席のままに放置しておくと、損害が生じる虞があると信じるに足る事由があるときは、裁判所は、利害関係人または検察官の請求に基づき、仮理事を選任することができる。

มาตรา ๗๔

ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้

第74条

事項の如何を問わず、法人の利害と法人の理事の利害が相反する場合には、その理事は、当該事項に関して法人の理事たることができない。

มาตรา ๗๕

ถ้ากรณีตามมาตรา ๗๔ เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทนของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอจะเป็นองค์ประชุม หรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หากกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความในมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทนเฉพาะการโดยอนุโลม

第75条

第74条が適用されたため、代理権の認められる法人の理事が一人もいないか、[代理権ある]残余の理事だけでは理事会の定足数に満たない場合、または残余の理事だけでは当該事案を処理することができない場合には、法律、定款または寄附行為に別段の定めがない限り、第73条を準用して特命理事を選任する。

มาตรา ๗๖

ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย

ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น

第76条

I.

法人の理事、または法人を代理する権限を有する[その他の]個人が、その職務の遂行が原因で他人に損害を加えたときは、法人が損害賠償の責任を負わなければならない。但し法人は、損害を[実際に]引き起こした者に対する求償権を失うことはない。

II.

法人の目的または権限あるいは任務の範囲を超える行為によって他人に損害を加えたときは、第1項に掲げられた者のうち、その行為に賛成しまたは自らそれを行った者すべてが連帯してその損害を賠償する責任を負う。

มาตรา ๗๗

ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคล และระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอก โดยอนุโลม

第77条

本法典中の代理人に関する規定は、法人と法人の代理人との関係、および法人あるいはその代理人と第三者との関係に、これを準用する。

ส่วนที่ ๒

สมาคม

第二款

社団法人

มาตรา ๗๘

การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

第78条

何らかの活動のために、同一性を維持しつつ継続的に存立することをその本性とし、且つ利益または収入の配当を目的はとしない社団法人を設立するためには、その定款を定めて、本法典の規定に従って登記することを要する。

มาตรา ๗๙

ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑)

ชื่อสมาคม

(๒)

วัตถุประสงค์ของสมาคม

(๓)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง

(๔)

วิธีรับสมาชิก และการขาดจากสมาชิกภาพ

(๕)

อัตราค่าบำรุง

(๖)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ

(๗)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคม การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคม

(๘)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่

第79条

社団法人の定款には、少なくとも以下の事項を定めなければならない。

(1)

社団法人の名称。

(2)

社団法人の目的。

(3)

主な事務所およびその他すべての支所の所在地。

(4)

社員の入団方法および社員資格の終了[手続き]。

(5)

出資額。

(6)

理事会に関する規定、即ち理事の人数、選出方法、任期、辞任ないし解任、および理事会審議に関する規定。

(7)

社団法人の運営、会計、および資産に関する規定。

(8)

社員総会に関する規定。

มาตรา ๘๐

สมาคมต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "สมาคม" ประกอบกับชื่อของสมาคม

第80条

社団法人は、その名称として「社団法人」なる語を固有名称とともに使用しなければならない。

มาตรา ๘๑

การขอจดทะเบียนสมาคมนั้น ให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ร่วมกันยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น พร้อมกับแนบข้อบังคับของสมาคม รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน และรายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมากับคำขอด้วย

第81条

社団法人の登記申請は、その法人の予定される社員少なくとも3名が共同して、予定される主な事務所の所在地を管轄する登記官に書面で提出しなければならない。その際、その社団法人の定款、予定される社員少なくとも10名の氏名、住所および職業を記載した名簿、ならびに予定される理事の氏名、住所および職業を記載した名簿を添付しなければならない。

มาตรา ๘๒

เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนพร้อมทั้งข้อบังคับแล้วเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้องตามมาตรา ๘๑ และข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๗๙ และวัตถุประสงค์ของสมาคมไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม และผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมนั้นมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น และประกาศการจัดตั้งสมาคมในราชกิจจานุเบกษา

ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้องตามมาตรา ๘๑ หรือมาตรา ๗๙ หรือรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม หรือผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้วให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น

ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนไปยังผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยมิชักช้า

ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียน

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด

第82条

I.

社団法人の登記申請書をその定款と共に受領した登記官が、申請書が第81条の規定に、定款が第79条の規定に適合すること、社団法人の目的が法令および善良の風俗に反せず、また公共の安寧および国家の安全を脅かす恐れもないこと、申請書および定款の記載事項が法人の目的に適合すること、そして予定される理事が、法人をその目的に沿って運営するに相応しい[職業上の]地位と行動様式を有することを認めたときは、登記官は、登記申請を認可し、その社団法人に対して登記済証を発行して、社団法人の設立を官報で公示しなければならない。

II.

登記官が、申請書が第81条の規定に、または定款が第79条の規定に合致しないと認めたとき、または、申請書あるいは定款の記載事項が法人の目的に適合しないと認めたとき、あるいはまた、予定される法人の理事の[職業上の]地位あるいは行動様式が、法人をその目的に沿って運営するに相応しくないと認めたときは、登記官は、登記申請を適切に修正または変更するよう、申請者に対して命じなければならない。申請が適切に修正または変更されたときは、[登記官は]その登記申請を認可し、法人に登記済証を発行しなければならない。

III.

登記官が、法人の目的が法あるいは善良の風俗に反するため、または、公共の安寧あるいは国家の安全を脅かす恐れがあるため、あるいはまた、申請者が[本条第2項の]登記官の命令を知った日から30日以内に、その登記申請を適切に修正あるいは変更しなかったために、この申請は認可することはできないと認めたときは、登記官は、申請の却下を決定し、理由を付してその決定を遅滞なく申請者に通知しなければならない。

IV.

[登記申請を却下する決定を受けた]申請者は、内務大臣にその決定に対する異議を申し立てることができる。この異議申し立ては、申請を却下する決定を知った日から30日以内に登記官に書面で提出しなければならない。

V.

内務大臣は、登記官が異議申し立てを受領した日から90日以内に、その申し立てについて裁定を下し、それを異議申立人に通知しなければならない。内務大臣の裁定をもって、事案は確定する。

มาตรา ๘๓

สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล

第83条

登記をもって、社団法人は法人としての権利能力を得る。

มาตรา ๘๔

การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และสมาคมต้องนำข้อบังคับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ลงมติและให้นำความในมาตรา ๘๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้

第84条

社団法人の定款は、社員総会の決議によってのみ変更することができる。[この場合においては]法人は、社員総会の決議の日から14日以内に、その主な事務所の所在地を管轄する登記官に定款の変更を届け出て、その登記を申請しなければならない。この申請に関しては、第82条を準用する。定款の変更は、その登記申請の認可をもって初めてその効力を生じる。

มาตรา ๘๕

การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม

ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคม นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และให้นำความในมาตรา ๘๒ วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่ ถ้าข้อบังคับของสมาคมมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการของสมาคมชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่

第85条

I.

社団法人の理事全体の改選または個々の理事の更迭は、法人の定款の規定に従ってこれを行わなければならない。[この場合]法人は、改選または更迭の日から30日以内に、その主な事務所の所在地を管轄する登記官に[改選または更迭の結果を]届け出て、その登記を申請しなければならない。

II.

登記官が、本条第1項の規定に従って選任された法人の新理事のうち何れかの者の[職業上の]地位あるいは行動様式が、法人をその目的に沿って運営するに相応しくないと認めたときは、登記官は、当該者の登記を却下することができる。登記申請却下の決定を下したときには、登記官は、その申請の日から60日以内に、その社団法人に却下決定の理由を通知しなければならない。この場合においては、第82条第4項および第5項の規定を準用する。

III.

社団法人の新理事の登記が完了するまでの期間においては、法人の定款に特段の規定がない限り、従来の理事が引く続き法人の管理を行わなければならない。

มาตรา ๘๖

คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามกฎหมายและข้อบังคับ ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่

第86条

社団法人の理事会は、社員総会の監査の下に、法の規定と定款の定めに従って法人の業務を執行する。

มาตรา ๘๗

คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก

第87条

社団法人の理事会は、第三者との間の業務関係において、法人を代理する。

มาตรา ๘๘

บรรดากิจการที่คณะกรรมการของสมาคมได้กระทำไป แม้จะปรากฏในภายหลังว่ามีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการของสมาคม กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์

第88条

社団法人の理事により執行されたすべての業務は、たとえ理事の選任行為または理事の資格に瑕疵のあることが事後に明らかになったとしても、その完全な効力を維持する。

มาตรา ๘๙

สมาชิกของสมาคมมีสิทธิที่จะตรวจตรากิจการและทรัพย์สินของสมาคมในระหว่างเวลาทำการของสมาคมได้

第89条

社団法人の社員は、業務時間中[いつにでも]法人の業務および資産[の状態]を検査する権利を有する。

มาตรา ๙๐

สมาชิกของสมาคมต้องชำระค่าบำรุงเต็มจำนวนในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในวันเริ่มต้นของระยะเวลาชำระค่าบำรุง แล้วแต่กรณี เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

第90条

社団法人の社員[となる者]は、定款に別段の定めがない限り、その場合に応じて、入団の当日または[定められた]出資金納入期間の初日に、出資金の全額を納めなくてはならない。

มาตรา ๙๑

สมาชิกของสมาคมจะลาออกจากสมาคมเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

第91条

社団法人の社員は、定款に別段の定めがない限り、いつでも脱退することができる。

มาตรา ๙๒

สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดในหนี้ของสมาคมไม่เกินจำนวนค่าบำรุงที่สมาชิกนั้นค้างชำระอยู่

第92条

社団法人の社員各人は、その納入するべき出資金の額を限度に、法人の債務に責任を負う。

มาตรา ๙๓

คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละครั้ง

第93条

社団法人の理事会は、少なくとも毎年一度、通常社員総会を開催しなければならない。

มาตรา ๙๔

คณะกรรมการของสมาคมจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็สุดแต่จะเห็นสมควร

สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนหรือสมาชิกไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จะทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนั้น ต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด

เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามวรรคสอง ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ

ถ้าคณะกรรมการของสมาคมไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสาม สมาชิกที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนสมาชิกที่กำหนดตามวรรคสองจะเรียกประชุมเองก็ได้

第94条

I.

社団法人の理事会は、相当と認められるときはいつでも、臨時社員総会を召集することができる。

II.

社団法人の社員は、社員総数の5分の1以上、または100名以上、あるいはまた、定款に[特に]規定された必要数以上の人数をもって、理事会に対して書面により臨時社員総会の召集を請求することができる。その際、事柄の如何にかわらず、臨時総会召集の目的を請求の書面に明記しなければならない。

III.

社団法人の理事会は、本条第2項に従って臨時社員総会召集の請求を受けたときは、その請求を受領した日から30日以内に、臨時社員総会を開催しなければならない。

IV.

社団法人の理事会が本条第3項の規定された期間内に臨時社員総会を開催しなかった場合には、請求人たる社員またはその他の社員は、その合計が本条第2項に規定された人数を上回るときは、自ら臨時社員総会を召集することができる。

มาตรา ๙๕

ในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันหรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ได้

การเรียกประชุมใหญ่ต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมและจัดส่งรายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วย สำหรับการเรียกประชุมใหญ่โดยการพิมพ์โฆษณา รายละเอียดและเอกสารดังกล่าวต้องจัดไว้และพร้อมที่จะมอบให้แก่สมาชิกที่ร้องขอ ณ สถานที่ที่ผู้เรียกประชุมกำหนด

第95条

I.

社員総会の召集に当っては、社団法人の理事会は、遅くとも総会期日の7日前までに、登記済み社員各人に宛ててその通知を発送しなければならない。この通知は、[その法人の]所在地で発行される主要な新聞一紙に、遅くとも総会期日の7日前までに少なくとも2回広告を掲載することで、代えることができる。

II.

社員総会召集の通知には、開催の場所、日時、および議事日程を明記し、また、必要に応じて詳細事項[を記した]文書および関連書類を添付しなければならない。新聞広告によって社員総会の召集を通知する場合においては、詳細事項[を記した]文書および関連書類は、総会召集者が指定する場所に予め準備しておき、社員の要求に応じてそれを配布しなければならない。

มาตรา ๙๖

การประชุมใหญ่ของสมาคมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดองค์ประชุมไว้เป็นอย่างอื่น

ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้และการประชุมใหญ่นั้นได้เรียกตามคำร้องขอของสมาชิก ก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้เป็นผู้ร้องขอ ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจำต้องครบองค์ประชุม

第96条

I.

社団法人の社員総会においては、定款に特段の規定のない限り、総社員の半数の出席をもってその定足数とする。

II.

いずれの社員総会にせよ、社員による請求に基づいて召集された場合においては、定足数を満たす社員の出席が得られなかったときは、その総会は中止される。社員が請求した総会ではない場合においては、定足数が満たされなかったときは、その社団法人の理事会は、最初の開催期日から14日以内に再び総会を開催する。この再度の総会は、定足数の規定に拘束されない。

มาตรา ๙๗

มติของที่ประชุม ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่กรณีที่ข้อบังคับของสมาคมกำหนดเสียงข้างมากไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ

สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

第97条

I.

社団法人の社員総会においては、[出席社員の]過半数の票をもって決議する。但し、定款に特段の基準が規定される場合には、その限りでない。

II.

表決においては、各社員が一票を投じる。[但し、]表決の結果[対立する意見が]全く同数であった場合にのみ、総会の議長が追加の一票を投じて決議とすることができる。

มาตรา ๙๘

สมาชิกจะมอบอำนาจให้สมาชิกผู้ใดมาเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้ เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

第98条

社団法人の各社員は、定款に特段の規定のない限り、総会に出席する他の社員を代理として、表決することができる。

มาตรา ๙๙

ในกรณีที่จะมีมติในเรื่องใด ถ้าส่วนได้เสียของกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมผู้ใดขัดกับประโยชน์ได้เสียของสมาคม กรรมการหรือสมาชิกของสมาคมผู้นั้นจะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นไม่ได้

第99条

特定の事案において社団法人と対立する利害を有する社員または理事は、その事案に関して表決権を有しない。

มาตรา ๑๐๐

ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าได้มีการนัดประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของสมาคมหรือบทบัญญัติในส่วนนี้ สมาชิกหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ครั้งนั้นได้ แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ

第100条

社団法人のいずれかの社員総会において、その召集あるいは表決の手続きが定款の規定あるいは本款の規定に従わずに行われた場合、またはこれらの規定に反して行われた場合には、その社団法人の社員または検察官は、当該社員総会で表決された決議の撤回を命じるよう、裁判所に請求することができる。

มาตรา ๑๐๑

สมาคมย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้

(๑)

เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ

(๒)

ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น

(๓)

ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้ว

(๔)

เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก

(๕)

เมื่อสมาคมล้มละลาย

(๖)

เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนตามมาตรา ๑๐๒

(๗)

เมื่อศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๑๐๔

第101条

社団法人は、以下に掲げるいずれかの事由により、当然に解散する。

(1)

定款に定めた解散事由の発生したとき。

(2)

その社団法人が特定の期間に限って設立された場合において、その期間が満了したとき。

(3)

その社団法人が特定の事業を目的として設立された場合において、その事業の成功したとき。

(4)

社員総会によって解散が決議されたとき。

(5)

社団法人が破産したとき。

(6)

登記官が第102条の規定に従って社団法人の登記を取り消したとき。

(7)

裁判所が第104条の規定に従って社団法人の解散を命じたとき。

มาตรา ๑๐๒

ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)

เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด

(๒)

เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ

(๓)

เมื่อสมาคมหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป

(๔)

เมื่อปรากฏว่าสมาคมให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคม

(๕)

เมื่อสมาคมมีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบคนมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี

第102条

登記官は、次に掲げる場合においては、社団法人の登記を取り消すことができる。

(1)

登記の完了後に、法人の目的が法令あるいは善良の風俗に反すること、または公共の安寧あるいは国家の安全を脅かす恐れがあることが明かとなり、登記官がその法人に対して期間を定めて[定款の]修正を命じたにもかかわらず、その期間内に修正が為されなかった場合。

(2)

法人の遂行する事業が法令あるいは善良の風俗に反すること、または公共の安寧あるいは国家の安全を脅かす恐れがあることが明らかとなった場合。

(3)

法人が継続して2年間以上にわたりその事業活動を中断した場合。

(4)

法人がその理事以外の他人に法人の運営を行わせていること、またはそのような個人が運営を行っていることを知りながら放置していることが明らかとなった場合。

(5)

社員総数が継続して2年以上にわたり10名を下回った場合。

มาตรา ๑๐๓

เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมใดออกจากทะเบียนตามมาตรา ๑๐๒ แล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมนั้นโดยมิชักช้า และประกาศการเลิกสมาคมในราชกิจจานุเบกษา

กรรมการคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และให้นำความในมาตรา ๘๒ วรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม

第103条

I.

第102条に従って社団法人の登記の取り消しを決定したときは、登記官は、理由を付してその決定を遅滞なく当該社団法人に通知し、また、その法人の解散を官報で公示なければならない。

II.

[登記取り消し決定の通知を受けた]社団法人の理事各人、または少なくとも3名の社員は、内務大臣にその決定に対する異議を申し立てることができる。この異議申し立ては、その決定を知った日から30日以内に登記官に書面で提出しなければならない。この場合においては、第82条第5項の規定を準用する。

มาตรา ๑๐๔

เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๐๒ ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผลดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมนั้นเสียก็ได้

第104条

第102条に規定される状況が認められる場合において、利害関係人は[誰でも]登記官に対して当該社団法人の登記の取り消しを請求することができる。[本条第1項の]請求者が相当の期間待ったにもかかわらず、登記官が、その請求者に何らの理由の通知もせずに請求に応じようとしない場合、または、登記官から受領した[請求却下の]理由に不服がある場合には、その請求者は、裁判所に対して当該社団法人の解散を請求することができる。

มาตรา ๑๐๕

เมื่อสมาคมมีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๑๐๑ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ให้คณะกรรมการของสมาคมที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมแจ้งการเลิกสมาคมต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม

ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมล้มละลายตามมาตรา ๑๐๑ (๕) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมตามมาตรา ๑๐๔ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย

ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกสมาคมในราชกิจจานุเบกษา

第105条

I.

社団法人が第101条第1号ないし第4号によって解散されるべき場合においては、その解散の時に職務を執行する法人の理事会は、解散の日から14日以内に法人の解散を登記官に届け出なければならない。

II.

裁判所がその確定判決または確定命令により、第101条第5号に掲げる社団法人の破産を宣告した場合、あるいは第104条に従って社団法人の解散を命じた場合には、裁判所は当該判決または命令を登記官に通知しなければならない。

III.

[本条第1項の届け出または第2項の通知を受領した]登記官は、社団法人の解散を官報で公示しなければならない。

มาตรา ๑๐๖

ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม ให้มีการชำระบัญชีสมาคมและให้นำบทบัญญัติในบรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีสมาคมโดยอนุโลม

第106条

社団法人が解散されたときは、その法人[の資産]は清算される。社団法人の清算には、本法典第三編第二十二節における登記済み合名会社、合資会社および有限会社の清算に関する規定を準用する。

มาตรา ๑๐๗

เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด จะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมนั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคมหรือมูลนิธิหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคม หรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน

第107条

社団法人の清算後になお残余資産がある場合でも、それを社員に配当することはできない。残余資産は、定款内でなされた指名に従って、公益の増進活動に関する目的を有する社団法人、財団法人、または[その他の]法人に譲り渡なければならない。定款内にそのような指名がない場合には、社員総会の決議による指名に従う。定款にも総会の決議にも指名がない場合、または定款あるいは総会の決議による指名に従うことが不可能な場合には、残余資産は国庫に帰属する。

มาตรา ๑๐๘

ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับสมาคมที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ หรือจะขอให้นายทะเบียนคัดสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน และเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนปฏิบัติตามคำขอนั้น

第108条

登記官の保管する、社団法人に関する書面の閲覧またはその認証済み謄本を希望する者は、登記官に対してこれを請求することができる。この場合において登記官は、省令に定められた手数料の支払いを条件に、その請求に応じなければならない。

มาตรา ๑๐๙

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามบทบัญญัติในส่วนนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนกับออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ

(๑)

การยื่นคำขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน

(๒)

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การคัดสำเนาเอกสาร และค่าธรรมเนียมการขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสมาคม รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว

(๓)

การดำเนินกิจการของสมาคมและการทะเบียนสมาคม

(๔)

การอื่นใดเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

第109条

I.

内務大臣は、本款の規定の実効性に責任を負うと同時に、登記官を任命し、および次に掲げる事項に関する省令を発する権限を有する。

(1)

登記の申請とその認可。

(2)

登記料、書面の閲覧およびその謄本発行の手数料、その他、社団法人に関して何らかの行政行為を登記官に申請する場合の手数料、および、それらの手数料の免除。

(3)

社団法人の事業運営および社団法人の登記簿管理。

(4)

本款の規定を実施するために必要な、その他の事項。

II.

[本条第1項に規定された]これらの省令は、官報で公示された時点でその効力を発する。

ส่วนที่ ๓

มูลนิธิ

第三款

財団法人

มาตรา ๑๑๐

มูลนิธิได้แก่ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง

第110条

I.

財団法人とは、専らに慈善事業、宗教、芸術、科学技術、文学、教育、その他公益に奉仕することを目的として提供された財産であって、利益の配当を目的とすることがなく、且つ本法典の規定に従って登記されたものをいう。

II.

財団法人の財産の運営に当たっては、その本来の目的以外に、如何なる個人的な利益も追求されてはならない。

มาตรา ๑๑๑

มูลนิธิต้องมีข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยสามคน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ

第111条

財団法人は、その定款と3人以上の理事からなる理事会を要し、この理事会は、財団法人を法令の規定と財団の定款に従って運営する責務を負う。

มาตรา ๑๑๒

ข้อบังคับของมูลนิธิอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑)

ชื่อมูลนิธิ

(๒)

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ

(๓)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง

(๔)

ทรัพย์สินของมูลนิธิขณะจัดตั้ง

(๕)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของมูลนิธิ ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ

(๖)

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิ การจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ

第112条

財団法人の定款には、少なくとも以下の事項を定めなければならない。

(1)

財団法人の名称。

(2)

財団法人の目的。

(3)

主な事務所およびその他すべての支所の所在地。

(4)

設立時における財団法人の資産。

(5)

理事会に関する規定、即ち理事の人数、選出方法、任期、辞任ないし解任、および理事会審議に関する規定。

(6)

財団法人の運営、資産管理および会計に関する規定。

มาตรา ๑๑๓

มูลนิธิต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "มูลนิธิ" ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ

第113条

財団法人は、その名称として「財団法人」なる語を固有名称とともに使用しなければならない。

มาตรา ๑๑๔

การขอจดทะเบียนมูลนิธินั้น ให้ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งขึ้น ในคำขออย่างน้อยต้องระบุเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน พร้อมกับแนบข้อบังคับของมูลนิธิมากับคำขอด้วย

第114条

財団法人の登記申請に当たっては、その設立申請者が、予定される主な事務所の所在地を管轄する登記官に書面で提出しなければならない。その申請書には、少なくともその財団法人に提供される財産の所有者とその目録、ならびに予定される理事各人の氏名、住所および職業を記載しなければならず、また財団法人の定款を添付しなければならない。

มาตรา ๑๑๕

เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอแล้วเห็นว่า คำขอนั้นถูกต้องตามมาตรา ๑๑๔ และข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา ๑๑๒ และวัตถุประสงค์เป็นไปตามมาตรา ๑๑๐ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ และรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ และผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธินั้นมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่มูลนิธินั้น และประกาศการจัดตั้งมูลนิธิในราชกิจจานุเบกษา

ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้องตามมาตรา ๑๑๔ หรือมาตรา ๑๑๒ หรือรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ หรือผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิมีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่มูลนิธินั้น

ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๑๐ หรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยมิชักช้า

ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียน

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด

第115条

I.

財団法人の登記申請書を受領した登記官が、申請書が第114条の規定に、定款が第112条の規定に適合すること、社団法人の目的が第110条の規定に則し、且つ法令および善良の風俗に反せず、また公共の安寧および国家の安全を脅かす恐れもないこと、申請書および定款の記載事項が法人の目的に適合すること、そして予定される理事が、法人をその目的に沿って運営するに相応しい[職業上の]地位と行動様式を有することを認めたときは、登記官は、登記申請を認可し、その財団法人に対して登記済証を発行して、財団法人の設立を官報で公示しなければならない。

II.

登記官が、申請書が第114条の規定に、または定款が第112条の規定に合致しないと認めたとき、または、申請書あるいは定款の記載事項が法人の目的に適合しないと認めたとき、あるいはまた、予定される法人の理事の[職業上の]地位あるいは行動様式が、法人をその目的に沿って運営するに相応しくないと認めたときは、登記官は、登記申請を適切に修正または変更するよう、申請者に対して命じなければならない。申請が適切に修正または変更されたときは、[登記官は]その登記申請を認可し、法人に登記済証を発行しなければならない。

III.

登記官が、法人の目的が第110条の規定に反するため、法あるいは善良の風俗に反するため、または、公共の安寧あるいは国家の安全を脅かす恐れがあるため、あるいはまた、申請者が[本条第2項の]登記官の命令を知った日から30日以内に、その登記申請を適切に修正あるいは変更しなかったために、この申請は認可することはできないと認めたときは、登記官は、申請の却下を決定し、理由を付してその決定を遅滞なく申請者に通知しなければならない。

IV.

[登記申請を却下する決定を受けた]申請者は、内務大臣にその決定に対する異議を申し立てることができる。この異議申し立ては、申請を却下する決定を知った日から30日以内に登記官に書面で提出しなければならない。

V.

内務大臣は、登記官が異議申し立てを受領した日から90日以内に、その申し立てについて裁定を下し、それを異議申立人に通知しなければならない。内務大臣の裁定をもって、事案は確定する。

มาตรา ๑๑๖

ก่อนที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิมีสิทธิขอถอนการจัดตั้งมูลนิธิได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียน สิทธิที่จะขอถอนการจัดตั้งมูลนิธินี้ไม่ตกทอดไปยังทายาท

ในกรณีที่มีผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิหลายคน ถ้าผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิคนหนึ่งคนใดใช้สิทธิถอนการจัดตั้งมูลนิธิ ให้คำขอจัดตั้งมูลนิธินั้นเป็นอันระงับไป

第116条

I.

登記官が財団法人の登記を認可するまでの間は、設立申請者はその申請を撤回することができる。この場合、申請撤回の届けでは、書面により登記官に提出されなければならない。この財団法人の登記申請を撤回する権利は、相続されない。

II.

複数の個人が共同して財団法人の設立を申請した場合には、そのいずれか一人が[本条第1項に従って]申請を撤回する権利を行使したとき、その申請は効力を失う。

มาตรา ๑๑๗

ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ ถ้าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิที่ขอจัดตั้งไว้ ให้คำขอจัดตั้งมูลนิธิที่ผู้ตายได้ยื่นไว้ต่อนายทะเบียนยังคงใช้ได้ต่อไป และให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ซึ่งผู้ตายมอบหมาย ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต่อไป ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ดำเนินการภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตาย บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธินั้นต่อไปก็ได้

ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ตายกำหนดไว้ ถ้าหากไม่มีพินัยกรรมของผู้ตายสั่งการในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความในมาตรา ๑๖๗๙ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา ๑๖๗๙ วรรคสอง หรือมูลนิธิจัดตั้งขึ้นไม่ได้ตามมาตรา ๑๑๕ ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ตกเป็นมรดกของผู้ตาย

第117条

I.

財団法人の設立を申請した者がその認可以前に死亡した場合、その者が遺言でその申請を撤回する意思を表明していない限り、その設立申請は[申請者の死後も]その効力を失わない。この場合においては、死亡した申請者の相続人、遺産管理人、または申請者によって特に選任された代理人が申請者に代わって[当該財団法人の設立に関する]事務を継続しなければならない。これらの者[の何れも]が申請者の死亡日から120日以内に[当該財団法人の設立に関する]事務を継続しなかったときは、利害関係人または検察官は、設立申請者に代わってこれらの事務を継続することができる。

II.

[死亡した申請者が]設立を申請した財団法人がその目的[が法律の規定に合致しない]ために認可されないときは、その申請者がこうした場合のための代替案を遺言で指定していない限り、本法典第1679条第2項を準用する。本法典第1679条第2項の準用によって事案を処理することが不可能な場合、または当該財団法人の設立が第115条の規定を根拠に認可されない場合には、当該財団法人設立のために提供された財産は、死亡した申請者の相続人に帰属する。

มาตรา ๑๑๘

ในกรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา ๑๖๗๖ ให้บุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดตั้งมูลนิธิตามมาตรา ๑๖๗๗ วรรคหนึ่ง ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ และตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้

ถ้าบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องตั้งมูลนิธิตามวรรคหนึ่ง มิได้ขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวได้รู้หรือควรรู้ข้อกำหนดพินัยกรรมให้ก่อตั้งมูลนิธิ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด หรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนมูลนิธิก็ได้

ถ้าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๑๕ จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนมูลนิธิเพราะเหตุดังกล่าว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนมูลนิธินั้นอีกก็ได้

ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรานี้ จะขอถอนการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา ๑๑๖ ไม่ได้

ในกรณีที่มีผู้คัดค้านต่อนายทะเบียนว่าพินัยกรรมนั้นมิได้กำหนดให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิ ให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้คัดค้านไปร้องต่อศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาการจดทะเบียนไว้ก่อนเพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ถ้าผู้คัดค้านไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนพิจารณาการจดทะเบียนมูลนิธินั้นต่อไป

第118条

I.

財団法人を設立すべき旨の第1676条に基づく遺言があるときは、第1677条第1項に従って財団法人設立の義務を負う者は、第114条および本条の[以下の]規定に従ってその義務を履行しなければならない。

II.

本条第1項における財団法人設立登記の義務を負う者が、財団法人を設立すべき旨の処分を定めたその遺言について知った日あるいは知り得たはずの日から120日以内に財団法人設立の登記を申請しなかったときは、利害関係人または検察官は、[その者に代わって]その登記を申請することができる。

III.

財団法人の設立登記を申請した者が、登記官から第115条に基づく修正あるいは変更の命令を受けたにもかかわらず、その申請を修正あるいは変更しなかったため、それを理由に登記官が申請却下の決定を下した場合には、利害関係人または検察官は、当該財団法人の登記を再申請することができる。

IV.

本条の規定に基づいて財団法人の設立登記を申請する者は、第116条の規定にかかわらず、その申請を撤回することができない。

V.

登記官に対して、財団法人を設立すべき旨の処分を定めた遺言を争う者があるときは、登記官は、その者に対して通知して、この通知を受領した日から60日以内に裁判所に対して異議を申し立てるべく言い渡さなければならない。この場合においては登記官は、裁判所の判決あるいは命令に従うため、当該財団法人登記申請の審査を一時中断しなければならない。遺言を争う者が定められた期間内に裁判所に異議申し立てをしなかった場合は、登記官は当該登記申請の審査を続行しなければならない。

มาตรา ๑๑๙

ในกรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิ ถ้าพินัยกรรมที่ทำไว้มิได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการตามมาตรา ๑๑๒ (๑) (๓) หรือ (๖) ให้ผู้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๑๘ กำหนดรายการดังกล่าวได้ ถ้าผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดคัดค้าน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรแล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอและผู้คัดค้านทราบพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า หากผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านไม่พอใจในคำสั่งดังกล่าว ก็ให้ไปร้องคัดค้านต่อศาล ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาจดทะเบียนไว้ก่อนเพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล แต่ถ้าไม่มีการร้องคัดค้านต่อศาลภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนพิจารณาจดทะเบียนมูลนิธิตามที่ได้มีคำสั่งไว้นั้นต่อไป

第119条

財団法人を設立すべき旨の遺言がある場合において、その遺言に第112条第1号、第3号あるいは第6号に掲げられた事項の規定が欠けるときは、第118条に基づいて財団法人設立を申請する者は、それらの事項を[自ら]規定することができる。[この補充に対して]異議を唱える利害関係人があるときは、登記官は、その適切と思われるところに従って裁定を下し、その裁定を登記申請者と異議申立人の双方に通知すると同時に、この裁定に不服がある場合には、この通知を受領した日から60日以内に裁判所に対して異議申し立てをするべき旨を申し渡さなければならない。この場合において登記官は、裁判所の判決または命令に従うため、登記申請の審査を一時中断しなければならない。異議申立人が期間内に裁判所に不服申し立てをしなかった場合は、登記官は、自ら下した裁定に従って当該登記申請の審査を続行しなければならない。

มาตรา ๑๒๐

ในกรณีที่มีบุคคลหลายรายยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกรายเดียวกัน ถ้าคำขอนั้นมีข้อขัดแย้งกัน ให้นายทะเบียนเรียกผู้ยื่นคำขอมาตกลงกัน และถ้าผู้ยื่นคำขอไม่มาตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร และให้นำความในมาตรา ๑๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

第120条

同一の被相続人の遺言に従って、[同一の]財団法人の登記を申請する者が複数ある場合において、その申請内容に不一致点があるときは、登記官は、それらの申請者全員に協議をさせなければならない。申請者同士の協議が整わなかったとき、または登記官が言い渡した期間内に合意に至らなかったときは、登記官は、その適切と思われるところに従って裁定を下さなければならない。この場合においては、第119条の規定を準用する。

มาตรา ๑๒๑

เมื่อได้จดทะเบียนมูลนิธิแล้ว ถ้าผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เพื่อการนั้นตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิเป็นต้นไป

ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อได้จดทะเบียนมูลนิธิแล้ว ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เพื่อการนั้นตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่เวลาที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธินั้นถึงแก่ความตาย

第121条

I.

財団法人の登記がその設立者の生存中に完了ときは、設立者がこの財団法人のために提供した財産は、登記官が当該登記申請を認可した日よりこの財団法人に帰属するものとする。

II.

財団法人がその設立者の死後に登記されたときは、設立者がこの財団法人のために提供した財産は、設立者の死亡した時よりこの財団法人に帰属するものとする。

มาตรา ๑๒๒

มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล

第122条

登記をもって、財団法人は法人としての権利能力を得る。

มาตรา ๑๒๓

คณะกรรมการของมูลนิธิเป็นผู้แทนของมูลนิธิในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก

第123条

財団法人の理事会は、第三者との間の業務関係において、法人を代理する。

มาตรา ๑๒๔

บรรดากิจการที่คณะกรรมการของมูลนิธิได้กระทำไปแม้จะปรากฏในภายหลังว่ามีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการของมูลนิธิ กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์

第124条

財団法人の理事により執行されたすべての業務は、たとえ理事の選任行為または理事の資格に瑕疵のあることが事後に明らかになったとしても、その完全な効力を維持する。

มาตรา ๑๒๕

การแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ให้กระทำตามข้อบังคับของมูลนิธิ และมูลนิธิต้องนำไปจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ

ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของมูลนิธิตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิ นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้มูลนิธิทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และให้นำความในมาตรา ๑๑๕ วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งและไม่มีกรรมการของมูลนิธิเหลืออยู่ หรือกรรมการของมูลนิธิที่เหลืออยู่ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้ ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิมิได้กำหนดการปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่กรรมการของมูลนิธิต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิที่ตั้งใหม่

กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งเพราะถูกถอดถอนโดยคำสั่งศาลตามมาตรา ๑๒๙ จะปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสามไม่ได้

第125条

I.

財団法人の理事全体の改選または個々の理事の更迭は、法人の定款の規定に従ってこれを行わなければならない。[この場合]法人は、改選または更迭の日から30日以内に、その主な事務所の所在地を管轄する登記官に[改選または更迭の結果を]届け出て、その登記を申請しなければならない。

II.

登記官が、本条第1項の規定に従って選任された法人の新理事のうち何れかの者の[職業上の]地位あるいは行動様式が、法人をその目的に沿って運営するに相応しくないと認めたときは、登記官は、当該者の登記を却下することができる。登記申請却下の決定を下したときには、登記官は、その申請の日から60日以内に、その財団法人に却下決定の理由を通知しなければならない。この場合においては、第115条第4項および第5項の規定を準用する。

III.

理事の辞任あるいは解任の結果、財団法人の理事が一人もいなくなる場合、または、残余の理事だけでは財団法人の理事の職務を執行することが不可能になる場合には、財団法人の定款に特段の規定のない限り、登記官から新理事の登記の認可の通知を受領するまでの間、辞任する理事はその職務を継続しなければならない。

IV.

第129条に基づく裁判所の命令により解任された財団法人の理事は、本条第3項に従って理事の職務を継続することは許されない。

มาตรา ๑๒๖

ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒๗ ให้คณะกรรมการของมูลนิธิเป็นผู้มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ แต่ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้ การแก้ไขเพิ่มเติมต้องเป็นไปตามที่ข้อบังคับกำหนด และให้มูลนิธินำข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการของมูลนิธิได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ และให้นำความในมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

第126条

第127条で規定された範囲内において、財団法人の理事会は、その定款を変更する権限を有する。但し、財団法人の定款が定款の変更に関する基本原則とその手続きを規定している場合には、その規定に従わなければならない。[変更が行われたときは]財団法人は、変更の日から30日以内にそれを登記官に届け出て、その登記を申請しなければならない。[この場合においては]第115条の規定を準用する。

มาตรา ๑๒๗

การแก้ไขเพิ่มเติมรายการในข้อบังคับของมูลนิธิตามมาตรา ๑๑๒ (๒) จะกระทำได้แต่เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)

เพื่อให้สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ หรือ

(๒)

พฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปเป็นเหตุให้วัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นมีประโยชน์น้อย หรือไม่อาจดำเนินการให้สมประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นได้และวัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธิ

第127条

財団法人の定款中、第112条第2号に掲げられた事項[=法人の目的]の変更は、次の場合に限って認可される。

(1)

[専ら]法人の目的に従った業務の遂行[それ自体]を可能とするための変更の場合。

(2)

事情の[根本的な]変更のために、従来の目的の有する効用が減少したか、またはその目的に適った業務の遂行が困難となった場合で、変更後の新たな目的が従来のそれと極めて類似している場合。

มาตรา ๑๒๘

ให้นายทะเบียนมีอำนาจตรวจตราและควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของมูลนิธิให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ เพื่อการนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายเป็นหนังสือ มีอำนาจ

(๑)

มีคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้างหรือตัวแทนของมูลนิธิ ชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของมูลนิธิ หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถาม หรือให้ส่งหรือแสดงสมุดบัญชีและเอกสารต่างๆ ของมูลนิธิเพื่อตรวจสอบ

(๒)

เข้าไปในสำนักงานของมูลนิธิในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบกิจการของมูลนิธิ

ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นนายทะเบียน ให้แสดงบัตรประจำตัว และถ้าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย ให้แสดงบัตรประจำตัวและหนังสือมอบหมายของนายทะเบียนต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

第128条

I.

登記官は、財団法人の業務執行における法令および定款の遵守状況を検査し、監督する権限を有する。この任務を遂行するために、登記官、またはより書面による委任を受けた係官は、次にかかげる行為をすることができる。

(1)

書面によって、財団法人の理事、職員、使用人、あるいは代理人に対して、法人の業務に関する事実関係を報告するように命じ、または査問のために出頭を命じ、あるいはまた、法人の会計帳簿その他の書類の送付あるいは開示を命じること。

(2)

日の出から日没までの間に、法人の事務所に立ち入って業務の執行状況を検査すること。

II.

本条第1項の公務執行に当たっては、登記官はその身分証明書を、登記官より委任を受けた係官はその身分証明書と委任状を、[法人の]関係者に提示しなければならない。

มาตรา ๑๒๙

ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิผู้ใดดำเนินกิจการของมูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อมูลนิธิ หรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของมูลนิธิ หรือกลายเป็นผู้มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิผู้นั้นได้

ในกรณีที่การกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของคณะกรรมการของมูลนิธิ หรือปรากฏว่าคณะกรรมการของมูลนิธิไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิทั้งคณะได้

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของมูลนิธิตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ศาลจะแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของมูลนิธิแทนกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของมูลนิธิที่ศาลถอดถอนก็ได้ เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลใดเป็นกรรมการของมูลนิธิแล้ว ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนไปตามนั้น

第129条

I.

財団法人の理事が、法人業務の執行に当たり、過失によって法人に損害を与えた場合、または法令あるいは法人の定款に違反した場合、あるいはまた、法人の目的に従った業務の執行に相応しくない[職業上の]地位あるいは行動様式をもつに至った場合には、登記官、検察官、または利害関係人は、裁判所に対して当該理事の解任を請求することができる。

II.

本条第1項に掲げられた[不法あるいは不相応な]行為が理事会全体によってなされた場合、または理事会が正当な理由なく法人の目的に従った業務の執行を行っていないことが判明した場合は、登記官、検察官、または利害関係人は、裁判所に対して当該理事会全体の解任を請求することができる。

III.

裁判所が本条第1項あるいは第2項に基づいて理事個人あるいは理事会全体を解任する決定を下したときは、裁判所から、他の個人の中から理事あるいは理事会を選任し、解任された理事または理事会に替えることができる。裁判所が新理事[あるいは新理事会]を選任した場合には、登記官は、それに従って[新理事あるいは新理事会の]登記を行わなければならない。

มาตรา ๑๓๐

มูลนิธิย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้

(๑)

เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ

(๒)

ถ้ามูลนิธิตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น

(๓)

ถ้ามูลนิธิตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด และได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์สำเร็จบริบูรณ์แล้ว หรือวัตถุประสงค์นั้นกลายเป็นการพ้นวิสัย

(๔)

เมื่อมูลนิธินั้นล้มละลาย

(๕)

เมื่อศาลมีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา ๑๓๑

第130条

財団法人は、以下に掲げるいずれかの事由により、当然に解散する。

(1)

定款に定められた解散事由の発生したとき。

(2)

その財団法人が特定の期間に限って設立された場合において、その期間が満了したとき。

(3)

その財団法人が特定の目的のために設立された場合において、その目的が達成されたとき、またはその目的[の達成]が不可能となったとき。

(4)

財団法人が破産したとき。

(5)

裁判所が第131条の規定に従って財団法人の解散を命じたとき。

มาตรา ๑๓๑

นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิได้ในกรณีใดดังต่อไปนี้

(๑)

เมื่อปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมาย

(๒)

เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ

(๓)

เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ หรือหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่สองปีขึ้นไป

第131条

次に掲げる場合においては、登記官、検察官、または利害関係人は、裁判所に対して財団法人の解散を請求することができる。

(1)

財団法人の目的が法令に違反することが判明したとき。

(2)

財団法人が法令あるいは善良の風俗に反する活動、または社会の安寧あるいは国家の安全を脅かす虞のある活動を行ったことが判明したとき。

(3)

財団法人に、その原因の如何にかかわらず、その[目的に従った]事業を続行する能力がないこと、またはそうした事業を既に2年以上にわたって中断していることが判明したとき。

มาตรา ๑๓๒

เมื่อมูลนิธิมีเหตุต้องเลิกตามมาตรา ๑๓๐ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้ว ให้คณะกรรมการของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันที่มีการเลิกมูลนิธิ

ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้มูลนิธิล้มละลายตามมาตรา ๑๓๐ (๔) หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา ๑๓๑ ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบด้วย

ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกมูลนิธิในราชกิจจานุเบกษา

第132条

I.

財団法人が第130条第1号ないし第3号によって解散されるべき場合においては、その解散の時に職務を執行する法人の理事会は、解散の日から14日以内に法人の解散を登記官に届け出なければならない。

II.

裁判所がその確定判決または確定命令により、第130条第4号に掲げる財団法人の破産を宣告した場合、あるいは第131条に基づいて財団法人の解散を命じた場合には、裁判所は当該判決または命令を登記官に通知しなければならない。

III.

[本条第1項の届け出または第2項の通知を受領した]登記官は、財団法人の解散を官報で公示しなければならない。

มาตรา ๑๓๓

ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิ ให้มีการชำระบัญชีมูลนิธิ และให้นำบทบัญญัติในบรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีมูลนิธิโดยอนุโลม ทั้งนี้ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอรายงานการชำระบัญชีต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเป็นผู้อนุมัติรายงานนั้น

第133条

財団法人が解散されたときは、その法人[の資産]は清算される。財団法人の清算には、本法典第三編第二十二節における登記済み合名会社、合資会社および有限会社の清算に関する規定を準用する。清算人は、清算に関する報告を登記官に提出して、その承認を得なければならない。

มาตรา ๑๓๔

เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้โอนทรัพย์สินของมูลนิธิให้แก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๑๑๐ ซึ่งได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของมูลนิธิ ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิมิได้ระบุชื่อมูลนิธิหรือนิติบุคคลดังกล่าวไว้ พนักงานอัยการผู้ชำระบัญชี หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้จัดสรรทรัพย์สินนั้นแก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่นที่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นได้

ถ้ามูลนิธินั้นถูกศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๑๓๑ (๑) หรือ (๒) หรือการจัดสรรทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่อาจกระทำได้ ให้ทรัพย์สินของมูลนิธิตกเป็นของแผ่นดิน

第134条

I.

財団法人の清算後、[なお残余資産がある場合には、その]残余資産は、清算法人の定款内でなされた指名に従って、第110条に規定された目的を有する[他の]財団法人または[その他の]法人に譲り渡なければならない。定款内にそのような指名がない場合には、検察官、清算人または利害関係人は、清算法人のそれと最も類似した目的を有する[他の]財団法人または[その他の]法人にその残余資産を譲り渡すよう、裁判所に請求することができる。

II.

財団法人が裁判所から第131条第1号あるいは第2号に基づいて解散を命じられた場合、または本条第1項に従った残余資産の譲り渡しが不可能な場合には、その残余資産は国庫に帰属する。

มาตรา ๑๓๕

ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ หรือจะขอให้นายทะเบียนคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน และเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนปฏิบัติตามคำขอนั้น

第135条

登記官の保管する、財団法人に関する書面の閲覧またはその認証済み謄本を希望する者は、登記官に対してこれを請求することができる。この場合において登記官は、省令に定められた手数料の支払いを条件に、その請求に応じなければならない。

มาตรา ๑๓๖

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามบทบัญญัติในส่วนนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนกับออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ

(๑)

การยื่นคำขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน

(๒)

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การคัดสำเนาเอกสาร และค่าธรรมเนียมการขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆเกี่ยวกับมูลนิธิ รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว

(๓)

แบบบัตรประจำตัวของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่

(๔)

การดำเนินกิจการของมูลนิธิและการทะเบียนมูลนิธิ

(๕)

การอื่นใดเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

第136条

I.

内務大臣は、本款の規定の実効性に責任を負うと同時に、登記官を任命し、および次に掲げる事項に関する省令を発する権限を有する。

(1)

登記の申請とその認可。

(2)

登記料、書面の閲覧およびその謄本発行の手数料、その他、財団法人に関して何らかの行政行為を登記官に申請する場合の手数料、および、それらの手数料の免除。

(3)

登記官および[登記官より第128条の委任を受けた]係官の身分証明書。

(4)

財団法人の事業運営および財団法人の登記簿管理。

(5)

本款の規定を実施するために必要な、その他の事項。

II.

[本条第1項に規定された]これらの省令は、官報で公示された時点でその効力を発する。

ลักษณะ ๓

ทรัพย์

Dritter Abschnitt.

Sachen

第三章

มาตรา ๑๓๗

ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง

第137条

[本法典において]物とは、有体物をいう。

มาตรา ๑๓๘

ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

第138条

財物[あるいは財産]とは、[有体物たる]物のほか、無体物のうち価値を有することができ、且つ専有することの可能なものをいう。

มาตรา ๑๓๙

อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

第139条

不動産とは、土地およびその土地に恒常的に付着しあるいは結合して一体をなす物をいい、同時に、その土地およびそれに付着しあるいは結合して一体をなす物の上に成立する財産権をも意味する。

มาตรา ๑๔๐

สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย

第140条

動産とは、不動産以外の財物をいい、同時に、その物の上に成立する権利をも意味する。

มาตรา ๑๔๑

ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว

第141条

可分物とは、それを構成部分に完全に分解しても、各部分がその個体を維持する[有体]物をいう。

มาตรา ๑๔๒

ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย

第142条

不可分物とは、その性状を変えることなく、その構成部分に分解することのできない物をいい、法令によって不可分と規定されたものも含む。

มาตรา ๑๔๓

ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

第143条

非融通物とは、専有することのできない物、および合法的に譲渡し合うことのできない物をいう。

มาตรา ๑๔๔

ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป

เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น

第144条

I.

物の構成要素とは、その物自体の性質により、あるいはその地方の慣習によって、その物の本体を成すとされる部分であって、それらを相互に分離すれば、その物を破壊し、毀損し、またはその形状あるいは性質を変えてしまうものをいう。

II.

物の所有者は、当然にその構成要素の所有権を有する。

มาตรา ๑๔๕

ไม้ยืนต้น เป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่

ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน

第145条

I.

[多年生の]立ち木は、それが生える土地の構成要素である。

II.

一年生の植物、および年に一回あるいは数回収穫期を有する穀物は、その土地の構成要素を成さない。

มาตรา ๑๔๖

ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

第146条

土地あるいは建物に単に一時的に付着されたに過ぎない物は、その土地あるいは建物の構成要素とはみなされない。他人の土地を利用する権利を有する者が自己の権利を行使して、その土地の上に建てた建物その他の構造物もまた同様とする。

มาตรา ๑๔๗

อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

第147条

I.

従物とは、その主物とされる物の管理、使用あるいは保存のために、その地方に行われる通例に従い、または主物の所有者の明確な意思に基づいて、主物に常備されるべき道具と定められた動産であって、所有者が備品として主物に付着、調度あるいはその他の方法によって附属させたものをいう。

II.

従物は、その主物から一時的に分離しても、その従物たる性格を失わない。

III.

従物は、別段の規定のない限り、当然に主物の処分に従う。

มาตรา ๑๔๘

ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น

ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

第148条

I.

果実とは、天然果実と法定果実とを含む。

II.

天然果実とは、ある物の保有あるいは通常の使用によって、その物の本体からその自然の性質に従って生じる産出物であって、物の本体から分離することによって、専有することができる物をいう。

III.

法定果実とは、ある物の使用の対価として、その物の所有者に対して、他人から定期的に引き渡される物あるいはその他の利益であって、日歩によりあるいは定められた期間毎に計算して、専有することのできるものをいう。

ลักษณะ ๔

นิติกรรม

第四章

法律行為

หมวด ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

第一節

総則

มาตรา ๑๔๙

นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

第149条

法律行為とは、権利を設定し、変更し、移転し、保存し、または終了させるために、個人間に法律関係を結ぶことを直接に目指して、合法的且つ自発的になされる行為をいう。

มาตรา ๑๕๐

การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ

第150条

法令によって明示的に禁止された目的あるいは不能の目的、または公共の秩序あるいは善良の風俗に反する目的を内容とする如何なる行為も、これを無効とする。

มาตรา ๑๕๑

การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ

第151条

法令中の規定と異なる内容の行為であっても、その法令の規定が公共の秩序あるいは善良の風俗に関しないものである限り、その行為は無効ではない。

มาตรา ๑๕๒

การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ

第152条

法令により要求される方式に従わずになされた行為は、これを無効とする。

มาตรา ๑๕๓

การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ

第153条

法令中の人の行為能力に関する規定に従わずになされた行為は、これを取り消すことができる。

หมวด ๒

การแสดงเจตนา

第二節

意思表示

มาตรา ๑๕๔

การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

第154条

意思表示は、表示者が本心では自らをその表示通りに義務付ける意図なく行ったものであっても、そのことのみによってその効力を妨げられることはない。但し、相手方が表示者の真意を知っている場合はその限りではない。

มาตรา ๑๕๕

การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ

第155条

I.

相手方と通じてなした虚偽の意思表示は、これを無効とする。但し、[当事者がこれを以て]善意の第三者に対抗し、当該意思表示[の無効]によってこの者に損害を及ぼすことは許されない。

II.

本条第1項の虚偽の意思表示が他の法律行為を隠匿するためになされた場合には、この隠匿された法律行為に関する規定を適用する。

มาตรา ๑๕๖

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น

第156条

I.

意思表示は、法律行為の要素に錯誤があったときは、これを無効とする。

II.

本条第1項における法律行為の要素の錯誤とは即ち、法律行為の種類に関する錯誤、法律行為の相手方の人物に関する錯誤、法律行為の目的物たる財物などに関する錯誤をいう。

มาตรา ๑๕๗

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ

ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น

第157条

I.

意思表示は、人あるいは財物の性質に関して錯誤があったときは、これを取り消すことができる。

II.

本条第1項における錯誤は、それが通常、[人あるいは財物にとって]本質的と見なされる性質に関する錯誤であり、且つこの錯誤がなければ表意者は当該意思表示をしなかったであろう[と推定される]場合にのみ、取り消しを基礎づけるに足るものとする。

มาตรา ๑๕๘

ความสำคัญผิดตามมาตรา ๑๕๖ หรือมาตรา ๑๕๗ ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาณเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้

第158条

第156条または第157条における錯誤は、それが表意者自身の重大な過失によるときは、表意者は、自らの利益のために当該意思表示の無効を主張することができない。

มาตรา ๑๕๙

การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น

ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น

第159条

I.

詐欺による意思表示は、これを取り消すことができる。

II.

本条第1項における詐欺は、その詐欺がなければ表意者は当該意思表示をしなかったであろう[と推定される]場合にのみ、取り消しを基礎づけるに足るものとする。

III.

当事者の一方が第三者のはたらいた詐欺のために意思表示をなすに至ったときは、他方当事者がその詐欺を知っていたか、あるいは知り得たはずの場合に限り、当該意思表示を取り消すことができる。

มาตรา ๑๖๐

การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลตามมาตรา ๑๕๙ ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต

第160条

第159条に基づく詐欺による意思表示の取り消しは、善意の第三者に対しては、これを主張することができない。

มาตรา ๑๖๑

ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

第161条

表意者が詐欺によって、通常ならば受け入れなかっであろう不利な内容に同意するよう誘導された程度の場合には、その表意者は自らの意思表示を取り消すことはできず、その詐欺から生じた損害の賠償を請求できるにとどまる。

มาตรา ๑๖๒

ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสีย ไม่แจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การนั้นจะเป็นกลฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น

第162条

双務的な法律行為において、当事者の一方が他方当事者の知らない事実あるいは性質を故意に黙秘したときは、その黙秘された事実あるいは性質を相手方が知っていたならば当該法律行為は成立に至らなかったであろうことが証明される場合に限り、これを[第159条における]詐欺とする。

มาตรา ๑๖๓

ถ้าคู่กรณีต่างได้กระทำการโดยกลฉ้อฉลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะกล่าวอ้างกลฉ้อฉลของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อบอกล้างการนั้นหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนมิได้

第163条

[法律行為の]当事者の双方が互いに相手方に対して詐欺をはたらいたときは、相手方の詐欺を理由に[自らの意思表示の]取り消しを主張し、または損害賠償を請求することは、双方ともに許されない。

มาตรา ๑๖๔

การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น

第164条

I.

強迫による意思表示は、これを取り消すことができる。

II.

本条第1項における強迫は、危害を被る危険が、被害者が恐怖心を抱くのも尤もな程度に現実的且つ深刻であって、更に、その強迫がなければ当該法律行為は成立しなかったであろう[と推定される]場合にのみ、取り消しを基礎づけるに足るものとする。

มาตรา ๑๖๕

การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่

การใดที่กระทำไปเพราะนับถือยำเกรง ไม่ถือว่าการนั้นได้กระทำเพราะถูกข่มขู่

第165条

I.

権利の通常の行使を以てする警告は、[第164条における]強迫とは見なされない。

II.

畏敬の念からなされた行為は、[第164条における]強迫によるものとは見なされない。

มาตรา ๑๖๖

การข่มขู่ย่อมทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ แม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่

第166条

強迫が第三者によってなされた場合であっても、[その結果としてなされた]意思表示は、常に取り消すことができる。

มาตรา ๑๖๗

ในการวินิจฉัยกรณีความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่ ให้พิเคราะห์ถึง เพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย และภาวะแห่งจิตของผู้แสดงเจตนา ตลอดจนพฤติการณ์และสภาพแวดล้อมอื่นๆ อันเกี่ยวกับการนั้นด้วย

第167条

錯誤、詐欺および強迫[による意思表示]の事案の審理に当たっては、表意者の性別、年齢、[職業上の]地位、身体的、精神的な健康状態、および当該行為に関わるその他の事情を考慮しなければならない。

มาตรา ๑๖๘

การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่ผู้รับการแสดงเจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น ความข้อนี้ให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลหนึ่งแสดงเจตนาไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งโดยทางโทรศัพท์ หรือโดยเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น หรือโดยวิธีอื่นซึ่งสามารถติดต่อถึงกันได้ทำนองเดียวกัน

第168条

意思表示は、相手方がその場に居合わせるときは、相手方がそれを確知すると同時に、その効力を生じる。意思表示が電話回線あるいはその他の通信手段、またはそれらに準じる連絡方法によって伝達される場合もまた、同様とする。

มาตรา ๑๖๙

การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้น ไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา แต่ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้น ก่อนหรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล

การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

第169条

I.

隔地者に対する意思表示は、その意思表示が相手方に到達した時点からその効力を生じる。但し、それに先立ち、あるいはそれと同時に撤回[の通知]が到達した場合は、その限りではない。

II.

既に発信された[隔地者に対する]意思表示は、表意者がそれを発した後に死亡し、または裁判所の決定によって禁治産あるいは準禁治産の宣告を受けても、そのためにその効力を妨げられない。

มาตรา ๑๗๐

การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับการแสดงเจตนาไม่ได้ เว้นแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของผู้รับการแสดงเจตนานั้นได้รู้ด้วย หรือได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้ว

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้าการแสดงเจตนานั้นเกี่ยวกับการที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้เยาว์หรือคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำได้เองโดยลำพัง

第170条

I.

意思表示の相手方が未成年者である場合、または裁判所の決定により禁治産あるいは準禁治産の宣告を受けている場合は、この相手方に対して意思表示の効力を主張することはできない。但し、それぞれの事案に応じて相手方の法定代理人、後見人あるいは保佐人もまた、その意思表示を知った場合、または事前に同意を与えていた場合は、その限りではない。

II.

本条第1項の規定は、法律によって未成年者または準禁治産者が単独ですることの許された行為のために[これらの者が]した意思表示については、これを適用しない。

มาตรา ๑๗๑

ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร

第171条

意思表示の解釈に当たっては、表示上の成句あるいは文字に捕われることなく、表意者の真意に着目しなければならない。

หมวด ๓

โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม

第三節

無効および取り消し

มาตรา ๑๗๒

โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้

ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ

第172条

I.

無効の行為は、これを当事者間で追認することはできず、利害関係人であれば誰でもその無効を主張することができる。

II.

無効の行為に起因する財物を返還する必要がある場合には、本法典中の不当利得に関する規定を適用する。

มาตรา ๑๗๓

ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้

第173条

法律行為に無効の部分があるときは、その全体を無効とする。但し、事案の事情から、当事者が無効の部分から切り離して、有効な部分だけでも成立させたであろうことが推定される場合は、この限りではない。

มาตรา ๑๗๔

การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือตามนิติกรรมซึ่งไม่เป็นโมฆะ ถ้าสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า หากคู่กรณีได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะแล้ว ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น

第174条

[それ自体としては]無効であっても、他の種類の法律行為としては有効な行為は、事案の事情から、当事者がその行為の無効であることを知っていたら、初めから有効な行為の方を欲していたであろうと推定されるときは、この有効な法律行為としての効力を有する。

มาตรา ๑๗๕

โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้

(๑)

ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

(๒)

บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์

(๓)

บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่

(๔)

บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา ๓๐ ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว

ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้

第175条

I.

取り消し可能な行為は、次に掲げる者に限り、これを取り消すことができる。

(1)

[行為者が行為時に未成年であった場合、その]法定代理人、および[行為時に未成年であった者が]既に成年に達しているときはその未成年であった者自身、また、法定代理人の同意があれば、成年に達する前でも未成年者自身が取り消し得る。

(2)

[行為者が裁判所より禁治産あるいは準禁治産の宣告を受けた者である場合、]既にその禁治産宣告あるいは準禁治産宣告が取り消されているときは禁治産者あるいは準禁治産者自身、およびその後見人あるいは保佐人、さらに、準禁治産宣告の取り消し以前であっても、保佐人の同意があれば、準禁治産者自身が取り消し得る。

(3)

錯誤、詐欺あるいは強迫により、[瑕疵ある]意思表示をした者。

(4)

[行為者が]第30条における心神喪失状態で行為をした場合、その状態から回復している時点であれば、その行為者自身。

II.

取り消し可能な行為をした者自身がその取り消し権を行使せずに死亡したときは、その者の相続人がその行為を取り消し得る。

มาตรา ๑๗๖

โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน

ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะ นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ

ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่กรณีการกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่งเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม

第176条

I.

取り消し可能な行為は、現に取り消されたときは、これを初めから無効であったものと見なす。この場合、当事者は原状を回復しなければならない。原状の回復が不可能なときは、それによる損害を賠償しなければならない。

II.

当該行為が取り消し可能であることを知っていたか、または知り得たはずの者は、現にその行為が取り消されたときは、この者を、取り消し可能なことを知りまたは知り得たはずの時点より、その行為の無効であることを知っていたものと見なす。

III.

本条第1項に規定される[当事者の]原状回復[義務]に基づく請求権は、取り消しの日から1年を経過したときは、これを行使することができない。

มาตรา ๑๗๗

ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา ๑๗๕ ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก

第177条

取り消し可能な行為は、第175条に規定される取り消し権者が追認したときは、これを初めから有効な法律行為と見なす。但し、追認によって第三者の権利を害することはできない。

มาตรา ๑๗๘

การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน

第178条

取り消し可能な行為の取り消しあるいは追認は、相手方が明確にそれと確定できる場合において、この者に対する意思表示により、これを行うことができる。

มาตรา ๑๗๙

การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว

บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา ๓๐ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้ต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่งโมฆียะกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล แล้วแต่กรณี

ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้นับแต่เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย เว้นแต่สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมของผู้ตายนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว

บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ ถ้าการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์

第179条

I.

取り消し可能な行為の追認は、その行為の取り消し可能性の原因である状況が完全に消滅した後でなければ、これを行うことができない。

II.

裁判所から禁治産あるいは準禁治産の宣告を受けた者、または、第30条における心神喪失状態で取り消し可能な行為を行った者は、その禁治産宣告あるいは準禁治産宣告の取り消し後において、または、心神喪失状態から回復している時点において、取り消し可能な行為を了知した後でなければ、これを追認することができない。

III.

取り消し可能な行為を行った者の相続人は、行為者の死亡の時よりその行為を追認することができる。但し、行為者の有する取り消し権が既に[時効によって]消滅している場合は、その限りではない。

IV.

本条第1項および第2項の規定は、[行為者の]法定代理人、後見人または保佐人が追認する場合には、これを適用しない。

มาตรา ๑๘๐

ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ตามมาตรา ๑๗๙ ถ้าพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียะกรรม โดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา ๑๗๕ ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน

(๑)

ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

(๒)

ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว

(๓)

ได้มีการแปลงหนี้ใหม่

(๔)

ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น

(๕)

ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

(๖)

ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน

第180条

第179条の規定により追認をすることができる時以後に、第175条に規定される取り消し権者の行為によって、何らの異議をとどめることなく、取り消し可能な行為につき、次に掲げる事態が生じたときは、それによって取り消し可能な行為を追認したものと見なす。

(1)

債務の全部または一部の履行。

(2)

履行の請求。

(3)

更改。

(4)

担保の供与。

(5)

[取り消し可能な行為によって取得した]権利あるいは[負担した]責任の、全部あるいは一部の譲渡あるいは移転。

(6)

追認をしたものと解し得るその他の行為。

มาตรา ๑๘๑

โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

第181条

取り消し可能な行為は、その追認をすることができる時から1年を経過した後、または行為の時から10年を経過した後は、もはやこれを取り消しすることができない。

หมวด ๔

เงื่อนไขและเงื่อนเวลา

第四節

条件および期限

มาตรา ๑๘๒

ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข

第182条

法律行為の効力を、将来において実際に発生するか否かが不確定の事態によって、発効あるいは失効させることを規定したときは、そのような規定を条件と呼ぶ。

มาตรา ๑๘๓

นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว

นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว

ถ้าคู่กรณีแห่งนิติกรรมได้แสดงเจตนาไว้ด้วยกันว่า ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้นให้มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสำเร็จ ก็ให้เป็นไปตามเจตนาเช่นนั้น

第183条

I.

停止条件付き法律行為は、その条件が成就した時からその効力を生じる。

II.

解除条件付き法律行為は、その条件が成就した時にその効力を失う。

III.

法律行為の当事者が条件の成就した場合の効果をその成就した時以前に遡らせる意思を表示したときは、その意思に従う。

มาตรา ๑๘๔

ในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแห่งนิติกรรมอันอยู่ในบังคับเงื่อนไขจะต้องงดเว้นไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะพึงได้จากความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้น

第184条

条件付き法律行為の各当事者は、条件の成否が未定である間は、条件が成就した場合に相手方に生じるべき利益を害するような行為をしてはならない。

มาตรา ๑๘๕

ในระหว่างที่เงื่อนไขยังมิได้สำเร็จนั้น สิทธิและหน้าที่ต่างๆของคู่กรณีมีอย่างไร จะจำหน่าย จะรับมรดก จะจัดการป้องกันรักษา หรือจะทำประกันไว้ประการใดตามกฎหมายก็ย่อมทำได้

第185条

[条件付きの法律行為の]当事者は、条件の成否が未定である間にも、法律の規定に従い、その[条件付きの]権利あるいは義務を処分し、相続し、保存し、または[債務の場合に、そのために]担保を供することができる。

มาตรา ๑๘๖

ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดเสียเปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นไม่สำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว

ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดได้เปรียบและคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นมิได้สำเร็จเลย

第186条

I.

条件が成就することによって不利益を受ける当事者が、信義に反する仕方で条件の成就を妨げたときは、その条件は成就したものと見なす。

II.

条件が成就することによって利益を受ける当事者が、信義に反する仕方で条件の成就に導いたときは、その条件は成就しなかったものと見なす。

มาตรา ๑๘๗

ถ้าเงื่อนไขสำเร็จแล้วในเวลาทำนิติกรรม หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลังให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

ถ้าเป็นอันแน่นอนในเวลาทำนิติกรรมว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลังให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข

ตราบใดที่คู่กรณียังไม่รู้ว่าเงื่อนไขได้สำเร็จแล้วตามวรรคหนึ่ง หรือไม่อาจสำเร็จได้ตามวรรคสอง ตราบนั้นคู่กรณียังมีสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๑๘๔ และมาตรา ๑๘๕

第187条

I.

条件が法律行為の時に既に成就していた場合において、その条件が停止条件であるときはその法律行為は無条件とし、その条件が解除条件であるときはその法律行為は無効とする。

II.

条件の成就が不可能であることが法律行為の時に既に確定していた場合において、その条件が停止条件であるときはその法律行為は無効とし、その条件が解除条件であるときはその法律行為は無条件とする。

III.

本条第1項の場合において条件の既に成就していることを、第2項の場合において条件の成就が不可能であることを未だ知らないでいる限り、当事者は、第184条および第185条に基づく権利を有し義務を負う。

มาตรา ๑๘๘

นิติกรรมใดมีเงื่อนไขอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

第188条

法令に違反し、または公共の秩序あるいは善良の風俗に反する条件を付した法律行為は、これを無効とする。

มาตรา ๑๘๙

นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลังและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข

第189条

I.

不能の停止条件を付した法律行為は、これを無効とする。

II.

不能の解除条件を付した法律行為は、これを無条件とする。

มาตรา ๑๙๐

นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเป็นเงื่อนไขอันสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

第190条

停止条件付き法律行為は、その条件成就の成否が単に債務者の意思にのみ係るときは、これを無効とする。

มาตรา ๑๙๑

นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ ห้ามมิให้ทวงถามให้ปฏิบัติการตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด

นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้ นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

第191条

I.

法律行為に始期を付したときは、その法律行為の履行は、期限が到来するまで、これを請求することができない。

II.

法律行為に終期を付したときは、その法律行為の効力は、期限が到来した時に消滅する。

มาตรา ๑๙๒

เงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะปรากฏโดยเนื้อความแห่งตราสารหรือโดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าได้ตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหนี้หรือแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยกัน

ถ้าเงื่อนเวลาเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นจะสละประโยชน์นั้นเสียก็ได้ หากไม่กระทบกระเทือนถึงประโยชน์อันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะพึงได้รับจากเงื่อนเวลานั้น

第192条

I.

始期あるいは終期は、債務者の利益のために定めたものと推定する。但し、[当該法律行為に関する]証書の内容から、または事案の事情から、その期限が債権者の利益のため、あるいは当事者双方の利益のために定められたと解される場合は、その限りではない。

II.

期限の規定によって利益を受ける当事者は、他方当事者がそれから受けるべき利益を損なわない限り、自らの利益を放棄することができる。

มาตรา ๑๙๓

ในกรณีดังต่อไปนี้ ฝ่ายลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดมิได้

(๑)

ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

(๒)

ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้

(๓)

ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้

(๔)

ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยินยอมด้วย

第193条

次に掲げる場合には、債務者は、始期あるいは終期の規定から受ける利益を主張することができない。

(1)

債務者が裁判所より、破産法の規定に従って財産保全の確定的な決定を受けたとき。

(2)

債務者が担保を供する義務を負う場合において、これを供しないとき。

(3)

債務者が提供した担保を滅失させ、または減少させたとき。

(4)

債務者が他人の財産を所有者の同意なく、担保として供したとき。

ลักษณะ ๕

ระยะเวลา

第五章

期間

มาตรา ๑๙๓/๑

การนับระยะเวลาทั้งปวง ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น

第193条の1

期間の計算方法は、法律、裁判所の決定あるいは政令、または法律行為に別段の定めのない限り、[原則として]この章の規定に従う。

มาตรา ๑๙๓/๒

การคำนวณระยะเวลา ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้ากำหนดเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ก็ให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่กำหนดนั้น

第193条の2

期間の計算は、[原則として]日数によってこれを行う。但し、日より短い単位で期間を定めた場合は、その規定に従う。

มาตรา ๑๙๓/๓

ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ให้เริ่มต้นนับในขณะที่เริ่มการนั้น

ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี

第193条の3

I.

日より短い単位で期間を定めたときは、その期間は、起算と同時に進行する。

II.

日、週、月または年によって期間を定めたときは、期間の初日は算入しない。但し、その期間が、慣習上一日の営業が開始される時刻から始まるときは、その限りではない。

มาตรา ๑๙๓/๔

ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี

第193条の4

日とは、裁判所の審理あるいは行政事務においては、法律、裁判所の決定、あるいは[その他の]規則によって事務日とされる日、また、商工業の営業においては、通常、営業日とされる日を意味する。

มาตรา ๑๙๓/๕

ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้คำนวณตามปีปฏิทิน

ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือนหรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือน หรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะเวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา

第193条の5

I.

週、月あるいは年によって期間を定めた場合は、その期間は、暦に従って計算する。

II.

[週、月あるいは年によって定められた]期間が、週、月あるいは年の初日から起算されないときは、その期間は、最後の週、月あるいは年においてその起算日に相当する日の前日に満了する。月あるいは年によって期間を定めた場合において、その最後の月に[起算日に]相当する日がないときは、最後の月の末日に満了する。

มาตรา ๑๙๓/๖

ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน ให้นับจำนวนเดือนเต็มก่อน แล้วจึงนับจำนวนวันหรือส่วนของเดือนเป็นวัน

ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นส่วนของปี ให้คำนวณส่วนของปีเป็นเดือนก่อน หากมีส่วนของเดือน ให้นับส่วนของเดือนเป็นวัน

การคำนวณส่วนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่าเดือนหนึ่งมีสามสิบวัน

第193条の6

I.

完全な月数に加えて日数をもって期間を定めたとき、または完全な月数に加えて一ヶ月の一部分をもって期間を定めたときは、まず完全な月数から計算し、その後に日数または月の一部分を計算する。

II.

一年の一部分をもって期間を定めたときは、まずそれを完全な月数に換算して計算し、なお月の一部分が残る場合は、それを日数に換算して計算する。

III.

本条第1項および第2項における月の部分の計算に当たっては、一ヶ月を30日とする。

มาตรา ๑๙๓/๗

ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ให้นับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น

第193条の7

期間が更新されたときは、新たな期間は、その初日について別段の規定がない限り、本来の期間の末日の翌日から起算する。

มาตรา ๑๙๓/๘

ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา

第193条の8

期間の末日が公的に告示された休日、または慣習上の休業日に当たるときは、その期間は、その日に続く最初の営業日に満了するものとする。

ลักษณะ ๖

อายุความ

第六章

消滅時効

หมวด ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

第一節

総則

มาตรา ๑๙๓/๙

สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ

第193条の9

どのような請求権も、法律によって定められた期間内に行使されなかったときは、その消滅時効が完成したものとする。

มาตรา ๑๙๓/๑๐

สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้

第193条の10

消滅時効が完成した後は、履行義務者は、その義務の履行を拒否することができる。

มาตรา ๑๙๓/๑๑

อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น คู่กรณีจะตกลงให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้

第193条の11

法律によって定められた消滅時効は、当事者の合意によってその適用を回避し、またはその期間を延長あるいは短縮することができない。

มาตรา ๑๙๓/๑๒

อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการอย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น

第193条の12

消滅時効は、当該請求権を行使できるときから進行する。不作為を目的とする請求権の場合には、その消滅時効は、義務に反する作為があった最初の時から進行する。

มาตรา ๑๙๓/๑๓

สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาแรกที่อาจทวงถามได้เป็นต้นไป แต่ถ้าลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระหนี้จนกว่าระยะเวลาหนึ่งจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่ได้ทวงถามนั้น ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ระยะเวลานั้นได้สิ้นสุดไปแล้ว

第193条の13

請求権者が履行の催告をした後でなければ、その請求権を行使できない場合は、その消滅時効は、履行の催告ができる最初の時から進行する。但し、履行義務者に、催告後もなお一定の履行猶予期間が与えられている場合には、請求権の消滅時効は、その猶予期間が満了した時から進行する。

มาตรา ๑๙๓/๑๔

อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)

ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง

(๒)

เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้

(๓)

เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

(๔)

เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

(๕)

เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี

第193条の14

消滅時効は、次に掲げる場合に中断する。

(1)

履行義務者が請求権者に対して書面による債務の承認を行ったとき、債務の一部を履行したとき、利息を支払ったとき、担保を供したとき、または、疑いもなく債務の暗黙の承認と解されるその他の行為をしたとき。

(2)

請求権者が請求権の確認あるいは債務の履行を求めて訴えを提起したとき。

(3)

請求権者が[義務者の財産に対する]破産手続きに自らの請求権を届け出たとき。

(4)

請求権者が仲裁人に係争の仲裁を申し立てたとき。

(5)

請求権者が、訴えの提起と同様の効果をもつその他の行為をしたとき。

มาตรา ๑๙๓/๑๕

เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ

เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น

第193条の15

I.

消滅時効が中断されたときは、それまでに経過した時間はもはや時効に算入されない。

II.

消滅時効は、その中断事由が終了した時から、新たにその進行を始める。

มาตรา ๑๙๓/๑๖

หนี้ใดซึ่งตามมูลแห่งหนี้นั้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ในเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนอายุความครบบริบูรณ์ เพื่อเป็นหลักฐานว่าอายุความสะดุดหยุดลง

第193条の16

定期的な給付を求める請求権においては、請求権者は、消滅時効が未完成の間はいつでも、その中断の証拠を得るために、履行義務者に対して承認書の交付を求めることができる。

มาตรา ๑๙๓/๑๗

ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๙๓/๑๔ (๒) หากคดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำฟ้อง หรือคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง

ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณาหรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด

第193条の17

I.

消滅時効が第193条の14第2号に掲げる事由によって中断した場合において、その訴えが確定判決によって棄却されたとき、または、訴えの取り下げあるいは放棄によって訴訟手続きが終了したときは、消滅時効は、中断しなかったものとする。

II.

裁判所が[本条第1項における]訴えを、裁判管轄権のないことを理由に[確定的な判決もしくは決定を以て]却下し、差し戻し、あるいは棄却した場合、または、改めて訴えを提起することを許しつつ、[確定的な判決もしくは決定を以て]棄却した場合において、訴訟手続き中に消滅時効が既に完成しているとき、あるいは[訴えを退ける]裁判所の確定的な判決もしくは決定の時から60日以内に完成するときは、請求権者は、確定的な判決もしくは決定の時からなお60日の期間内に、請求権の確認あるいは義務の履行を求めて新たに訴えを提起することができる。

มาตรา ๑๙๓/๑๘

ให้นำมาตรา ๑๙๓/๑๗ มาใช้บังคับแก่กรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๙๓/๑๔ (๓) (๔) และ (๕) โดยอนุโลม

第193条の18

消滅時効が第193条の14第3号ないし第5号に掲げる事由によって中断した場合においては、第193条の17の規定を準用する。

มาตรา ๑๙๓/๑๙

ในขณะที่อายุความจะครบกำหนดนั้น ถ้ามีเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางมิให้เจ้าหนี้กระทำการตามมาตรา ๑๙๓/๑๔ ให้อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่เหตุสุดวิสัยนั้นได้สิ้นสุดลง

第193条の19

[ある請求権の]消滅時効が完成しようとする時に当たり、不可抗力による障害のために、請求権者にとって第193条の14に掲げる行為[によって時効の中断]をすることが不可能なときは、その障害が終了した時から30日が経過するまでの間は、消滅時効は完成しない。

มาตรา ๑๙๓/๒๐

อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว

第193条の20

請求権者が未成年者、あるいは、禁治産宣告を受けているか否かにかかわらず、心神喪失の常況にある場合において、消滅時効の完成時にその請求権者が未だ行為能力者となっていないとき、または、消滅時効の期間の満了前1年以内の間において法定代理人あるいは後見人がいないときは、それぞれの場合に応じ、その未成年者あるいは心神喪失者が行為能力者となった時から、または、法定代理人あるいは後見人が就職した時から1年を経過するまでの間は、消滅時効は完成しない。但し、[法律によって定められた]消滅時効の期間が1年より短い場合は、[本条本文中の]1年の期間に代えて、その短い期間を適用する。

มาตรา ๑๙๓/๒๑

อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของคนไร้ความสามารถหรือของคนเสมือนไร้ความสามารถ ที่จะฟ้องร้องผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของตนนั้น ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว

第193条の21

未成年者、禁治産者、あるいは準禁治産者が自らの法定代理人、後見人、あるいは保佐人に対して有する請求権の場合において、その消滅時効の完成時に請求権者が未だに行為能力者となっていないとき、または、消滅時効の期間の満了前1年以内の間において法定代理人、後見人、あるいは保佐人がいないときは、それぞれの場合に応じ、請求権者が行為能力者となった時から、または、法定代理人、後見人、あるいは保佐人が就職した時から1年を経過するまでの間は、消滅時効は完成しない。但し、[法律によって定められた]消滅時効の期間が1年より短い場合は、[本条本文中の]1年の期間に代えて、その短い期間を適用する。

มาตรา ๑๙๓/๒๒

อายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างสามีภริยา ถ้าจะครบกำหนดก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง

第193条の22

夫婦の一方が他の一方に対して有する請求権の場合において、その消滅時効の期間が婚姻の解消以前あるいは婚姻解消の時から1年以内の間に満了するべきときは、婚姻の解消の時から1年を経過する間では、消滅時効は完成しない。

มาตรา ๑๙๓/๒๓

อายุความสิทธิเรียกร้องอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ตาย ถ้าจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตาย อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันตาย

第193条の23

既に死亡した者にとって利益をもたらし、あるいはその者にとって不利益となる請求権が存する場合において、その請求権が死亡の日から1年以内に時効によって消滅するべきときは、その消滅時効は、死亡の日から1年を経過するまでの間は完成しないものとする。

มาตรา ๑๙๓/๒๔

เมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว ลูกหนี้จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นเสียก็ได้ แต่การสละประโยชน์เช่นว่านี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกหรือผู้ค้ำประกัน

第193条の24

消滅時効が完成した後であれば、履行義務者は、その時効の完成から得る利益を放棄することができる。但し、その放棄によって、第三者あるいは保証人の権利が害されることはない。

มาตรา ๑๙๓/๒๕

เมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว ให้มีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่เริ่มนับอายุความ

第193条の25

消滅時効の効力は、その起算日に遡る。

มาตรา ๑๙๓/๒๖

เมื่อสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความ ให้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นขาดอายุความด้วย แม้ว่าอายุความของสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นจะยังไม่ครบกำหนดก็ตาม

第193条の26

主たる請求権の消滅時効が完成したときは、従たる請求権の消滅時効もまた、たとえその期間が満了する以前であっても、同時に完成する。

มาตรา ๑๙๓/๒๗

ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้

第193条の27

抵当権者、質権者、留置権者、あるいは、主たる債権を行使するために既に債務者の財物を差し押さえた先取り特権者は、たとえそれらの主たる債権の消滅時効が完成した後であっても、抵当物、質物、あるいは既に差し押さえたその他の財物から、債務の弁済を受けることができる。但し、既に5年以上滞納している利息の請求権は、もはや行使することができない。

มาตรา ๑๙๓/๒๘

การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใด จะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม

บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วย แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้

第193条の28

I.

消滅時効の完成した後に、なおも履行の給付がなされたときは、たとえそれが消滅時効の完成を知らずになされたものであっても、履行の程度の如何にかかわらず、もはやその返還を求めることができない。

II.

本条第1項の規定は、履行義務者が[消滅時効の完成後に]書面によって交付した、あるいは担保を供することによって示した履行責任の承認にも、これを適用する。但し、[この承認の効力を]履行義務者の保証人に対して援用することはできない。

มาตรา ๑๙๓/๒๙

เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาล จะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้

第193条の29

[請求権に基づく]訴えは、[当事者自身による]援用がない限り、[その]消滅時効を理由に棄却することができない。

หมวด ๒

กำหนดอายุความ

第二節

消滅時効の期間

มาตรา ๑๙๓/๓๐

อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

第193条の30

[請求権の]消滅時効は、本法典あるいはその他の法律に特段の定めのない限り、その期間を10年とする。

มาตรา ๑๙๓/๓๑

สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความสิบปี ส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาหนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้

第193条の31

政府が有する国税の請求権は、その消滅時効の期間を10年とする。政府のその他の請求権に関しては、本章の規定に従う。

มาตรา ๑๙๓/๓๒

สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดหรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุความสิบปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด

第193条の32

裁判所の確定判決あるいは和解契約に基づく請求権は、その本来の期間の如何にかかわらず、消滅時効の期間を常に10年とする。

มาตรา ๑๙๓/๓๓

สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี

(๑)

ดอกเบี้ยค้างชำระ

(๒)

เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ

(๓)

ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๙๓/๓๔ (๖)

(๔)

เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา

(๕)

สิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๑๙๓/๓๔ (๑) (๒) และ (๕) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี

第193条の33

次に掲げる請求権は、その消滅時効の期間を5年とする。

(1)

滞納中の利息に対する請求権。

(2)

元本の返済として定期的に支払われるべき金額[の滞納分]に対する請求権。

(3)

賃貸借における滞納中の損料に対する請求権。但し、第193条の34第6号に該当する動産の賃貸借を除く。

(4)

月俸、年俸、年金、扶養給付金、その他定期的に支払われるべき性質の給付金の滞納分に対する請求権。

(5)

第193条の34第1号、第2号および第5号に該当する請求権のうち、消滅時効期間を2年と定められるもの以外の請求権。

มาตรา ๑๙๓/๓๔

สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี

(๑)

ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง

(๒)

ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทางเกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง

(๓)

ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๔)

ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๕)

ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือสถานที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ

(๖)

ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า

(๗)

บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (๑) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๘)

ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป

(๙)

ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างรายวัน รวมทั้งผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป

(๑๐)

ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่ได้ตกลงกันไว้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๑๑)

เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๑๒)

ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๑๓)

ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๑๔)

ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน

(๑๕)

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

(๑๖)

ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือคู่ความ เรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป

(๑๗)

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานดังกล่าวเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป

第193条の34

次に掲げる請求権は、その消滅時効の期間を2年とする。

(1)

商人、製造業者、職人、工匠、およびその他の技能者の、納入した商品、提供した労務、他人の業務の指揮監督に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。但し、これらの行為が、[支払い]義務者側の営業活動のためになされたときは、その限りではない。

(2)

農業あるいは林業を営む者の、納入した農産物あるいは材木などの産物に関する請求権。但し、それらの産物が[支払い]義務者個人の家計に供される場合に限る。

(3)

旅客あるいは貨物の運送を営む者、および通信物の配達を営む者の、旅客運賃、貨物運賃、労賃、および手数料に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(4)

旅館あるいは宿泊所を営む者、客を飲食物で持て成すことを営業とする者、および娯楽営業に関する法律に従って客に娯楽を提供する者の、宿泊料、飲食代、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(5)

公営あるいは私営の宝くじを販売する者、およびそれと類似した業務を営む者の、販売した宝くじ[など]に関する請求権。但し、再販を目的として宝くじを納入する場合は、その限りではない。

(6)

動産の賃貸を生業とする者の、損料に関する請求権。

(7)

本条第1号に属する者を除き、他人の業務の指揮監督あるいはその他各種の労務の提供を生業とする者の、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(8)

個人の家計内で雇用される使用人の、労賃あるいはその他の労務に対する給金に関する請求権。ならびに、その者の使用者の、[使用人の]上述の請求に応じて提供された前払い金の償還を求める請求権。

(9)

[事業所における]被用者の、労賃あるいはその他の労務に対する給金に関する請求権。この場合、正規雇用、臨時雇用、日雇いの違いを問わない。見習いも同様とする。立て替え代金[の償還請求権]も含む。ならびに、その者の雇用者の、[被用者の]上述の請求に応じて提供された前払い金の返還を求める請求権。

(10)

見習いの教育に当たる指導者の、指導料および[補償を]合意した費用に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(11)

教育機関あるいは医療機関の所有者の、授業料その他の手数料に関する請求権、あるいは治療費その他の費用に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(12)

他人を引き取って養育し、あるいは教育することを生業とする者の、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(13)

他人の所有する動物を引き取って飼育し、あるいは訓練することを生業とする者の、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(14)

学校の教師あるいは高等教育機関の教員の、授業に対する報酬に関する請求権。

(15)

開業する医者、歯医者、看護士、助産士、獣医、およびその他の医療分野の治療を生業とする者の、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。

(16)

弁護士、あるいはその他の法律業務を営む者の、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。専門的な鑑定を証拠として提出する者も同様とする。ならびに、その依頼人の、[これらの者の]上述の請求に応じて提供された前払い金の返還を求める請求権。

(17)

自立して営業する技師、建築士、会計士、あるいはその他の専門的な自由業を営む者の、提供した労務の報酬に関する請求権。立て替え代金[の償還請求権]も含む。ならびに、その依頼人の、[これらの者の]上述の請求に応じて提供された前払い金の返還を求める請求権。

มาตรา ๑๙๓/๓๕

ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๓/๒๗ สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันตามมาตรา ๑๙๓/๒๘ วรรคสอง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน

第193条の35

履行義務者が[請求権の消滅時効完成後に]書面の交付によって、あるいは担保を供することによって第193条の28第2項に掲げる履行責任の承認をしたときは、その承認に基づく請求権の消滅時効の期間を、承認書の交付あるいは担保の提供のあった日から2年とする。但し、第193条の27の規定は、これによってその適用を妨げられない。

* * *