หมวด ๔

เลิกสัญญา

Vierter Titel.

Rücktritt

第四節

契約の解除

มาตรา ๓๘๖

ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่

§ 386

I.

Ist ein Teil der Parteien vertraglich oder gesetzlich zum Rücktritt vom Vertrag berechtigt, so erfolgt der Rücktritt durch Erklärung gegenüber dem anderen Teil.

II.

Die Erklärung im Sinne des Abs. 1 kann nicht widerrufen werden.

第386条

I.

契約又は法律の規定により当事者の一方が解除権を有するときは、その解除は、相手方に対する意思表示によってこれを行う。

II.

本条第1項の意思表示は、撤回することができない。

มาตรา ๓๘๗

ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้

§ 387

Leistet ein Teil der Parteien seine Verpflichtungen nicht, so hat der andere ihn aufzufordern, innerhalb einer von ihm festgesetzten angemessenen Frist zu leisten. Der andere kann erst dann vom Vertrag zurücktreten, wenn die Frist erfolglos verstrichen ist.

第387条

当事者の一方がその債務を履行しない場合において、相手方が相当の期間を定めてその履行の催告をし、その期間内に履行がないときは、相手方は、契約の解除をすることができる。

มาตรา ๓๘๘

ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดี หรือภายในระยะเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ก็ดี และกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ มิพักต้องบอกกล่าวดั่งว่าไว้ในมาตราก่อนนั้นเลย

§ 388

Ist der Zweck eines Vertrags nach der Natur [des Vertrags] oder dem Willen der Parteien nur dadurch zu erreichen, dass der eine Teil zu einem bestimmten Zeitpunkt oder innerhalb einer bestimmten Frist leistet, so kann der andere Teil dann ohne die im § 387 vorgeschriebene Aufforderung sofort vom Vertrag zurücktreten, wenn der Termin versäumt oder die Frist erfolglos verstrichen wird.

第388条

契約の性質あるいは当事者の意思表示により、特定の日時または一定の期間内に履行をしなければ契約の目的を達することができない場合において、当事者の一方が履行をしないでその時期を経過したときは、相手方は、第387条の催告をすることなく、直ちにその契約の解除をすることができる。

มาตรา ๓๘๙

ถ้าการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ได้ไซร้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้

§ 389

Wird die Leistung ganz oder teilweise infolge eines Umstandes, den der Schuldner zu vertreten hat, unmöglich, so kann der Gläubiger vom Vertrag zurücktreten.

第389条

履行の全部または一部が、債務者の責めに帰すべき事由によって不能となったときは、債権者は、契約の解除をすることができる。

มาตรา ๓๙๐

ถ้าในสัญญาใดคู่สัญญาเป็นบุคคลหลายคนด้วยกันอยู่ข้างหนึ่งหรืออีกข้างหนึ่ง ท่านว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก็แต่เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันใช้ ทั้งใช้ต่อบุคคลเหล่านั้นรวมหมดทุกคนด้วย ถ้าสิทธิเลิกสัญญาอันมีแก่บุคคลหนึ่งในจำพวกที่มีสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว สิทธิเลิกสัญญาอันมีแก่คนอื่นๆก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย

§ 390

Sind bei einem Vertrag auf der einen oder der anderen Seite mehrere beteiligt, so kann das Rücktrittsrecht nur von allen zusammen oder gegen alle zusammen ausgeübt werden. Erlischt das Rücktrittsrecht für einen der Berechtigten, so erlischt es auch für die übrigen.

第390条

当事者の一方あるいは他方が数人の個人よりなる場合には、契約の解除は、その全員が共同してのみ、あるいはその全員に対してのみ、することができる。解除権を有する当事者のうちの一人についてその解除権が消滅したときは、他の者についてもまた当然に消滅する。

มาตรา ๓๙๑

เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่าย จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น

การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

§ 391

I.

Erklärt ein Teil der Vertragsparteien den Rücktritt vom Vertrag, so ist jeder Teil dem anderen zur Wiederherstellung des früheren Zustandes verpflichtet. Das Recht eines Dritten bleibt jedoch hierdurch unberührt.

II.

Im Fall des Abs. 1 ist die zu erstattende Geldleistung vom Zeitpunkt ihres Empfangs an zu verzinsen.

III.

Für geleistete Dienste sowie für die Überlassung der Benutzung einer Sache ist die angemessene Vergütung zu entrichten oder, falls in dem Vertrag eine Gegenleistung in Geld bestimmt ist, diese zu entrichten.

IV.

Der Anspruch auf Schadensersatz bleibt durch den Rücktritt unberührt.

第391条

I.

当事者の一方がその解除権を行使したときは、各当事者は、その相手方を原状に復させる義務を負う。但し、第三者の権利を害することはできない。

II.

本条第1項の場合において、金銭を返還するべきときは、その受領の時から利息を付さなければならない。

III.

[当事者の一方が相手方のために]労働へ従事し、または物の用益を許諾した場合においては、その原状回復として、相当の報酬を金銭で支払わなければならい。なお、契約において[一定額の]金銭の支払いを以て反対給付とする旨が定められているときは、それに従う。

IV.

解除権の行使は、損害賠償の請求を妨げない。

มาตรา ๓๙๒

การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๖๙

§ 392

Die sich aus dem Rücktritt ergebenden Verpflichtungen [der Parteien] sind gemäß § 369 zu erfüllen.

第392条

契約の解除より生じる債務は、第369条の規定に従ってこれを履行しなければならない。

มาตรา ๓๙๓

ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายที่มีสิทธิเลิกสัญญานั้นแถลงให้ทราบภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ว่าจะเลิกสัญญาหรือหาไม่ ถ้ามิได้รับคำบอกกล่าวเลิกสัญญาภายในระยะเวลานั้น สิทธิเลิกสัญญาก็เป็นอันระงับสิ้นไป

§ 393

Ist für die Ausübung des Rücktrittsrechts keine Frist festgesetzt, so kann der andere Teil den Rücktrittsberechtigten unter Bestimmung einer angemessenen Frist zur Erklärung über die Ausübung des Rücktrittsrechts auffordern. Das Rücktrittsrecht erlischt, wenn der andere Teil innerhalb der Frist keine Rücktrittserklärung erhalten hat.

第393条

解除権の行使について期間の定めがないときは、相手方は、解除権を有する者に対し、相当の期間を定めて、その期間内に解除をするかどうかを確答すべき旨の催告をすることができる。この場合において、その期間内に解除の通知を受けないときは、解除権は消滅する。

มาตรา ๓๙๔

ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นบุบสลายไปในส่วนสำคัญเพราะการกระทำ หรือเพราะความผิดของบุคคลผู้มีสิทธิเลิกสัญญาก็ดี หรือบุคคลนั้นได้ทำให้การคืนทรัพย์กลายเป็นพ้นวิสัยก็ดี เปลี่ยนแปลงทรัพย์นั้นให้ผิดแผกไปเป็นอย่างอื่นด้วยประกอบขึ้นหรือดัดแปลงก็ดี ท่านว่าสิทธิเลิกสัญญานั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป

แต่ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาได้สูญหาย หรือบุบสลายไปโดยปราศจากการกระทำหรือความผิดของบุคคลผู้มีสิทธิเลิกสัญญาไซร้ สิทธิเลิกสัญญานั้นก็หาระงับสิ้นไปไม่

§ 394

I.

Das Rücktrittsrecht erlischt, wenn der Rücktrittsberechtigte infolge seiner [vorsätzlichen] Handlungen oder Fahrlässigkeit den Gegenstand des Vertrags in dessen wesentlichen Teil beschädigt oder dessen Rückgabe unmöglich macht, oder wenn er diesen durch Verarbeitung oder Umbildung in eine andersartige Sache umgestaltet hat.

II.

Das Rücktrittsrecht erlischt selbst dann nicht, wenn der Gegenstand des Vertrags untergegangen oder beschädigt worden ist, sofern der Rücktrittsberechtigte den Untergang oder die Beschädigung nicht durch

第394条

I.

解除権を有する者が、自己の行為もしくは過失によって、契約の目的物をその要素部分において損傷し、あるいは返還することができなくなったとき、または、加工もしくは改造によってこれを他の種類の物に変えたときは、解除権は消滅するものとする。

II.

契約の目的物が解除権を有する者の行為または過失によらないで滅失し、または損傷したときは、解除権は消滅しない。

* * *