บรรพ ๑

หลักทั่วไป

第一編

総則

ลักษณะ ๑

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

第一章

総則

มาตรา ๔

กฎหมายนั้น ท่านว่าต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ

เมื่อใดไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ท่านให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วยไซร้ ท่านให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

[13, 14]

New Text (1992)

4

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

* S.C.1

第4条

I.

本法は、該当する規定がある限り、全ての事案に適用されなければならない。その場合、規定の適用は、その文言または立法趣旨に拠る。

II.

本法に準拠するべき規定がないときには、当該地方に行われる慣習の教えに従う。

III.

法規に代わり得る慣習もないときには、当該事案にきわめて近接した規定があれば、それを類推適用し、ない場合には、一般的な法原則[条理]に従う。

มาตรา ๕

ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

[5]

New Text (1992)

5

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

[242]

Miscellaneous

* S.C.2 [=S.C.2 par.1]

第5条

権利の行使においても義務の履行においても、各人は誠実にこれを行わなければならない。

มาตรา ๖

ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* 18

New Text (1992)

6

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

S.C.3 par.1

第6条

各人は、誠実に行為するものと推定される。

มาตรา ๗

ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และดอกเบี้ยนั้นมิได้กำหนดอัตราไว้ โดยนีติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันใดอันหนึ่งชัดแจ้งไซร้ ท่านให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* 22

New Text (1992)

7

Jp. Code (1896,98)

[404;] J.Com.276

Gr. Code (1898)

246; G.Com.352

Miscellaneous

Fr.1907; S.O.73 [=S.O.73 par.1]

第7条

利息を支払う場合において、その利率が当事者の法律行為または法令の規定によって、何ら明確に決定されていないときには、それを年に7.5%とする。

มาตรา ๘

คำว่า"เหตุสุดวิสัย"หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* [9]

New Text (1992)

8

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

Becker's p.210

第8条

「不可抗力」とは、それに遭遇した者、あるいは遭遇したであろう者全員が、同種の立場にある者に[通常]期待し得る適切な注意義務を順守していたにもかかわらず、あるいは順守したとしても、誰にも予防することのできなかった出来事や被害をいう。

มาตรา ๙

เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ถ้าบุคคลผู้ใดใช้ตราประทับแทนลงลายมือชื่ออยู่เป็นปกติ การประทับตราเช่นนั้น ท่านว่าเสมอกับลงลายมือชื่อ

ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นก็ดี ทำลงในเอกสาร หากมีพะยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้ว ท่านว่าเสมอกับลงลายมือชื่อ

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* 15

New Text (1992)

9

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

第9条

I.

法律の規定により、ある法律行為の成立に証書を作成することが義務づけられている場合であっても、その証書は、当該法律行為の当事者自身によって執筆される必要はない。但し、その者の署名を必要とする。

II.

署名に代わって捺印することを通常とする場合においては、その捺印は、署名と同様の効力を有する。

III.

拇印、十字紋、あるいはその他類似の形式の記号が証書に記載されている場合、二人の証人が連署して保証するときは、その記載は、署名と同様の効力を有する。

มาตรา ๑๐

เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้เป็นสองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ท่านให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

26

New Text (1992)

10

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

* Fr.1157

第10条

証書中の一項が二通りの解釈を許し、且つ一方の解釈には規定としての意義が認められるが、他方にはそれが認められない場合には、意義の認められる解釈が優先される。

มาตรา ๑๑

ในกรณีที่มีข้อสงสัย ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

21

New Text (1992)

11

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

* Fr.1162

第11条

事案の解釈に疑念の余地が残る場合においては、訴訟当事者のうち、当該債権債務関係において不利益を負担するべき側にとって有利な解釈を採用する。

มาตรา ๑๒

ลงจำนวนเงิน หรือปริมาณในเอกสารด้วยตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขทั้งสองอย่างนั้นไม่ตรงกัน และศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ไซร้ ให้ฟังเอาจำนวนเงินหรือปริมาณซึ่งเขียนเป็นตัวอักษรนั้นเป็นประมาณ

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* 27

New Text (1992)

12

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

B.of ex.Act.9 No.2

第12条

証書中に金額または数量が文字と数字の両方をもって表記されいて、[その]文字表記と数字表記とが一致せず、且つ裁判所にとって[当事者の]真実の意思を推定する可能性もないときは、文字をもって表記された金額または数量に従う。

มาตรา ๑๓

ถ้าจำนวนเงินหรือปริมาณได้แสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรือตัวเลขหลายแห่ง แต่ที่แสดงไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ไซร้ ให้ฟังเอาจำนวนหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* 28

New Text (1992)

13

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

Fr.1327

第13条

証書中に金額または数量が文字をもって数ヵ所に、あるいは数字をもって数ヵ所に表記されていて、それらの表記が一致せず、且つ裁判所にとって[当事者の]真実の意思を推定する可能性もないときは、表記中の最も少ない金額または数量に従う。

มาตรา ๑๔

ถ้าเอกสารทำขึ้นไว้เป็นสองภาษา เป็นภาษาไทยภาษาหนึ่ง ภาษาอื่นภาษาหนึ่ง แต่ข้อความในสองภาษานั้นแตกต่างกัน และศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะให้ใช้ภาษาใดบังคับไซร้ ท่านถือเอาภาษาไทยบังคับ

Praya Man's Index with Supplementary Entries by the Translator (in [ ])

Old Text (1923)

* 29

New Text (1992)

14

Jp. Code (1896,98)

Gr. Code (1898)

Miscellaneous

第14条

証書がタイ語とその他の言語の二言語で作成されていて、それら二様の表記に意味の相違が認められ、且つ裁判所にとって、どちらに準拠するか、当事者の意思を推定する可能性もないときは、タイ語による表記に従う。

* * *